ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องรอบ ๆ ตัวแบบนี้ "คุณรู้หรือไม่"

    ลำดับตอนที่ #457 : รู้หรือไม่ "กรุงเทพฯ มีอุโมงค์ระบายน้ำกี่แห่ง อยู่ตรงไหนบ้าง"

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 63
      4
      13 ก.ค. 59



    คำตอบมาจากกองประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร ว่า ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีอุโมงค์ระบายน้ำที่สร้างเสร็จและเปิดใช้งาน 7 แห่ง ความยาวรวม 19 กิโลเมตร ดังนี้

    1.สถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท 26 ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของอุโมงค์ 1 เมตร ยาว 1.10 กิโลเมตร ประสิทธิภาพการระบายน้ำ 4 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แก้ปัญหาน้ำท่วมขังถนนสุขุมวิท ระหว่างซอยสุขุมวิท 22-28 และบริเวณใกล้เคียง

    2.ระบบผันน้ำคลองเปรมประชากร อุโมงค์ใต้ดินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3.40 เมตร ยาว 1.88 กิโลเมตร ประสิทธิภาพการระบายน้ำ 30 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ตอนบนของกรุงเทพมหานคร เขตบางซื่อ จตุจักร หลักสี่ บางเขน และดอนเมือง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3.50 ตารางกิโลเมตร

    3.ระบบระบายน้ำพื้นที่เขตพญาไท อุโมงค์ใต้ดินขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.40 เมตร ยาว 679 เมตร และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.50 เมตร ยาว 1.90 กิโลเมตร ประสิทธิภาพการระบายน้ำ 4.50 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เขตพญาไท ถ.พหลโยธิน ช่วงจากซอยพหลโยธิน 5-11 และถนนพระราม 6 ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3 ตารางกิโลเมตร 

    4.สถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท 36 อุโมงค์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.80 เมตร ยาว 1.32 กิโลเมตร สามารถระบายน้ำ 6 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที แก้ปัญหาน้ำท่วมในถนนสุขุมวิทและซอยสุขุมวิท 36

    5.สถานีสูบน้ำและอุโมงค์ระบายน้ำซอยสุขุมวิท 42 อุโมงค์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.80 เมตร ยาว 1.10 กิโลเมตร ประสิทธิภาพการระบายน้ำ 6 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมในถนนสุขุมวิทและซอยสุขุมวิท 42 

    6.อุโมงค์ระบายน้ำบึงมักกะสันลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.60 เมตร ยาว 5.98 กิโลเมตร มีประสิทธิภาพการระบายน้ำ 45 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมเขตวัฒนา ปทุมวัน ราชเทวี พญาไท ห้วยขวาง และดินแดง ครอบคลุมพื้นที่ 26 ตารางกิโลเมตร 

    7.อุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบและคลองลาดพร้าวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา (อุโมงค์ยักษ์พระรามเก้า-รามคำแหง) มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร ยาว 5.11 กิโลเมตร ประสิทธภาพการระบายน้ำ 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เขตห้วยขวาง บางกะปิ บึงกุ่ม วัฒนา วังทองหลาง และลาดพร้าว ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร

    นอกจากนี้กรุงเทพมหานครยังอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำขนาดใหญ่อีก 5 แห่ง ในพื้นที่ฝั่งพระนครและธนบุรี ความยาวรวม 40.25 กิโลเมตร ดังนี้ 

    1.โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำใต้คลองบางซื่อ จากคลองลาดพร้าวถึงแม่น้ำเจ้าพระยา 

    2.โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำจากบึงหนองบอนลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ครอบคลุมพื้นที่ 85 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ พื้นที่เขตประเวศ บางนา พระโขนง และสวนหลวง อุโมงค์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5 เมตร ยาว 9.40 กิโลเมตร และก่อสร้างสถานีสูบน้ำตอนปลายอุโมงค์กำลังสูบ 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที

    3.โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองเปรมประชากรจากคลองบางบัวลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา คลุมพื้นที่ 109 ตารางกิโลเมตร ได้แก่ ดอนเมือง สายไหม บางเขน หลักสี่ และจตุจักร อุโมงค์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 5.70 เมตร ยาว 13.50 กิโลเมตร ก่อสร้างสถานีสูบน้ำตอนปลายอุโมงค์กำลังสูบ 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที 

    4.โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองทวีวัฒนาบริเวณคอขวด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในคลองทวีวัฒนาลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา โครงการแก้มลิง คลองมหาชัย-คลองสนามชัย แม่น้ำท่าจีนและลงสู่อ่าวไทย โดยจะต้องระบายน้ำผ่านคลองทวีวัฒนาประมาณ 32 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ก่อสร้างอุโมงค์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 3.50 เมตร ความยาว 2 กิโลเมตร

    และ 5.โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองพระยาราชมนตรี จากคลองภาษีเจริญถึงคลองสนามชัย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 5 เมตร ความยาว 8.95 กิโลเมตร กำลังสูบ 48 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งธนบุรี และรับน้ำโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองทวีวัฒนาผ่านคลองภาษีเจริญ และระบายน้ำลงสู่โครงการแก้มลิงคลองมหาชัย-คลองสนามชัย เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานครฝั่งธนบุรี

    Credit 
    http://daily.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdOVEkzTURZMU9RPT0=&sectionid=
    Y25Wd1lXbHRiMlJs&day=TWpBeE5pMHdOaTB5Tnc9PQ==


    free counters
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×