ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องรอบ ๆ ตัวแบบนี้ "คุณรู้หรือไม่"

    ลำดับตอนที่ #394 : รู้หรือไม่ "ข้าวหอมมะลิ" มีที่มาอย่างไร

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 263
      2
      30 พ.ย. 55



              ข้าวหอมมะลิไทยโด่งดังไปทั่วโลกในฐานะที่มีกลิ่นหอมตามธรรมชาติ โดยมีกลิ่นคล้ายใบเตย นอกจากนี้ยังอร่อย นำไปปรุงอาหารได้หลายชนิด และเข้ากันได้ดีกับอาหารแทบทุกประเภท

     

     ความหอมของข้าวหอมมะลิ เกิดจากสารระเหยชื่อ 2 acctyl 1 pyrdcnc ซึ่งเป็นสารที่ระเหยหายไปได้ การรักษาความหอมของข้าวหอมมะลิให้คงอยู่ได้นานนั้นจึงควรเก็บข้าวไว้ในที่เย็น อุณหภูมิประมาณ 15 องศาเซลเซียส เก็บข้าวเปลือกที่มีความชื้นต่ำ 14-15 % ลดความชื้นข้าวเปลือกที่อุณหภูมิไม่สูงเกินไป ไม่ควรเก็บในสภาพข้าวกล้อง พบว่า การใช้ปุ๋ยโปตัสเซียมในการปลูก มีแนวโน้มช่วยให้ข้าวมีกลิ่นหอมมากขึ้น

     

     สำหรับแหล่งเพาะปลูกดั้งเดิมข้าวหอมมะลิไทย อยู่ที่บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ในช่วงปี 2510เป็นต้นมา ทางภาครัฐและเอกชนจับมือกันค้นคว้า คัดเลือก และปรับปรุง พันธุ์ข้าวเพื่อการส่งออก จนได้ข้าวหอมมะลิไทย มาทดลองปลูก บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้ผลยอดเยี่ยม เป็นที่น่าพอใจ โดยในปัจจุบันภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลายเป็นแหล่งผลิต ข้าวหอมมะลิไทย ที่มีคุณภาพ ดีที่สุดแห่งหนึ่ง

     

     ข้าวหอมมะลิไทย เป็นข้าวที่อุดมด้วยสารอาหารนานาชนิด ไม่ว่าจะเป็นวิตามินบี บี ไนอาซิน คาร์โบไฮเดรต โปรตีน นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุหลายชนิด เช่น เหล็ก แคลเซียม และ ฟอสฟอรัส ปัจจุบัน ประเทศไทยส่งออกข้าวมากที่สุดในโลก โดยมีการส่งออกประมาณ ล้านตันเศษต่อปี โดย ใน ของข้าวที่ส่งออกเป็นข้าวหอมมะลิไทย

    ที่มา 
    http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TVRJMU5EYzBNek14TWc9PQ==&sectionid=Y25Wd1lXbHRiMlJs&day=TWpBd05DMHdOaTB4TUE9PQ==

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×