ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องรอบ ๆ ตัวแบบนี้ "คุณรู้หรือไม่"

    ลำดับตอนที่ #421 : รู้หรือไม่ "ยาหอมไทย มีที่มาอย่างไร"

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 209
      0
      16 ต.ค. 56



    มาก​คุณค่า​ ​มรดก​ภูมิ​ปัญญา​

    ​เมื่อ​เอ่ย​ถึง​ “​ยา​หอม​” ​ภูมิ​ปัญญา​ของ​ไทย​ที่​สะสม​กัน​มานาน​ ​ผ่าน​กาล​เวลา​มาร​ุ่น​แล้ว​รุ่น​เล่า​ ​หาก​แต่​วัน​นี้​กลับ​ถูก​มอง​ว่า​เป็น​ของ​โบราณ​ ​ล้า​สมัย​..​ทั้ง​ที่​แท้​จริง​แล้ว​ ​เต็ม​เปี่ยม​ไป​ด้วย​สรรพ​คุณ​มาก​มาย​ ​ที่​ไม่​ว่า​ใคร​ได้​พิสูจน์​เป็น​ต้อง​ทึ่ง​!
        
    ​ยา​หอม​ไทย​ ​ได้​รับ​การ​สืบ​ทอด​มายา​วนา​นก​ว่า​ 3 ​ศต​วรรษ​ ​จาก​หลัก​ฐาน​ทาง​ประวัติศาสตร์​ใน​รัช​สมัย​ของ​สมเด็จ​พระ​นารายณ์​มหาราช​ ​ระหว่าง​ พ.ศ. 2199-2231 ​ทรง​โปรด​ฯ ​ให้​หมอ​หลวง​ใน​ราช​สำนัก​รวบ​รวม​ตำรับ​ยา​สำคัญ​ ๆ ​ที่​มี​อยู่​ขณะ​นั้น​ขึ้น​เป็น​ตำรา​เรียก​ว่า​   “​ตำรา​พระ​โอสถ​สมเด็จ​พระ​นารายณ์​” ​โดย​ตำรา​นี้​ได้​ระบุ​เป็น​ตำรา​อ้าง​อิง​ไว้​อีก​ 2 ​เล่ม​ ​คือ​ ​คัมภีร์​มหา​โชติ​รัต​ ​อัน​เป็น​ตำรา​เกี่ยว​กับ​โรค​สตรี​ ​และ​คัมภีร์​โรค​นิทาน​ ​อัน​เป็น​ตำรา​เกี่ยว​กับ​เรื่อง​ราว​ของ​โรค​หรือ​เหตุ​แห่ง​โรค​ ​ซึ่ง​ตำรา​ทั้ง​ 2 ​เล่ม​นี้​ยัง​คง​ใช้​เป็น​แม่​แบบ​ของ​ตำรา​แพทย์​แผน​ไทย​ใน​ปัจจุบัน​
        
    ​ต่อม​า​ใน​รัช​สมัย​ของ​ ​พระ​บาท​สมเด็จ​พระ​จุลจอมเกล้า​เจ้า​อยู่​หัว​ ​รัช​กาล​ที่​ 5 ​พระ​องค์​ทรง​ปรารภ​ให้​กระจาย​ยาด​ี ๆ ​ไป​ตาม​หัว​เมือง​ทั่ว​ประเทศ​ ​เพื่อ​ให้​ราษฎร​ที่​อยู่​ห่าง​ไกล​ที่​หาย​า​แก้​โรค​ภัย​ได้​ยาก​  ​ได้​เข้า​ถึง​ยาม​าก​ขึ้น​ ​ภาย​ใต้​ชื่อ​   “​ยา​โอสถ​สภา​” (​ยา​สามัญ​ประจำ​บ้าน​) ​และ​จัด​ตั้ง​ตำรับ​ยา​ตำรา​หลวง​ขึ้น​ ​ซึ่ง​มี​ยา​หอม​เป็น​หนึ่ง​ใน​นั้น​ ​และ​ถ่าย​ทอด​สืบ​ต่อม​า​เป็น​ลำดับ​จน​เป็น​ที่​รู้​จัก​สู่​สามัญ​ชน​ ​และ​ใช้​กัน​อย่าง​แพร่​หลาย​มา​จน​ถึง​ปัจจุบัน​
        
