ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องรอบ ๆ ตัวแบบนี้ "คุณรู้หรือไม่"

    ลำดับตอนที่ #410 : รู้หรือไม่ "ทำไม “ปลาสลิด” ไม่มีหัว"

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 499
      0
      7 มิ.ย. 56



           หลายคนคงเคยสงสัยเหมือนๆ กันว่า ปลาสลิดตากแห้งที่เราเห็นกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวันนั้น ทำไมจึงไม่เคยมีหัวให้เราเห็นเลย ตั้งแต่เกิดมาปลาสลิดเคยมีหัวหรือไม่ ถ้ามีหัวแล้วทำไมต้องตัดออก หรือว่าหน้าตาของปลาสลิดนั้นขี้เหร่จนทนดูไม่ได้ ด้วยความสงสัยก็เลยต้องไปหาคำตอบมาคลายข้อข้องใจ
           
           เริ่มกันตั้งแต่ปลาสลิดนั้นเป็นปลาน้ำจืด รูปร่างหน้าตาก็คล้ายกับปลากระดี่หม้อ ตัวสีเขียวมะกอกหรือสีน้ำตาลคล้ำ มีแถบยาวตามลำตัว และก็มีหัวเหมือนปลาทั่วๆ ไป
           
           ด้วยเหตุที่เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งของไทย และนิยมนำมาแปรรูปเป็นปลาเค็ม หรือปลาสลิดตากแห้งแบบที่เรารู้จักกันดี ก็เป็นที่มาของการที่จะต้องตัดหัวปลาสลิดออก เนื่องจากปลาสลิดนั้นเป็นปลาที่มีมันมาก โดยเฉพาะในส่วนท้องหรือพุงปลา ซึ่งก่อนจะนำมาคลุกเคล้าเกลือเพื่อแปรรูปนั้น จะต้องควักไส้ควักพุง ตัดหัวออก เพื่อเวลาตากแดดแล้วปลาจะได้แห้งสนิท ไม่มีกลิ่นเหม็นเน่า
           
           อีกส่วนก็เพื่อให้เกลือที่คลุกเคล้าตัวปลานั้นซึมซาบเข้าสู่เนื้อปลาได้ทั่วทั้งตัว มีความเค็มเท่าๆ กันทั้งตัว เมื่อนำหัวและพุงปลาออกแล้ว เกลือก็จะเข้าไปแทนที่ เป็นการยับยั้งแบคทีเรียที่จะทำให้ปลาเน่า และเมื่อนำไปตากแดดให้แห้งสนิทแล้ว ก็จะช่วยถนอมอายุของปลาสลิดให้สามารถเก็บไว้กินได้นานขึ้น
           
           ส่วนปลาสลิดที่มีชื่อเสียงที่รู้จักกันทั่วก็คงจะเป็น “ปลาสลิดบางบ่อ” ใน อ.บางบ่อ และ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ซึ่งเป็นพื้นที่เลี้ยงปลาสลิดขนาดใหญ่ในอดีต ปลาสลิดที่ได้มีรสชาติอร่อยกว่าที่อื่นๆ และยังมีที่ ต.ดอนกำยาน อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี อีกแห่งหนึ่ง ที่ในอดีตเป็นพื้นที่เลี้ยงปลาสลิดเช่นกัน แต่ในปัจจุบันนี้ แหล่งที่มีการเลี้ยงปลาสลิดมากที่สุดอยู่ในพื้นที่ อ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร จนกระทั่งมีการจัดเทศกาลกินปลาสลิดขึ้นในทุกๆ ปี

    ที่มา 
    http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9560000068014




    free counters
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×