ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ล้ำโลกโลกาภิวัฒน์

    ลำดับตอนที่ #172 : เป็นไปได้ไหม “ไฮเปอร์ลูป” วิ่งเร็ว 900 Km/h?

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 218
      0
      14 ส.ค. 56

    ภาพแนวคิดรถไฟความเร็วสูงไฮเปอร์ลูป
           น่าสนใจอย่างยิ่งสำหรับแนวคิดของ “อีลอน มัสก์” เศรษฐีนักลงทุนผู้เสนอแนวคิดระบบรางขนส่งใต้ดิน “ไฮเปอร์ลูป” ที่มีความเร็วยิ่งยวดเกือบ 1,000 กิโมเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งจะสามารถรับส่งผู้โดยระหว่างลอสแองเจลลิสและซานฟรานซิสโกในเวลาเพียง 30 นาที
           
           อ้างตามคำอธิบายของ “อีลอน มัสก์” (Elon Musk) เศรษฐีนักลงทุน อธิบายถึงแนวคิดระบบขนส่งทางรางใต้ดินความเร็วสูง “ไฮเปอร์ลูป” (Hyperloop) ว่าจะสามารถเดินทางด้วยความเร็วถึง 966 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งความเร็วระดับนั้นจะบรรเทาปัญหาความแออัดบนทางด่วน และจะให้ทางเลือกที่มีประสิทธิภาพกว่า สะดวกสบายกว่า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าการเดินทางด้วยรถโดยสาร รถไฟหรือเครื่องบิน
           
           แนวคิดดังกล่าวจะเป็นไปได้ไหม? ไลฟ์ไซน์อ้างความคิดเห็นของ เจมส์ โพเวลล์ (James Powell) นักฟิสิกส์อเมริกัน ผู้ร่วมสร้างระบบขนส่งแม็กเลฟ (superconducting Maglev transportation system) รถไฟความเร็วสูงที่ขับเคลื่อนด้วยพลังของแม่เหล็ก ซึ่งระบุว่าการสร้างระบบขนส่งที่มีความเร็วระดับนั้นต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งเชิงเทคนิคและทางการเมือง หนึ่งในความท้าทายคือรางของไฮเปอร์ลูปต้องเคลื่อนไปบนเส้นทางที่ต้องเลี่ยงจุดเลี้ยวหรือหุบเขา
           
           “ทำได้ แต่คุณต้องสร้างรางหรืออุโมงค์ที่เป็นตรงมากๆ ที่ความเร็วระดับนั้นจำเป็นต้องใช้รางที่ตรงและอยู่บนพื้นราบเพื่อเลี่ยงการกระแทก ถ้าวิ่งด้วยความเร็ว 966 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คุณไม่สามารถไปในทางโค้งได้ คุณต้องเดินบนทางราบมากๆ เพราะการเปลี่ยนแปลงทิศทางการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วนั้นจะส่งผลให้เกิดแรงมากระทำต่อตัวรถไฟความเร็วสูงอย่างมหาศาล ซึ่งทำให้การควบคุมการเคลื่อนที่เป็นไปได้ยาก” โพเวลล์อธิบาย
           
           ห้องโดยสารกว้าง 2 เมตรของโครงการไฮเปอร์ลูป ถูกออกแบบมาให้วิ่งผ่านอุโมงค์ความดันต่ำ โดยอาศัยอากาศช่วยลดแรงกระแทก ต่างจากรางรถไฟแบบเดิม ซึ่งจะทำให้รถไฟในโครงการนี้วิ่งด้วยความเร็วกว่า 900 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้
           
           สำหรับรถไฟแม่เหล็กตัวนำยิ่งยวดแม็กเลฟที่โพเวลล์ร่วมพัฒนากับกอร์ดอน แดนบี (Gordon Danby) นักฟิสิกส์อเมริกันอีกคนนั้น จะใช้แม่เหล็กในการยกและขับเคลื่อนรถไฟ ทำให้เคลื่อนที่ไปด้วยความเร็วสูง เพราะไม่ต้องรับมือกับแรงเสียดทานจากการเสียดสีระหว่างล้อกับเพลาบนรางรถไฟ
           
           รถไฟแม็กเลฟถูกออกแบบมาให้วิ่งด้วยความเร็วประมาณ 483 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ในเดือน ธ.ค.2003 รถไฟแม็กเลฟของญี่ปุ่นก็ทำลายสถิติที่ความเร็ว 591 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะที่แนวคิดของมัสก์ผู้ร่วมก่อตั้งบริการชำระเงินออนไลน์เพย์พาล (PayPal) จะมีความเร็วถึง 2 เท่าของความเร็วรถไฟแม็กเลฟ
           
           มัสก์กล่าวว่าแนวคิดของไฮเปอร์ลูปนั้นเป็นทางเลือกที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่าต่อการลงทุนสำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงของรัฐที่มีมูลค่าเกือบ 2.1 ล้านล้านบาท และวางแผนเชื่อมเมืองใหญ่ๆ ในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งรวมซาคราเมนโต ซานฟรานซิสโก ลอสแองเจลลิส และซานดิเอโก แต่ถ้าโครงการนี้อนุมัติตามแผนเดิมเขาจะผิดหวังไม่ต่างจากคนอื่นๆ
           
           ในเว็บไซต์โครงการไฮเปอร์ลูปมัสก์ตั้งคำถามว่า จะปล่อยให้แคลิฟอร์เนียที่เป็นที่ตั้งของซิลิกอนวัลเลย์และห้องปฏิบัติการจรวดขับเคลื่อนความดัน และสร้างสิ่งที่เป็นดัชนี้ชี้วัดองค์ความรู้ทั้งหมดของโลก อีกทั้งยังส่งยานขับเคลื่อนไปลงดาวอังคาร สร้างรถไฟที่มีราคาต่อระยะทางแพงที่สุด แต่วิ่งช้าที่สุดในโลกได้อย่างไร? ตามความเห็นของเขาการลงทุนใหญ่ๆ ควรจะได้ผลตอบแทนกลับมาอย่างสมน้ำสมเนื้อ
     
    ภาพแนวคิดแคปซูลโดยสารของไฮเปอร์ลูป
           
     
    ภาพแนวคิดเมื่อรถไฟจอดที่สถานี
           
    ที่มา http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000100717

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×