ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องรอบ ๆ ตัวแบบนี้ "คุณรู้หรือไม่"

    ลำดับตอนที่ #68 : รู้หรือไม่ คำว่า "เจ้าคุณ" ใช้เรียกใครได้บ้าง

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 989
      2
      27 ก.ย. 51

           คำเรียก เจ้าคุณ ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเริ่มเรียกกันมาแต่เมื่อใด  สันนิษฐานว่าน่าจะใช้เรียกกันตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเพราะปรากฏหลักฐานในพระราชพงศาวดารว่า สมเด็จพระเจ้าเสือ (พ.ศ. ๒๒๔๖ -๒๒๕๑) ทรงเรียกกรมพระเทพามาตย์ พระราชมารดาเลี้ยง ว่า “เจ้าคุณ”

         สมัยต่อมาคำ เจ้าคุณ ใช้เป็นคำเรียกยกย่องแสดงความเคารพนับถือผู้มีบรรดาศักดิ์สูงทั่วไป เช่น เรียกข้าราชสำนักฝ่ายหน้าผู้มีบรรดาศักดิ์ชั้นเจ้าพระยาและพระยา เรียกพระสงฆ์ทั้งที่เป็นสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะ เป็นต้น โดยเฉพาะข้าราชสำนักฝ่ายใน คำเจ้าคุณใช้เรียกกันแพร่หลายมิได้กำหนดแน่นอน ดังนั้นจึงมีข้าราชสำนักฝ่ายในที่ใช้คำนำหน้าว่า“เจ้าคุณ” เป็นจำนวนมาก

          ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริว่า คำเจ้าคุณในข้าราชสำนักฝ่ายในใช้กันฟั่นเฝือจึงโปรดให้บัญญัติคำเรียกเจ้าคุณให้เป็นที่ยุติ คือ กำหนดชั้นเจ้าคุณราชินิกุลเป็นสามชั้น คือ เจ้าคุณราชินิกุลชั้นที่ ๑ เรียกเจ้าคุณพระอัยยิกา เจ้าคุณที่สืบสายต่อจากเจ้าคุณชั้นที่ ๑ เป็นเจ้าคุณชั้นที่ ๒ เรียก เจ้าคุณพระประพันธวงศ์ ชั้นต่อมาเรียกเพียงเจ้าคุณ  ส่วนผู้ที่เคยได้รับยกย่องเป็นเจ้าคุณแต่เดิมก็โปรดให้ใช้ต่อไปมิได้ทรงยกเลิก แต่ทรงเพิ่มเติมว่า ต่อจากนี้ไปบุคคลที่จะเรียกว่าเจ้าคุณได้ ต้องได้รับแต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยตรง ในรัชสมัยของพระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้าคุณเพิ่ม ๖ คน

         ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเจ้าคุณฝ่ายในเพิ่ม ๓ คน ครั้นถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเจ้าคุณจอมมารดาแพขึ้นเป็น  "เจ้าคุณพระประยูรวงศ์” อันนับเป็นเจ้าคุณในราชสำนักฝ่ายในคนสุดท้าย เพราะต่อจากนั้นก็มิได้มีการแต่งตั้งเจ้าคุณของข้าราชสำนักฝ่ายในอีกต่อไป ส่วนคำเรียกเจ้าคุณของข้าราชสำนักฝ่ายหน้าสิ้นสุดลงเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕เพราะรัฐบาลมีประกาศให้ยกเลิกบรรดาศักดิทั้งหมด

          ปัจจุบันคำวา เจ้าคุณ คงมีใช้เฉพาะฝ่ายศาสนจักรเท่านั้นโดยใช้เรียกพระสงฆ์ตั้งแต่ชั้นสมเด็จพระราชาคณะลงมาจนถึงพระราชาคณะ

    “ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×