ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องรอบ ๆ ตัวแบบนี้ "คุณรู้หรือไม่"

    ลำดับตอนที่ #160 : รู้หรือไม่ "ทำไม่คนจึงเรียกสะพานกรุงธนว่า สะพานซังฮี้"

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 612
      2
      1 มิ.ย. 52



          ชื่อ ซังฮี้ เกี่ยวพันกับเครื่องกิมตึ้ง ซึ่งเป็นชื่อเครื่องถ้วยชามจากเมืองจีน มีลวดลายต่าง ๆ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นิยมสั่งมาจากเมืองจีนเพื่อใช้และสะสมเป็นของมีค่า  และเมื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระ

         ราชวังดุสิตขึ้นนั้น  ได้พระราชทานนามตำหนัก  ถนน  สะพานและคลองต่าง  ๆ  ภายในพระราชวังดุสิต เป็นชื่อเครื่องกิมตึ้งทั้งสิ้น เช่น ชื่อถนนด้านหลังพระราชวัง พระราชทานนามว่า ซังฮี้อันเป็นคำมงคลของจีน  มีความหมายว่า  “ยินดีอย่างยิ่ง”

         ถนนซังฮี้เมื่อแรกสร้างมีระยะทางจากแม่น้ำเจ้าพระยาไปสุดบริเวณด้านหลังพระราชวังดุสิต และได้ขยายต่อมาในภายหลัง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามสถานที่หลายแห่งนั้น ถนนซังฮี้ก็เป็นถนนหนึ่งที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น  “ถนนราชวิถี"

         เมื่อมีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาแห่งใหม่ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ขณะทำการสร้าง ประชาชนทั่วไปยังไม่ทราบนามสะพานอย่างเป็นทางการ จึงเรียกชื่อสะพานว่าสะพานซังฮี้ เพราะสะพานนี้เริ่มต้นปลายถนนซังฮี้ทางด้านฝั่งพระนคร  ต่อมาเมื่อสร้างเสร็จแล้วรัฐบาลได้ตั้งชื่อสะพานว่า "สะพานกรุงธน"

         สะพานกรุงธนสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗ โดยบริษัท ฟูจิคาร์แมนูแฟ็กเจอริง จำกัด แห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมี บริษัท สหวิศวการโยธา จำกัด เป็นผู้แทนในประเทศไทย ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๙๘ สะพานกรุงธนประกอบด้วยโครงสะพานเหล็กยาว ๖ ช่วง เชิงสะพานสองฝั่งเป็นคอนกรีต  มีทางเท้าทั้งสองข้าง  ช่วงลอดกลางสะพานสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางประมาณ ๗.๕๐ เมตร เป็นสะพานเปิดไม่ได้ สร้างเสร็จและเปิดการจราจรเมื่อวันที่ ๗ มีนาคม ๒๕๐๑  สิ้นค่าก่อสร้างเป็นเงิน ๒๔,๘๓๗,๕๐๐ บาท

    “ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี”

    ภาพประกอบจาก http://www.pantown.com/data/10219/album15/full/2006-05-11-234918.jpg


    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×