ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องรอบ ๆ ตัวแบบนี้ "คุณรู้หรือไม่"

    ลำดับตอนที่ #339 : รู้หรือไม่ "ประชาคมอาเซียน มีที่มาอย่างไร"

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 859
      1
      15 ก.ย. 54

    ประชาคมอาเซียน



     
    วันที่ 8 ส.ค. 2554 กระทรวงการต่างประเทศเพิ่งฉลองวันครบรอบ 44 ปีของการก่อตั้งอาเซียน ซึ่งมีกำเนิดที่ประเทศไทย โดยลงนามใน "ปฏิญญากรุงเทพ" เมื่อวันที่ 8 ส.ค.2510 มีสมาชิก 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมามีประเทศสมาชิกเพิ่มเติมคือ บรูไน เวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา รวมเป็น 10 ประเทศ

    สมาชิกอาเซียนทุกประเทศมีการประดับธงอาเซียนเป็นการถาวรคู่กับธงประจำชาติ หลังจากกฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2551 ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนจะพิจารณาประดับธง อาเซียนเป็นการถาวร ณ ที่ทำการกระทรวงการต่างประเทศของสมาชิกซึ่งเป็นที่ตั้งของกรมอาเซียน ทำหน้าที่สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ ขณะนี้กระทรวงการต่างประเทศของไทยกำลังอยู่ระหว่างติดตั้งเสาธงคู่ภายนอกอาคาร

    สำหรับ "ประชาคมอาเซียน" มีแนวคิดจากเวทีการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 9 ในเดือน ต.ค.2546 ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นำอาเซียนลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord) เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี 2563 ต่อมาในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 12 ในเดือนม.ค.2550 ที่เซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้นำอาเซียนตกลงให้จัดตั้งประชาคมให้แล้วเสร็จเร็วขึ้นเป็นภายในปี 2558

    ประชาคมอาเซียน แบ่งเป็น 3 เสาหลัก ได้แก่ 1.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ 3.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน โดยยึดแนวทาง "หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม"

    เสาหลักที่ 1 ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน สมาชิกทุกประเทศจะบูรณาการด้านการศึกษา สร้างสังคมความรู้ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม ส่งเสริมเทคโนโลยีและสารสนเทศ ขจัดความยากจน สร้างเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม

    ส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร การควบคุมโรคติดต่อ คุ้มครองสิทธิผู้ด้อยโอกาส แรงงานย้ายถิ่นฐาน ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ การจัดการ ปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก ปัญหามลพิษทาง สิ่งแวดล้อมข้ามแดน การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ อนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน ส่งเสริมการสร้างสรรค์ด้าน วัฒนธรรม ลดช่องว่างการพัฒนา

    เสาหลักที่ 2 ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน พุ่งเป้าไปที่การเคลื่อนย้ายสินค้า การบริการ การลงทุน เงินทุน และแลกเปลี่ยนแรงงานมีฝีมือ พร้อมๆ กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และพลังงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการขยายตัวของเอสเอ็มอี ประกอบกับให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกใหม่ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนามเพื่อลดช่องว่างของระดับการพัฒนา รวมทั้งเดินหน้าทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีเอฟทีเอกับคู่เจรจา

    เสาหลักที่ 3 ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน แต่ละประเทศจะส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับระบอบการเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของสมาชิกอื่นๆ ส่งเสริมธรรมาภิบาล ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ป้องกันและปราบปรามการทุจริต เพื่อให้เป็นภูมิภาคที่มีเอกภาพ สงบสุข และแข็งแกร่ง

    ที่มา ข่าวสดออนไลน์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×