    ​เหตุ​ใด​จึง​เรียก​กัน​ว่า​ “​ยา​หอม​” รศ.​ดร​.​นพ​มาศ​ ​สุนทร​เจริญ​นนท์​ ​อาจารย์​ประจำ​คณะ​เภสัช​ศาสตร์​ ​มหาวิทยาลัย​มหิดล​ ​เล่า​ขยาย​ความ​ให้​ฟัง​ว่า​ ​อาจ​เป็น​เพราะ​ส่วน​ประกอบ​ของ​สมุนไพร​ที่​นำ​มา​ใช้​มา​จาก​เกสร​ดอก​ไม้​ที่​มี​กลิ่น​หอม​อยู่​หลาย​ชนิด​ด้วย​กัน​ ​เช่น​ ​จำปา​ ​มะลิ​ ​พิกุล​ ​บุนนาค​ ​สารภี​ ​กระดังงา​ ​ลำดวน​ ​ลำเจียก​ ​เกสร​บัว​หลวง​ ​อีก​ทั้ง​ ​กฤษณา​ ​ขอน​ดอก​ ​กระลำพัก​ ​เปลือก​สมุลแว้ง​ ​เปราะ​หอม​ ​ชะลูด​ ​หญ้าฝรั่น​ ​จันทน์​แดง​ ​จันทน์​เทศ​ ​จันทน์​ชะมด​ ​ลูก​จันทน์​ ​รวม​ทั้ง​ ​เทียน​ ​อีก​ 5 ​ชนิด​ ​คือ​ ​เทียน​ขาว​ ​เทียน​ดำ​ ​เทียน​แดง​ ​เทียน​ข้าว​เปลือก​ ​เทียน​ตา​ตั๊กแตน​ ​นอก​จาก​นี้​ ​ยัง​มี​โกฐ​อีก​ 5 ​อย่าง​ ​คือ​ ​โกฐ​สอ​ ​โกฐ​เขมา​ ​โกฐ​เชียง​ ​โกฐ​หัว​บัว​  ​โกฐ​จุฬา​ลัม​พา​ 
        
    “​สมุนไพร​เหล่า​นี้​ส่วน​ใหญ่​จะ​นำ​มา​ใช้​ใน​เรื่อง​ของ​คน​เป็น​ลม​ ​มึน​ศีรษะ​ ​หน้า​มืด​ ​ใจ​สั่น​ ​ท้อง​อืด​ ​ท้อง​เฟ้อ​ ​หรือ​ช่วย​แก้​อาการ​คลื่นไส้​ ​อาเจียน​ ​รวม​ไป​ถึง​เรื่อง​นอน​ไม่​หลับ​ ​ทั้ง​หมด​เป็น​ภูมิ​ปัญญา​ที่​สะสม​กัน​มา​จาก​บรรพบุรุษ​ของ​ไทย​ ​ซึ่ง​ยัง​ไม่​มี​หลัก​ฐาน​อ้าง​อิง​ที่​ชัดเจน​ ​จะ​มา​พูด​ลอย​ ๆ ​ว่า​สมุนไพร​ดี​ ​ใช้​ได้​ ​สามารถ​ใช้​ทด​แทน​ยา​แผน​ปัจจุบัน​ได้​ใน​ยุค​ พ.ศ. 2553 ​นี้​ ​บาง​ครั้ง​การ​ยอม​รับ​ ​ความ​น่า​เชื่อ​ถือ​ ​อาจ​จะ​มีน​้​อย​ ​ฉะนั้น​ ​งาน​วิจัย​จึง​มี​ความ​สำคัญ​ใน​การ​รอง​รับ​สรรพ​คุณ​ของ​ภูมิ​ปัญญา​ที่​มี​มา​เหล่า​นั้น​ว่า​เป็น​จริง​หรือ​ไม่​
        
    ​นอก​จาก​จะ​ทำ​ให้​เป็น​ที่​ยอม​รับ​แล้ว​ ​ยัง​ต้อง​ให้​ความ​สำคัญ​ใน​เรื่อง​มาตรฐาน​ของ​สมุนไพร​เหล่า​นี้​ด้วย​ ​เพื่อ​ให้​หมอ​ที่​รักษา​คน​ด้วย​วิทยา​ศาสตร์​ ​เข้า​ใจ​สมุนไพร​ใน​แง่​มุม​ของ​วิทยา​ศาสตร์​ ​นั่น​คือ​ ​ต้อง​ทำ​สมุนไพร​ให้​เป็น​วิทยา​ศาสตร์​ ​ซึ่ง​ก็​คือ​ ​สามารถ​พิสูจน์​ได้​ ​งาน​วิจัย​จึง​เข้า​มาส​นับ​สน​ุน​ภูมิ​ปัญญา​ ​ที่​มี​มายา​วนา​น” 
        
