ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องรอบ ๆ ตัวแบบนี้ "คุณรู้หรือไม่"

    ลำดับตอนที่ #440 : รู้หรือไม่ "กุลี กับ จังกัง มีที่มาอย่างไร"

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 297
      2
      19 ม.ค. 58



              เริ่มจากความหมาย ของศัพท์ จับกัง และ กุลี ก่อนนะ   ศ.ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต อรรถาธิบายไว้ว่า คำว่า จับกัง และ กุลี เป็นคำเรียกกรรมกรแบกหามชาวจีน หรือคนไทยที่ทำงานกับคนจีน กรรมกรแบกหามงานหนักอย่างนี้ บางคนเรียกว่า กุลี บางคนเรียกว่า จับกัง

    คำว่า จับกัง เป็นคำจากภาษาจีนแต้จิ๋ว แปลว่า งาน 10 อย่าง จับกัง หมายถึงผู้ที่สามารถทำงานได้หลายอย่าง แต่มักเน้นงานที่ต้องใช้กำลังกาย หรืองานช่าง ปัจจุบันมักเข้าใจว่าจับกังเป็นกรรมกรแบกหามเท่านั้น

    ส่วนคำว่า กุลี เป็นคำมาจากคำภาษาอังกฤษว่า coolie เป็นคำที่อังกฤษรับมาจากคำว่า guli ในภาษาฮินดีอีกทอดหนึ่ง

    guli เป็นคำที่สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำ goli ซึ่งเป็นชื่อ ชนเผ่าหนึ่งหรือวรรณะหนึ่งในแคว้นคุชราต เป็นพวกที่รับจ้างทำงานขนถ่ายสิ่งสกปรกที่น่ารังเกียจ

    สำหรับประวัติของคนจีนที่เข้ามาขายแรงงานเป็นกุลีในประเทศ ไทย (สยาม) ได้ข้อมูลจากพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย ห้องจัดแสดง 2 กุลีจีน ว่า

    ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากสังคมศักดินาสู่ระบบทุนนิยม ชาวสยามยังเป็นแรงงานบังคับในระบบไพร่ ไม่มีอิสระที่จะไปรับจ้าง จึงใช้แรงงานจีน หรือกุลีจีน ซึ่งเป็นแรงงานต่างชาติ แรงงานจีนถือเป็นแรงงานรับจ้างรุ่นแรก

    ในการทำงานบุกเบิกสังคมไทย โดยต้องผูกปี้ครั่งที่ข้อมือเป็นสัญลักษณ์การเสียภาษีให้รัฐไทยราวปีละ 2 บาท แลกกับอิสระในการเดินทางและทำงานรับจ้าง

    แรงงานจีนขยันขันแข็ง ทำงานหลากหลายประเภท เช่น เป็น กุลีลากรถ ขุดคลอง แรงงานอู่ต่อเรือ กะลาสีเรือ ก่อสร้าง สร้างถนน เป็นคนงานในโรงงานน้ำตาล โรงสี โรงเลื่อย คนงานเหมืองแร่ แต่ได้ค่าตอบแทนน้อยเมื่อเทียบกับงานที่หนักมาก ขาดหลักประกันในการทำงาน และจำนวนมากต้องกลายเป็นคนติดอบายมุข สูบฝิ่น เพราะรู้สึกสบายหายปวดเมื่อย






              นอกจากนี้ยังมีการรวมกลุ่มจัดตั้งองค์กรที่เรียกว่า อั้งยี่ ขึ้นมา และอาศัยองค์กรประเภทนี้ดูแลพิทักษ์ผลประโยชน์ แต่อั้งยี่ก็กลายเป็นสิ่งต้องห้าม เป็นสมาคมลับ เมื่อมีการออกกฎหมายอั้งยี่ขึ้นมาในปี พ.ศ.2440

    ยังมีข้อมูลจากบทความเรื่อง กำเนิดและวิถีชีวิตของชุมชนแรงงานรับจ้างในประเทศไทย โดย รศ.ดร.พรรณี บัวเล็ก แห่งมหาวิทยาลัยเกริก ระบุว่า กุลีที่อพยพมาในประเทศไทยมี 2 ลักษณะ คือ อพยพอย่างอิสระ และอพยพโดยผ่านระบบตั๋วสัญญา

    การค้ากุลีในประเทศจีนดำเนินโดยบริษัทของชาติมหาอำนาจที่ร่วมกับกลุ่มอิทธิพลท้องถิ่น รัฐบาลชิงไม่สามารถยับยั้งได้ และในที่สุดจำเป็นต้องยอมรับการทำสนธิสัญญาปักกิ่งใน พ.ศ.2403

    ผลของสัญญาทำให้รัฐบาลต้องอนุญาตให้ชาวจีนเดินทาง ออกนอกประเทศได้ และเปลี่ยนแปลงนโยบายจากการห้าม ชาวจีนอพยพออกนอกประเทศเป็นนโยบายคุ้มครองแรงงานคนจีนที่ไปทำงานต่างประเทศไม่ให้ถูกขูดรีดจากพ่อค้ากุลีมากเกินไป

    การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐบาลชิงนี้ ทำให้ชาวจีนที่เคยลักลอบเดินทางออกนอกประเทศ เดินทางออกนอกประเทศได้สะดวกมากขึ้น ไม่ผิดกฎหมาย

    นอกจากอยู่ในภาวะที่ถูกบีบบังคับให้ยอมรับการค้ากุลีของชาติมหาอำนาจที่เกิดขึ้นแล้ว ยังเห็นข้อดีจากชาวจีนโพ้นทะเลว่าเป็นพวกที่มีศักยภาพสามารถช่วยเหลือประเทศในด้านการเงินได้อย่างดี

    การเปลี่ยนแปลงทันทีและนโยบายของรัฐบาลชิงต่อชาวจีนโพ้นทะเลทำให้การเคลื่อนย้ายแรงงานออกนอกประเทศจีนมีมากขึ้น

    ที่มา 
    http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TURONWIzVXdNakUwTURFMU9BPT0=&sectionid=
    Y25Wd1lXbHRiMlJs&day=TWpBeE5TMHdNUzB4TkE9PQ==



    free counters
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×