ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องรอบ ๆ ตัวแบบนี้ "คุณรู้หรือไม่"

    ลำดับตอนที่ #79 : รู้หรือไม่ "แว่นตามีที่มาอย่างไร"

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 953
      0
      2 พ.ย. 51

              แม้บันทึกทางประวัติศาสตร์จะไม่ได้ระบุชื่อของบุคคลแรกที่คิดประดิษฐ์แว่นตาขึ้น แต่จากหลักฐานที่ปรากฏพอจะเชื่อได้ว่าซัลวิโน อาร์มาโต นักฟิสิกส์ทางแสงชาวเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี  น่าจะเป็นผู้ได้รับเกียรตินี้

              เรื่องเล่ากันว่าในราว ค.ศ. ๑๒๘๐ ขณะที่อาร์มาโตอายุ  ๓๕ ปีสายตาของเขาได้รับความกระทบกระเทือนระหว่างทำการทดลองการหักเหของแสง  หลังเหตุการณ์ครั้งนี้อาร์มาโตได้หันมาฝึกฝนทำกระจกโดยพยายามจะทำเลนส์เพื่อแก้ไขสายตาของตนเองในที่สุดเขาสามารถประดิษฐ์เลนส์โค้งหนาซึ่งช่วยให้มองภาพชัดเจนขึ้นได้สำเร็จ

              เมื่อถึง ค.ศ. ๑๓๐๐ บรรดาช่างฝีมือในเมืองเวนิสอันเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมแก้วและกระจกของทวีปยุโรปก็ง่วนอยู่กับการฝน  'แผ่นดิสก์กระจกสำหรับดวงตาออกสู่ตลาด เลนส์ของแว่นตาในยุคแรกนี้เป็นเลนส์นูนสำหรับคนสายตายาวเท่านั้นเทคโนโลยีการทำแว่นตาได้แพร่เข้าสู่ประเทศอังกฤษ ประมาณ ค.ศ. ๑๓๒๖ แว่นตามีใช้กันเฉพาะในหมู่นักปราชญ์ ขุนนางและพระ  ช่างจะไม่ฝนเลนส์ขึ้นสำหรับลูกค้าแต่ละคนโดยเฉพาะ ตามปกติผู้ซึ่งต้องการแว่นตาจะทดลองมองผ่านเลนส์หลาย ๆ ขนาดที่มีอยู่ในร้าน แล้วเลือกอันที่ช่วยให้มองเห็นชัดเจนที่สุด แพทย์ในสมัยนั้นยังไม่รับรองแว่นตาที่ช่างทำขึ้น ทั้งวิธีการวัดสายตาโดยให้ลองอ่านตัวเลขก็ยังไม่เกิดขึ้น

              พอถึงกลางศตวรรษที่ ๑๔ ชาวอิตาเลี่ยนเริ่มนิยมเรียกแผ่นดิสก์กระจกว่า 'เลนทิวส์' เนื่องจากรูปร่างของเลนส์เหมือนกับเมล็ดของฝักเลนทิวส์ (พืชตระกูลถั่ว) ซึ่งกลมและมีผิวโค้งนูนทั้งสองด้าน จากความนิยมนี้เองทำให้อีกกว่า ๒๐๐ ปีต่อมาแว่นตาเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อ 'เลนทิวส์กระจก' คำว่า เลนทิวส์ นี้เองเป็นที่มาของคำว่า 'เลนส์' ที่เราใช้เรียกกันอยู่ในปัจจุบัน

              แว่นตาเลนส์เว้าเพื่อช่วยแก้ไขสายตาสั้นทำขึ้นเป็นครั้งแรกในศตวรรษที่ ๑๕ ในยุคที่คนใช้แว่นตาเพื่อช่วยในการอ่านเป็นส่วนใหญ่ แว่นตาเลนส์เว้าที่ช่วยให้มองระยะไกลได้ชัดเจนจึงถูก

              มองว่าด้อยคุณค่าต่อการแสวงหาภูมิปัญญาและไม่ค่อยจำเป็นนักด้วยเหตุนี้แว่นตาเลนส์เว้าสำหรับคนสายตาสั้นจึงหายากและมีราคาแพงมาก จนเมื่อได้มีการคิดประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ขึ้น ทำให้หนังสือ  สิ่งตีพิมพ์จำนวนมหาศาลผลิตออกมาแพร่หลาย  แว่นตาจึงเริ่มเปลี่ยนสถานะจากสิ่งฟุ่มเฟือยมาเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิต

              แว่นตาอันแรกซึ่งประกอบด้วยขาแว่นประดิษฐ์โดยจักษุแพทย์ชาวลอนดอน ชื่อเอ็ดเวิร์ด สคาเล็ต เมื่อ ค.ศ. ๑๗๒๗  หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสได้ยกย่องคุณสมบัติของสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ ทำให้ผู้ใช้หายใจได้สะดวกและเคลื่อนไหวได้สบายโดยไม่ต้องกลัวว่าแว่นตาจะเลื่อนหลดจากจมูก

              ทุกวันนี้เรามักนึกถึงแว่นตาว่าเป็นสิ่งที่มีน้ำหนักเบา  แต่ข้อบกพร่องใหญ่ของแว่นตายุคแรกคือมีน้ำหนักมาก  น้ำหนักของกรอบแว่นตาสมัยก่อนซึ่งทำจากกระดูกสัตว์ กระดองเต่า  กระ หรืองาช้างผนวกกับเลนส์ซึ่งทำจากกระจก  อาจทำให้ผู้สวมแว่นตาปวดศีรษะได้ หรือแม้แต่กรอบโลหะน้ำหนักเบาก็ยังต้องใช้กับเลนส์กระจกน้ำหนักมากอยู่ดี จนเมื่อเลนส์พลาสติกได้รับการประดิษฐ์ขึ้นในศตวรรษนี้เท่านั้น  ที่เราสามารถสวมแว่นตาได้ตลอดทั้งวันโดยไม่ต้องคอยถอดออกเป็นระยะเพื่อให้หูและจมูกได้พักจากน้ำหนักกดทับของแว่นตา

    ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี 
    ที่มาของภาพประกอบ http://board.dekdee.com/contentimg/general/guess.jpg


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×