ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องรอบ ๆ ตัวแบบนี้ "คุณรู้หรือไม่"

    ลำดับตอนที่ #102 : รู้หรือไม่ "ทำไมบริษัทห้างร้านบางแห่งจึงมีรูปครุฑอยู่ที่หน้าอาคาร"

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 3.1K
      1
      13 ก.พ. 55



             วิศนุ ทรัพย์สุวรรณ เล่าไว้ใน ต่วย'ตูนพิเศษ ฉบับเดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่า

    ประเทศไทยนำครุฑมาใช้เป็นตราประจำแผ่นดินหรือพระราชลัญจกรมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา นอกจากครุฑจะปรากฏอยู่ตามสถานที่ราชการ เอกสารราชการ ธนบัตร แล้วที่อาคารบริษัทห้างร้านใหญ่ ๆ บางแห่งก็มีรูปครุฑและข้อความว่าโดยได้รับพระบรมราชานุญาตประดับอยู่ เรียกกันว่า  “พระครุฑพ่าห์หรือเครื่องหมายตราตั้ง ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงเกียรติภูมิอันสูงสุดที่น้อยรายจะได้รับ

    การขอพระราชทานตราตั้งนี้เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕  ซึ่งในสมัยนั้นใช้ตราแผ่นดินชนิดที่เป็นตราอาร์มหรือตรารูปโล่แต่ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๖ พระองค์ทรงเปลี่ยนมาใช้ตราครุฑแทน  เครื่องหมายตราตั้งในยุคนั้นจึงแปรเปลี่ยนเป็นรูปครุฑด้วยเช่นกัน

    สำหรับระเบียบการขอพระราชทานตราตั้งนี้  มีประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๖ ปี พ.ศ. ๒๔๘๒ โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม  นายกรัฐมนตรี  ซึ่งระบุว่า

    ผู้ที่จะได้รับพระราชทานตราตั้งนั้น จะต้องอยู่ในฐานะนิติบุคคล หรือได้จดทะเบียนแล้วโดยชอบด้วยกฎหมาย มีฐานะการเงินดี  เป็นที่น่าเชื่อถือแก่มหาชนมาช้านาน ประกอบการค้าขายโดยสุจริต ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรม  ไม่มีหนี้สินรุงรัง  นอกจากนี้ยังต้องเคยติดต่อกับกรมกองต่าง ๆ ในราชสำนักมาก่อน"

    เมื่อทำเรื่องขอพระราชทานแล้ว ก็สุดแล้วแต่จะมีพระราชดำริเช่นไร หากได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ออกหนังสือตราตั้งให้

    จนถึงวันนี้  (ข้อมูลปี พ.ศ.  ๒๕๔๑) มีบริษัทห้างร้านเอกชนที่ได้รับพระราชทานตราตั้งแล้วทั้งสิ้น ๖๔  แห่ง 


    ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี 
    ภาพประกอบจาก http://www.riminitouring.com/public/wp-content/uploads/2007/10/garuda.png





    free counters
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×