ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องรอบ ๆ ตัวแบบนี้ "คุณรู้หรือไม่"

    ลำดับตอนที่ #322 : รู้หรือไม่ "ทารกแรกเกิดชอบมองอะไรมากที่สุด"

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 942
      1
      27 พ.ค. 54

     


     เคยสงสัยไหมคะว่าเด็กทารกแรกเกิดเขาสามารถมองเห็นได้ไกลแค่ไหน และเด็กทารกชอบมองอะไรเป็นพิเศษ วันนี้เรามีผลการวิจัยที่จะบอกได้ว่า เด็กทารกแรกเกิดนั้นสามารถมองเห็นได้แค่ไหน และพวกเขาชอบมองอะไรค่ะ

               หลังจากที่ทารกได้คลอดออกมาแล้ว โดยปกติเด็กทารกจะสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ในระยะ 1 ฟุต และสามารถจ้องมองสิ่งต่างๆ ค้างได้นานประมาณ 4-10 วินาที แต่การพัฒนาของการมองเห็นของลูกนั้นจะสามารถลำดับขั้นได้ดังนี้

               ทารกแรกเกิดสามารถจดจำหน้าพ่อแม่ได้ภายใน 4 วันหลังคลอด พออายุ 1 เดือน เด็กทารกจะสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ ได้ในระยะ 15 นิ้ว และมือเริ่มจะขยับเอื้อมไปสัมผัสกับวัตถุที่มองเห็น เมื่อทารกอายุ 3 เดือนเริ่มแยกแยะระยะใกล้ไกลได้และจะสามารถปรับการมองเห็นได้อย่างสมบูรณ์เมื่ออายุ 4 เดือน

    คำถามยอดฮิต – เด็กทารกชอบมองอะไรมากที่สุด

               มีผลการวิจัยจาก Dr. Robert Fantz นักวิจัยด้านพฤติกรรมทารก ท่านได้ศึกษาเรื่องเด็กทารกชอบมองอะไรและได้ทดสอบจนได้ผลที่น่าสนใจดังนี้

    1.เด็กทารกชอบมองใบหน้าของพ่อแม่ที่แสดงออกถึงความรัก ความอ่อนโยน เพราะเวลาที่เด็กทารกมองนั้น เด็กจะมองจ้องที่ดวงตาของพ่อและแม่ เพราะรอยยิ้มและแววตาที่อ่อนโยนของพ่อแม่นั้นสร้างความอบอุ่นใจให้กับทารก
    2.เด็กทารกชอบมองวัตถุที่เคลื่อนไหวมากกว่าวัตถุที่อยู่นิ่งๆ
    3.เด็กทารกชอบมองวัตถุที่มีสีตัดกันชัดเจน เช่น สีดำตัดกับสีขาว
    4.เด็กทารกชอบมองวัตถุ 3 มิติมากกว่า 2 มิติ
    เราจะส่งเสริมพัฒนาระบบการมองเห็นของลูกได้อย่างไร

    เทคนิคง่ายๆ ที่พ่อแม่สามารถช่วยส่งเสริมพัฒนาการของลูกได้มีดังนี้ค่ะ
    1.พยายามมองที่หน้าลูกบ่อยๆ เพราะดวงตาของคนจะมีขนาดกลมและมีการตัดกันที่ชัดเจนระหว่างตาขาวและตาดำ และที่สำคัญคือดวงตาสามารถกลอกไปมาได้
    2.เปลี่ยนตำแหน่งที่ลูกนอนบ้าง เพื่อให้ทารกได้เห็นสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง
    3.หาภาพใบหน้าพ่อแม่มาวางไว้ใกล้ๆ ที่นอนของลูก เพื่อให้ลูกได้เห็นและจดจำหน้าได้เร็วขึ้น
    4.แขวนวัตถุประเภท 3 มิติ เช่น โมบายไม้ นกกระดาษ ฯลฯ ในจุดที่เด็กทารกสามารถมองเห็นและเอื้อมมือหยิบได้
    5.พยายามเล่นกับลูกบ่อยๆ อาจจะให้ลูกมองตัวเองในกระจกพร้อมกับพูดคุยกับลูกไปด้วย

    ที่มา
    http://new.goosiam.com/variety/html/0023575.html

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×