ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ล้ำโลกโลกาภิวัฒน์

    ลำดับตอนที่ #89 : สารนาโนปราบยุงระดับโมเลกุล

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 394
      0
      29 มี.ค. 54

     


              สารกำจัดตัวอ่อนยุงและลูกน้ำพัฒนาไปอีกขั้น เมื่อคณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคนซัสของสหรัฐ ประสบความสำเร็จในการคิดค้นสารอนุภาคนาโน มีคุณสมบัติไม่ละลายน้ำ สามารถสกัดกั้นการเติบโตของตัวอ่อนยุงได้แบบราบคาบ

    กลไกสำคัญของสารนาโนดังกล่าวอยู่ที่การรบกวนสารพันธุกรรมประเภทอาร์เอ็นเอ ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ "ยีนส์ ไซเลนซิ่ง" หรือ การสกัดกั้นการทำงานของยีนส์

    โดยการใส่สายอาร์เอ็นเอแบบเส้นคู่เข้าไปเพื่อทำลาย เอ็มอาร์เอ็นเอ ซึ่งเป็นสารที่ถูกถอดรหัส (transcription) มาจากดีเอ็นเอ ไม่ให้ถูกนำไปแปลรหัส (translation) เปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนซึ่งเป็นสารตั้งต้นของสารโพลิเมอร์ชนิดหนึ่งเรียกว่า ไคติน อันเป็นส่วนประกอบสำคัญของโครงร่างในยุง ดังนั้น เมื่อไม่สามารถสร้างไคตินได้ ลูกยุงที่โตขึ้นก็จะตายไปในที่สุด หรือไม่ก็อยู่ในสภาพพิกลพิการ ทำให้สามารถถูกฆ่าได้ง่ายโดยสารเคมีต่างๆ

    สายอาร์เอ็นเอแบบเส้นคู่ดังกล่าวจะถูกบรรจุไว้ในอนุภาคนาโน และให้ผู้ใช้นำไปใส่ลงในแหล่งเพาะพันธุ์ยุง จากการทดลองพบว่า วิธีการดังกล่าวได้ผลเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง โดยเทคโนโลยีดังกล่าวกำลังถูกพัฒนาเพื่อนำไปใช้กับศัตรูพืชอื่น เช่น ตั๊กแตน และเพลี้ยข้าวโพดยุโรป และยังต้องมีการทดสอบเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยต่อสัตว์ชนิดอื่นก่อนโดยเฉพาะมนุษย์


    ที่มา ข่าวสดออนไลน์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×