ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องรอบ ๆ ตัวแบบนี้ "คุณรู้หรือไม่"

    ลำดับตอนที่ #397 : รู้หรือไม่ "เขตปลอดทหารต้องมีเงื่อนไขอะไรบ้าง"

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 270
      1
      15 ธ.ค. 55



              เขตปลอดทหาร (Demiitarized zone) มีตัวย่อเรียกว่า DMZ ดีเอ็มซี คืออาณาบริเวณซึ่งปฏิบัติการทางทหารใดๆ รวมไปถึงการวางกำลังทั้งในเชิงรุกและรับ ถูกสั่งห้ามอย่างเด็ดขาด โดยอนุสัญญา ข้อตกลง หรือคำสั่งของหน่วยงานสากลซึ่งมีอำนาจ ทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี ซึ่งมักเกิดขึ้นตามแนวชายแดนระหว่างประเทศที่มีการวางกำลังเผชิญหน้ากัน

    จุดประสงค์หลักของการตั้งเขตปลอดทหาร คือเพื่อลดความตึงเครียดและโอกาสในการปะทะกันจนก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรง

    ส่วนใหญ่แล้วเขตปลอดทหารจะเกิดขึ้นหลังเกิดการสู้รบรุนแรงระหว่างสองดินแดนเป็นอย่างน้อย จนมีผู้คนล้มตายอย่างไม่ขาดสาย จึงจำเป็นต้องตั้งเขตกั้นที่ไม่มีทหารของสองฝ่ายเข้าไปอยู่


              เขตปลอดทหารบางแห่งยังถือเป็นพื้นที่อันไม่ถูกครอบครองโดยชาติใดๆ หรือไม่มีประเทศใดมีอธิปไตยเหนือพื้นที่ดังกล่าวด้วย เรียกว่า พื้นที่เป็นกลาง (Neutra Teritory) เนื่องจากไม่มีหน่วยงานด้านความมั่นคงใดๆ ได้รับอนุญาตในพื้นที่ รวมทั้งไม่มีหน่วยงานด้านพลเรือนที่มีสิทธิขาดในพื้นที่นั้นด้วย    ในบางกรณีอาจเป็นพื้นที่เป็นกลางต่อไปแม้หลังการตัดสินเรื่องอธิปไตยจบไปแล้ว 



              นอกจากนี้ เขตปลอดทหารหลายแห่งในโลกกลายเป็นพื้นที่อนุรักษ์ไปโดยปริยายด้วย เนื่องจากประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงไม่กล้าเดินทางเข้าไปเพื่อทำกิน จึงทำให้ปราศจากสิ่งปลูกสร้าง พลเรือน และโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน

    ปัจจุบันเขตปลอดทหารทั่วโลกมีอยู่ 11 แห่ง ได้แก่
    1.บริเวณเมืองเซต้ากับมาลิญ่า ชายแดนประเทศโมร็อกโกกับสเปน

    2.ทวีปแอนตาร์กติกา หรือขั้วโลกใต้

    3.ชายแดนระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้

    4.ชายแดนประเทศอิรักและคูเวต

    5.คาบสมุทรไซไน ซึ่งจำกัดปริมาณการวางกำลังของอียิปต์


    6.ที่ราบสูงโกลันในประเทศอิสราเอล เป็นพื้นที่ประจำการ กองกำลังผู้สังเกตการณ์ยุติการปะทะแห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นดีโอเอฟ

    7.พื้นที่กันชน หรือบัฟเฟอร์โซน ระหว่างสาธารณรัฐไซปรัสเหนือที่แยกตัวออกมาจากประเทศไซปรัส 8.หมู่เกาะโอลันด์ นอกชายฝั่งประเทศฟินแลนด์ 9.พื้นที่กันชนระหว่างสาธารณรัฐมอลโดวาและประเทศทราสนิสเตรียที่แยกตัวออกมา

    10.ชายแดนยาว 5 กิโลเมตร ระหว่างประเทศโคโซโวกับเซอร์เบีย และ 11.หมู่เกาะสวาลบาร์ของประเทศนอร์เวย์

    สำหรับเขตปลอดทหารกรณีบริเวณเขาพระวิหารที่พิพาทกันระหว่างประเทศไทยและกัมพูชานั้นเป็นมาตรการชั่วคราวที่ศาลโลกมีคำสั่งเมื่อ 18 ก.ค.2554 เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีและลดภาวะตึงเครียดในพื้นที่เท่านั้น ซึ่งประชาชนทั่วไปในพื้นที่ยังอยู่อาศัยได้ตามปกติ 

    คำสั่งเปลี่ยนแปลงได้ หากมีพัฒนาการที่ดีขึ้น โดยไม่เกี่ยวข้องกับอธิปไตยเหนือดินแดนของฝ่ายใดทั้งสิ้น และเป็นเพียงระยะเวลาชั่วคราวจนกว่าศาลจะตีความพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารเสร็จสิ้น

    ที่มา ข่าวสดออนไลน์







    free counters
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×