    ​ใน​ปี​ พ.ศ. 2542 ​กระ​ ​ทรวง​สาธารณสุข​ได้​กำหนด​ตำรับ​ยา​หอม​ที่​เป็น​ยา​สามัญ​ประจำ​บ้าน​ไว้​ 4 ​ตำรับ​ ​คือ​ ​ยา​หอม​นว​โกฐ​ ​ยา​หอม​อิน​ทร​จักร​์ ​ยา​หอม​เทพ​จิตร​ ​และ​ ​ยา​หอม​ทิพย์​โอสถ​ ​ซึ่ง​ทาง​คณะ​เภสัช​ศาสตร์​ ม.​มหิดล​ ​ได้​ทำ​การ​วิจัย​ไว้​ 2 ​ตำรับ​ ​คือ​ ​ยา​ ​หอม​นว​โกฐ​ ​และ​ยา​หอม​อิน​ทร​จักร​์ 
        
    อ.​นพ​มาศ​ ​อธิบาย​ถึง​การ​ทดลอง​ ​ให้​ฟัง​ว่า​ ​หาก​ดู​จาก​ส่วน​ผสม​ของ​แต่​ละ​ตำรับ​ไม่​ต่าง​กัน​เท่า​ไร​นัก​ ​แต่​สิ่ง​สำคัญ​ที่​นัก​วิจัย​ ​จะ​ต้อง​ศึกษา​ ​คือ​ ​สมุนไพร​ประกอบ​ด้วย​อะไร​บ้าง​ ​เพื่อ​จะ​ได้​ทราบ​ฤทธิ์​ทาง​เภสัช​วิทยา​ ​รวม​ทั้ง​ ​ต้อง​รู้​สัด​ส่วน​ด้วย​ว่า​มี​มาก​น้อย​อย่าง​ไร​ ​เพราะ​จะ​ทำ​ให้​แต่​ละ​ตำรับ​มี​ฤทธิ์​ทาง​เภสัช​วิทยา​ที่​แตก​ต่าง​กัน​ 
        
    ​สำหรับ​ ​ยา​หอม​นว​โกฐ​นั้น​ ​ประกอบ​ด้วย​ ​สมุนไพร​ 54 ​ชนิด​ (​โกฐ​ 9 ​ชนิด​ ​เทียน​ 9 ​ชนิด​ ​เกสร​ 5 ​ชนิด​ ​และ​ ​อื่น​ ๆ) ​มี​สัตว์​วัตถุ​ 1 ​ชนิด​ ​คือ​ ​ชะมด​เช็ด​ ​และ​มี​แร่​วัตถุ​  1 ​ชนิด​ ​คือ​ ​น้ำ​ประสาน​ทอง​สะตุ​ ​ส่วน​ ​ยา​หอม​อิน​ทร​จักร​์​ประกอบ​ด้วย​ ​สมุนไพร​ 51 ​ชนิด​ (​โกฐ​ 9 ​ชนิด​ ​เทียน​ 5 ​ชนิด​ ​เกสร​ 5 ​ชนิด​ ​และ​อื่น​ ๆ) ​มี​สัตว์​วัตถุ​ 2 ​ชนิด​ ​คือ​ ​ดี​หมู​ ​และ​เลือด​แรด​ ​และ​มี​แร่​วัตถุ​ 3 ​ชนิด​ ​คือ​ ​กำยาน​ ​อำพัน​ทอง​ ​และ​พิมเสน​ ​แต่​เนื่อง​จาก​  ​สัตว์​วัตถุ​หลาย​ชนิด​หาย​าก​ใน​ปัจจุบัน​ ​รวม​ทั้ง​ ​รู้​สึก​ทารุณ​ ​กรรม​ใน​สายตา​ของ​ผู้​บริโภค​  ​จึง​เอา​ออก​และ​หัน​มา​ใช้​พืช​ ​เป็น​หลัก​  
        
