ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องรอบ ๆ ตัวแบบนี้ "คุณรู้หรือไม่"

    ลำดับตอนที่ #380 : รู้หรือไม่ "เมรุเผาศพ มีที่มาอย่างไร"

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 686
      2
      11 ส.ค. 55



              คำว่า "เมรุ" อ่านว่า เมน หมายถึง ภูเขากลางจักรวาล มียอดเป็นที่ตั้งแห่งเมืองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นที่ประทับของพระอินทร์ เป็นที่มาของการส่งวิญญาณสู่สวรรค์ในพิธีเผาศพ โดยสร้างเมรุมีหลังคาเป็นยอด มีรั้วล้อมรอบด้วย

    สำหรับพระมหากษัตริย์ เรียกว่า พระเมรุมาศ (อ่านว่า เม-รุ-มาศ) พระบรมวงศานุวงศ์ เรียกว่า พระเมรุ ส่วนสามัญชนเรียกว่า เมรุ

    จากหนังสือ "ธรรมเนียมพระบรมศพและพระศพเจ้านาย" สำนักพิมพ์มติชน อธิบายการสร้างเมรุหรือพระเมรุ ว่า เกี่ยวพันถึงคติความเชื่อในสังคมไทย ที่รับอิทธิพลมาจากพุทธศาสนาและพราหมณ์

    ย้อนกลับไปในสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน ผ่านพ้นไป 8 วัน ในครั้งนั้น มัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์ มีพระมหากัสสปเถระ เป็นประธาน พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีย์ ประดิษฐานบนจิตกาธาน คือ เชิงตะกอนที่ทำด้วยไม้แก่นจันทน์สูง 120 ศอก แสดงว่า ในสมัยพุทธกาลยังไม่ได้ทำรูปแบบเมรุแบบในปัจจุบัน

    ทางพุทธศาสนา ยึดถือคติไตรภูมิ กล่าวถึงเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของภูมิทั้งสาม

    ทางศาสนาพราหมณ์ เชื่อถือว่ากษัตริย์เป็นพระศิวะหรือพระนารายณ์แบ่งภาคลงมาบำรุงโลกมนุษย์ เมื่อสิ้นอายุขัย ย่อมกลับคืนสู่สวรรค์

    ความเป็นสมมติเทพของกษัตริย์ การประกอบพิธีถวายพระเพลิง ณ พระเมรุมาศ เป็นการส่งพระศพและดวงวิญญาณเสด็จกลับยังเขาพระสุเมรุ

    หลักฐานการสร้างพระเมรุในไทย มีปรากฏในสมัยกรุงศรีอยุธยา ด้วยพิธีพระบรมศพ ถือเป็นพิธีกรรมที่ยิ่งใหญ่ของบ้านเมือง มีแบบแผนถือปฏิบัติอย่างมีระเบียบ

    การจัดพระราชพิธีถวายพระเพลิงสร้างพระเมรุมาศเพื่อเป็นการถวายพระเกียรติยศที่พระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่ถวายแด่พระมหากษัตริย์ที่สวรรคตล่วงแล้ว พิจารณาพระเดชานุภาพในการสร้างพระเมรุมาศ

    ไกรฤกษ์ นานา เขียนในมติชน ว่า การสร้างพระเมรุน่าจะเริ่มในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ราวพ.ศ.2181 ใช้เผาศพเจ้านายเท่านั้น ส่วนชาวบ้านเผาบนเชิงตะกอนง่ายๆ

    สันนิษฐานว่าการสร้างพระเมรุมาศในยุคกรุงศรีอยุธยา สร้างเลียนแบบนครวัด "วิษณุโลก" ที่จำลองเขาพระสุเมรุ โดยจินตนาการจากภูเขาหิมาลัย

    จากนั้นปรับปรุงแบบแผนจนมีรูปแบบศิลปะไทยในยุคหลังๆ แสดงงานศิลปกรรมแบบอยุธยาอย่างสมบูรณ์

    ในสมัยรัชกาลที่ 5 (ครองราชย์ พ.ศ.2411-2453) โปรดให้สร้างเมรุเผาศพอย่างถาวรด้วยปูนไว้ในวัดเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย (แต่เอกสารบางชิ้นระบุว่า มีเมรุปูน วัดสระเกศฯ ใช้เผาศพตั้งแต่รัชกาลที่ 3)

    สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยึดหลักการสร้างแบบพระเมรุมาศตามตำราโบราณราชประเพณีครั้งกรุงเก่าทุกประการ คือ ทำเป็นพระเมรุอย่างใหญ่ มีตัวพระเมรุ 2 ชั้นต่างไปอยู่ภายในพระเมรุชั้นนอกที่ทำเป็นพระเมรุยอดปรางค์หรือยอดรูปดอกข้าวโพด ส่วนใหญ่เป็นไปตามแบบแผนมีต่างกันไปในรายละเอียดเรื่องการออกแบบตามฝีมือช่าง

    พระเมรุมาศพระบรมศพรัชกาลที่ 4 ถือเป็นพระเมรุมาศสุดท้ายที่ทำตามแบบโบราณราชประเพณี

    สำหรับชาวบ้าน เมรุเผาศพค่อยๆ แพร่ไปอยู่ในวัดสำคัญในกรุงเทพฯ ช่วงปี 2500 ซึ่งหลังจากไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับแรก (พ.ศ.2504-2509) แล้ว ชนชั้นกลางต้องการเผาศพบรรพบุรุษบนเมรุแบบเจ้านายและชนชั้นสูง จึงสร้างเลียนแบบไว้ตามวัดสำคัญ ก่อนกระจายไปยังวัดเล็กวัดน้อยทั่วประเทศ

    ทุกวันนี้ การเผาศพบนเมรุ กลายเป็นสิ่งที่แสดงฐานะและเชิดชูคุณงามความดีของผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

    ที่มา ข่าวสดออนไลน์








    free counters
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×