ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องรอบ ๆ ตัวแบบนี้ "คุณรู้หรือไม่"

    ลำดับตอนที่ #375 : รู้หรือไม่ "น้ำตาเทียมที่เราใช้หยอดตากัน มีส่วนประกอบของอะไรบ้าง"

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 346
      0
      19 มิ.ย. 55

     


              หลายคนได้ดูดอกโศก คงได้เห็นนางเอกร้องไห้น้ำตาคลอเบ้าตลอด ในสมัยเด็กผมมักชื่นชมว่านักแสดงบทเจ้าน้ำตาสามารถสั่งน้ำตาให้ไหลได้ แต่ในเบื้องหลังนางเอกหลายรายกลับต้องใช้ตัวช่วยไม่ว่าจะเป็น พริกไทย หัวหอม หรือแม้กระทั่งน้ำตาเทียม น้ำตาเทียมไม่ได้ใช้เฉพาะการแสดงสำหรับบทนางเอกเจ้าน้ำตาเท่านั้นครับ ในชีวิตจริงน้ำตาเทียมเป็นพระเอกในการรักษาโรคทางตาในหลายๆ โรคเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นภาวะตาที่ใช้คอนแทคเลนส์ กระจกตาอักเสบ แผลถลอกที่กระจกตา และที่สำคัญคือภาวะตาแห้ง

    ภาวะตาแห้งไม่เพียงแต่พบในผู้สูงวัย แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันส่งผลให้เกิดภาวะตาแห้งมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ ไอแพด คอมพิวเตอร์ หรือเล่นเกม นอกจากนี้การนิยมใช้คอนแทคเลนส์ก็มีส่วนให้ตาแห้งเพิ่มมากขึ้นด้วย ภาวะตาแห้งเกิดขึ้นได้หลายกลไก แต่หลักๆ จะเกิดจากการระเหยเร็วเกินไปของน้ำตา และการสร้างน้ำตาได้น้อยลง เพราะด้วยหลายกลไกที่เป็นสาเหตุจึงทำให้มีการผลิตน้ำตาเทียมหลากหลายชนิดเพื่อแก้ไขสาเหตุของตาแห้งนั้นครับ วันนี้เราจะมาคุยเรื่องน้ำตาเทียมกันครับ


              น้ำตาเทียมเป็นสารสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่พยายามเลียนแบบน้ำตาของคนเรา น้ำตาเทียมที่ดีนั้นเมื่อหยอดตาควรจะสบายตา ไม่แสบตา เคลือบกระจกตาได้นาน และสามารถช่วยให้ผิวกระจกตาแข็งแรงขึ้นด้วย  ส่วนประกอบหลักๆ ของน้ำตาเทียมประกอบด้วย 1. Polymer  หรือ Hydrogel เป็นสารที่ช่วยเพิ่มความหนืดในน้ำตาเทียม ความหนืดดังกล่าวช่วยให้เคลือบผิวและให้ความชุ่มชื้นแก่กระจกตาได้นานขึ้น น้ำตาเทียมที่มีความหนืดมากๆ จะมีลักษณะเหมือนเจลลี่เคลือบตาทำให้ตามัวมองไม่ชัดตอนหยอดยาได้ การกะพริบตาถี่ๆ หลังหยอดตาจะช่วยลดการตามัวลงได้ครับ  2. สารกันเสีย ช่วยให้น้ำตาเทียมคงสภาพได้นานและยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนขณะหยอดตา สารกันเสียดังกล่าวช่วยให้ยาหยอดตาอยู่ได้นานถึง 1 เดือนหลังเปิดใช้ ปัจจุบันมีน้ำตาเทียมที่ไม่มีสารกันเสียด้วยครับแต่จะทำให้น้ำตาเทียมหมดอายุเมื่อเปิดใช้เพียง 24 ชั่วโมง  3. บัฟเฟอร์ เป็นส่วนผสมที่ช่วยปรับสมดุลขององค์ประกอบอื่นๆ ในน้ำตาเทียม ช่วยปรับความเป็นกรดด่างให้พอเหมาะ โดยมีค่า pH 7.4  ซึ่งใกล้เคียงกับน้ำตาจริงช่วยให้ไม่ระคายเคืองตาเวลาหยอด  4. ส่วนประกอบอื่นๆ เช่น เกลือแร่บางชนิด ซึ่งช่วยให้มีคุณสมบัติคล้ายกับน้ำตาธรรมชาติมากที่สุด ส่วนประกอบในน้ำตาเทียมแต่ละชนิดก็อาจเติมสารบางอย่างเพื่อแก้ไขสาเหตุของตาแห้งตามกลไกแต่ละกลไกที่แตกต่างกันครับ


    น้ำตาเทียมแบ่งง่ายๆ ได้ 2 ประเภทครับ 1. น้ำตาเทียมชนิดน้ำ จะบรรจุอยู่ในขวด หรือหลอดเล็กๆ เหมาะใช้หยอดตาในเวลากลางวัน เนื่องจากมีความหนืดน้อยและไม่เหนียวเหนอะหนะ จึงไม่ทำให้เกิดตามัวขณะหยอด แต่ข้อเสียคือต้องหยอดบ่อย น้ำตาเทียมชนิดนี้ยังแบ่งได้ 2 ประเภทคือ 1.1 ชนิดที่มีสารกันเสีย มักบรรจุอยู่ในขวด ขนาด 3 - 15CC น้ำตาเทียมชนิดนี้เมื่อเปิดแล้วสามารถอยู่ได้ประมาณ  1 เดือน สารกันเสียที่ใส่ในยาหยอดตาสามารถมีผลต่อผิวกระจกตาได้ถ้าหยอดบ่อยเกินไป ดังนั้นน้ำตาเทียมชนิดนี้จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยที่ต้องหยอดน้ำตาเทียมเกิน 4 ครั้งต่อวัน 1.2 ชนิดที่ไม่มีสารกันเสีย น้ำตาเทียมชนิดนี้จะบรรจุอยู่ในหลอดเล็กๆ ขนาด 0.3-0.9CC. โดยหนึ่งหลอดจะหยอดไม่เกิน 24 ชม.ต้องทิ้งหลอดไป น้ำตาเทียมชนิดนี้ไม่มีสารกันเสียจึงสามารถหยอดตาได้บ่อย แต่มีข้อเสียคือราคาสูง 2 น้ำตาเทียมชนิดเจล หรือขี้ผึ้ง มีลักษณะเหนียวหนืด แต่คงตัวได้นานกว่าชนิดน้ำ จึงทำให้เคลือบผิวกระจกตาได้นานกว่า แต่จะทำให้ตามัวหลังหยอดยาได้ จึงแนะนำให้ใช้เวลาก่อนนอน หรือถ้าใช้ในเวลากลางวันควรกะพริบตาบ่อยๆ หลังหยอด ปัจจุบันน้ำตาเทียมที่มีขายตามท้องตลาดมีหลายชนิด การเลือกใช้น้ำตาเทียมชนิดใดต้องขึ้นกับสาเหตุและกลไกในการเกิดตาแห้งซึ่งจักษุแพทย์จะทำการตรวจและประเมินกลไกเพื่อเลือกน้ำตาเทียมที่เหมาะกับผู้ป่วยนั้นๆ ครับ รู้จักน้ำตาเทียมขนาดนี้แล้ว ถ้าอยากแสดงบทเป็นดอกโศกก็คงไม่ยากแล้วละครับ

    ที่มา http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/28873

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×