    “​วิธี​การ​วิจัย​ ​คือ​ ​เตรียม​สมุนไพร​ทั้ง​ 2 ​ตำรับ​ ​ใน​รูป​ของ​สาร​สกัด​ ​แล้ว​นำ​ไป​ทดลอง​กับ​หนู​และ​สุนัข​ ​พบ​ว่า​ ​ยา​หอม​ทั้ง​ 2 ​ตำรับ​ ​มี​ผล​ทำ​ให้​หัว​ใจ​เต้น​แรง​ขึ้น​ ​เพื่อ​บีบ​ให้​เส้น​เลือด​ไป​เลี้ยง​สมอง​มาก​ขึ้น​ ​แต่​จะ​เต้น​แรง​ใน​ระยะ​เวลา​หนึ่ง​เท่า​นั้น​ประมาณ​ 40 ​นาที​ ​จาก​นั้น​ก็​จะ​ลด​ลง​ ​รวม​ทั้ง​ ​ทำ​ให้​ความ​ดัน​โลหิต​สูง​เพิ่ม​ขึ้น​ด้วย​” 
         
    ​จาก​นั้น​ทดลอง​ ​ยา​หอม​ นว​โกฐ​ ​ใน​เรื่อง​ของ​การ​ ​ปวด​ท้อง​ ​โดย​ทดสอบ​ว่า​ ​ช่วย​ลด​การ​บีบ​ตัว​ของ​ลำ​ไส้​หรือ​ไม่​ ​พบ​ว่า​ ​ทำ​ให้​การ​หด​ตัว​และ​การ​บีบ​ตัว​ ​ของ​ลำ​ไส้​ลด​น้อย​ลง​ ​ซึ่ง​จะ​ส่ง​ผล​ ​ทำ​ให้​ไม่​ปวด​ท้อง​ 
        
    ​ขณะ​เดียว​กัน​ก็​ศึกษา​  ​ใน​หนู​โดย​ให้​ยาน​อน​หลับ​  ​เมื่อ​หลับ​ไป​นาน​ 1 ​ชั่ว​โมง​ ​ก็​ให้​สาร​สกัด​ ​ยา​หอม​นว​โกฐ​ ​เข้า​ไป​พบ​ว่า​ ​ทำ​ให้​ระยะ​เวลา​การ​ออก​ฤทธิ์​ของ​ยาน​อน​หลับ​ยาว​นาน​ขึ้น​
        
    ​ส่วน​ ​อาการ​อาเจียน​ ​ทดลอง​ใน​สุนัข​ ​โดย​ให้​ยา​อาเจียน​แล้ว​สังเกต​ว่า​ ​มี​การ​   ​อาเจียน​บ่อย​แค่​ไหน​ถ้า​ไม่​ได้​ ​รับ​ยา​ ​รวม​ทั้ง​ ​สิ่ง​ที่​ออก​มา​จาก​การ​อาเจียน​มี​มาก​น้อย​เพียง​ใด​ ​เพื่อ​ดู​ความ​รุน​แรง​ของ​การ​อาเจียน​ ​จาก​นั้น​ ​ให้​ ​ยา​หอม​อิน​ทร​จักร​์ ​สุนัข​กิน​เข้า​ไป​ ​แล้ว​ดู​ว่า​จาก​ที่​เคย​อาเจียน​  ​เป็น​อย่าง​ไร​ ​พบ​ว่า​ ​การ​อาเจียน​ลด​ลง​มาก​ ​ระยะ​เวลา​ใน​การ​อาเจียน​ยาว​นาน​ออก​ไป​ ​จึง​สรุป​ได้​ว่าย​า​หอม​มี​ฤทธิ์​ใน​การ​ต้าน​การ​อาเจียน​ได้​ 

    “​จาก​ผลก​า​รวิ​จัย ​แม้​จะ​ให้​ผล​ ​โดย​รวม​คล้าย​กัน​แต่​ก็​มี​สรรพ​คุณ​ที่​ต่าง​กัน​ ​โดย​ ​ยา​หอม​นว​โกฐ​ ​จะ​ใช้​ได้​ดี​ใน​เรื่อง​ของ​ ​หลอด​เลือด​ ​กระเพาะ​ ​หัว​ใจ​ ​สมอง​ ​รวม​ทั้ง​ ​แก้​ปวด​ท้อง​ ​และ​ ​ช่วย​ใน​การ​หลับ​ ​โดย​ทำ​ให้​นอน​หลับ​ได้​ยาว​นาน​มาก​ขึ้น​ ​ขณะ​ที่​ ​ยา​หอม​อิน​ทร​จักร​์  ​แก้​คลื่นไส้​ ​อาเจียน​ได้​ดี​กว่า​ ​ฉะนั้น​จะ​เห็น​ว่าย​า​หอม​ทั้ง​ 2 ​ตำรับ​ ​มี​ฤทธิ์​ตาม​ที่​ระบุ​ไว้​บน​ฉลาก​ ​ซึ่ง​ตรง​กับ​สรรพ​คุณ​ที่​ภูมิ​ปัญญา​บอก​ไว้​จริง​ ​ตลอด​จน​ไม่​มี​ผล​ข้าง​เคียง​ ​และ​พิษ​เฉียบ​พลัน​ ​หาก​ทาน​อย่าง​ต่อ​เนื่อง​เป็น​เวลา​นาน​ ​หรือ​ทาน​ใน​จำนวน​มาก​”  
        
    ​ใน​ส่วน​ของ​ ​ยา​หอม​เทพ​จิตร​ ​กับ​ ​ยา​หอม​ทิพย์​โอสถ​ ​แม้​จะ​ยัง​ไม่​ได้​วิจัย​แต่​ถ้า​หาก​ดู​จาก​สมุนไพร​ที่​นำ​มา​ผสม​แล้ว​ไม่​ได้​ต่าง​กัน​มาก​นัก​ ​ตัว​ยา​หลัก​จะ​เป็น​โกฐ​ทั้ง​ 9 ​เทียน​ทั้ง​ 9 ​รวม​ทั้ง​เกสร​ดอก​ไม้​ ​เพียง​แต่​ว่า​ ​ยา​หอม​เทพ​จิตร​ ​จะ​มีด​อก​ไม้​และ​ผิว​ส้ม​ใส่​เพิ่ม​เข้า​ไป​ ​ซึ่ง​ใน​อิน​ทร​จักร​์ ​และ​นว​โกฐ​จะ​ไม่​มี​ ​โดย​ผิว​ส้ม​นี้​จะ​ช่วย​ใน​เรื่อง​ของ​การ​คลื่นไส้​ ​อาเจียน​ได้​ ​และ​ช่วย​ใน​การ​ขับ​ลม​ ​ช่วย​ใน​เรื่อง​ของ​ทาง​เดิน​อาหาร​ได้​ดี​
        
    ​ส่วน​ ​ยา​หอม​ทิพย์​โอสถ​ ​จะ​เห็น​ว่า​ตัว​ยาม​ี​น้อย​กว่า​ตำรับ​อื่น​ ๆ ​พอ​สม​ควร​ ​แต่​ก็​ยัง​คง​มี​ยา​หลัก​โกฐ​ทั้ง​ 9 ​เทียน​ทั้ง​ 9 ​เหมือน​กัน​ ​ซึ่ง​สรรพ​คุณ​หลัก​ ๆ ​ของ​สมุนไพร​เหล่า​นี้​จะ​ช่วย​ใน​เรื่อง​ของ​ ​แก้ว​ิง​เวียน​ ​คลื่นเหียน​ ​อาเจียน​ ​ได้​
        
    ​อาจารย์​ประจำ​คณะ​เภสัช​ฯ ​กล่าว​เพิ่ม​เติม​ว่า​ ​สิ่ง​ที่​ยาก​ที่​สุด​อย่าง​หนึ่ง​ ​คือ​ ​การ​ทำ​สมุนไพร​และ​การ​แพทย์​แผน​ไทย​ให้​น่า​เชื่อ​ถือ​ ​โดย​เฉพาะ​ใน​ทัศนคติ​ของ​แพทย์​แผน​ปัจจุบัน​และ​ผู้​คน​ใน​ยุค​นี้​        
        
    “​เรื่อง​ทัศนคติ​เป็น​เรื่อง​ที่​ค่อน​ข้าง​ลำบาก​ที่​จะ​เปลี่ยน​ ​ซึ่ง​จริง​ ๆ ​แล้ว​ ​ที่​คน​ปัจจุบัน​ยัง​ไม่​ค่อย​ยอม​รับ​เพราะ​ยัง​ไม่​มี​งาน​วิจัย​มาส​นับ​สน​ุน ​แต่​ตอน​นี้​ได้​วิจัย​ออก​มา​แล้ว​ซึ่ง​มี​ผล​ตรง​ตาม​ที่​ภูมิ​ปัญญา​ได้​บอก​ไว้​จริง​ ​รวม​ทั้ง​ ​มี​รูป​แบบ​ที่​ทัน​สมัย​มาก​ขึ้น​ ​ไม่​ว่า​จะ​อยู่​ใน​รูป​ของ​ยา​เม็ด​หรือ​สาร​สกัด​ ​โดย​มี​ขนาด​ยา​ที่​ถูก​ต้อง​ ​ทาน​ง่าย​ไม่​ยุ่ง​ยาก​เหมือน​ใน​สมัย​ก่อน​ ​ซึ่ง​ไม่​แตก​ต่าง​จาก​ยา​ใน​แผน​ปัจจุบัน​”
        
    ​สิ่ง​ที่​นัก​วิจัย​ผู้​นี้​อยาก​กล่าว​ถึง​จาก​การ​วิจัย​ ​คือ​ ​ต้อง​ยอม​รับ​ใน​ภูมิ​ปัญญา​ที่​สะสม​กัน​มา​ของ​ไทย​ ​เพราะ​ไม่​มี​ประเทศ​ใด​ที่​เอา​วัตถุ​ดิบ​ของ​สมุนไพร​แต่​ละ​ชนิด​มาร​ว​มก​ัน​เป็น​สูตร​ได้​ดี​แบบ​นี้​ ​ซึ่ง​ตรง​นี้​ถือ​เป็น​เอกลักษณ์​ของ​ไทย​ ​อย่าง​หนึ่ง​ ​จึง​อยาก​ให้​ทุก​คน​เห็น​ถึง​คุณค่า​ตรง​นี้​ ​นำ​ภูมิ​ ​ปัญญา​ของ​บรรพบุรุษ​ไทย​มา​ใช้​ ​เพราะ​ใน​หลาย​ ๆ ​โรค​ไม่​ใช่​มี​เพียง​ยา​แผน​ปัจจุบัน​ที่​รักษา​ได้​ ​เช่น​ ​คนที​่​เป็น​ลม​มัก​นิยม​ใช้​แอมโมเนีย​ให้​ดม​ ​แต่​ถ้า​ทาน​ยา​หอม​จะ​ดี​กว่า​เพราะ​ช่วย​ให้​ทั้ง​ระบบ​ของ​ร่าง​กาย​  ​ดี​ขึ้น​ไม่​ใช่​เพียง​แค่​ให้​หาย​  ​เป็น​ลม​ ​วิง​เวียน​ ​เท่า​นั้น​ 
        
    ​รวม​ทั้ง​ ​โรค​ที่​ยัง​ไม่​มี​ยา​แผน​ปัจจุบัน​ทด​แทน​ได้​ ​แต่​สามารถ​ใช้​ยา​หอม​ได้​ ​เช่น​ ​เมื่อ​อยู่​ใน​ที่​สูง​ ๆ ​ซึ่ง​มี​อากาศ​น้อย​มาก​ทำ​ให้​เกิด​อาการ​หน้า​มืด​ได้​ ​ตรง​นี้​ยา​แผน​ปัจจุบัน​ไม่​มี​ตัว​ยา​ใด​บ่ง​ชี้​ชัดเจน​ว่า​ช่วย​บรรเทา​อาการ​ได้​ ​แต่​เมื่อ​ทาน​ยา​หอม​เข้า​ไป​แล้ว​ช่วย​ได้​ทัน​ที​ ​ทำ​ให้​รู้​สึก​สด​ชื่น​ขึ้น​
        
    ​ถ้า​คน​ไทย​หัน​มาท​าน  ​ยา​ไทย​ไม่​จำ​เป็น​ต้อง​เป็น​ยา​หอม​อย่าง​เดียว​ ​ตรง​นี้​จะ​ช่วย​ใน​หลาย​ ๆ ​ด้าน​ ​ทั้ง​ ​เศรษฐกิจ​ ​วัฒนธรรม​ ​และ​สังคม​ ​และ​ที่​สำคัญ​ช่วย​ลด​การ​นำ​เข้า​ยา​แผน​ปัจจุบัน​จาก​ต่าง​ชาติ​  ​ได้​จำนวน​ไม่​น้อย​ ​อีก​ทั้ง​ ​คน​ใน​ประเทศ​ยัง​ได้​รับ​ประโยชน์​กัน​ตั้ง​แต่​ต้น​น้ำ​ ​คน​เก็บ​สมุนไพร​ ​ผู้​ผลิต​ ​ไป​จน​ถึง​ปลาย​น้ำ​ที่​เป็น​ ​ผู้​บริโภค​. 

    ที่มา 
    http://www.dailynews.co.th/article/224/130134




    free counters
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×