ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องรอบ ๆ ตัวแบบนี้ "คุณรู้หรือไม่"

    ลำดับตอนที่ #9 : รู้หรือไม่ "ปากกาลูกลื่นมีที่มาอย่างไร"

    • อัปเดตล่าสุด 19 ส.ค. 51


                   คนที่น่าขอบคุณคนนั้นชื่อ ลาซาโล บิโร (Lasalo Biro) ชาวฮังกาเรียน  เขาประดิษฐ์ปากกาลูกลื่นด้ามแรกเมื่อปี ค.ศ. ๑๙๓๘  ในขณะนั้นเขาทำหน้าที่บรรณาธิการให้แก่นิตยสารเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอยู่ที่กรุงบูดาเปสต์ ในระหว่างไปเยี่ยมชมโรงพิมพ์ที่พิมพ์นิตยสารเล่มนี้ บิโรเกิดประทับใจข้อดีของหมึกชนิดแห้งเร็วที่ใช้กับปากกา จึงคิดประดิษฐ์ลูกโลหะกลม   สำหรับใส่ในหัวปากกาขึ้น  หลังจากนั้นไม่นานบิโรก็หนีออกจากฮังการีไปยังปารีสเพราะกลัวการคุกคามของนาซี  จากปารีสเขาไปอาร์เจนติน่าในปี ค.ศ. ๑๙๔๐ ที่นี่เป็นที่ที่เขาสานต่อความคิดที่จะทำปากกาที่หมึกไม่ไหลเยิ้มและได้จดทะเบียนปากกาของเขา  เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๑๙๔๓ ขณะเดียวกันนั้นเขาก็ได้พบกับนักเดินทางชาวอังกฤษคนหนึ่ง ชื่อ เฮนรี่ มาร์ติน (Henri  Martin)  ซึ่งมาบัวโนส  ไอเรส  ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลอังกฤษมาร์ตินประทับใจกับสิ่งประดิษฐ์ที่เขาเห็นว่าเป็นคำตอบของปัญหาที่เจ้าหน้าที่บนเครื่องบินประสบเมื่อต้องการคำนวณหาทิศทางขณะอยู่ที่สูงจากระดับน้ำทะเล  เขาพบว่าปากกาลูกลื่นของบิโรนั้นจะไม่ถูกกระทบกระเทือนจากการเปลี่ยนแปลงของความกดอากาศหรือบรรยากาศ ดังนั้นเขาจึงได้รับสิทธิการผลิตจากอังกฤษ และในปี ค.ศ. ๑๙๔๔ ได้เริ่มผลิตปากกาลูกลื่นให้แก่ AAF โดยผลิตที่โรงเก็บเครื่องบินที่ไม่ใช้แล้วใกล้กับรีดดิ้ง (Reading) ในปีแรกมีคนงานหญิง ๑๗ คน ผลิตปากกาได้ถึง ๓๐,๐๐๐ ด้าม

              ปากกาลูกลื่นที่ผลิตขึ้นเพื่อการค้าขายทั่วไปเป็นครั้งแรก ผลิตภายใต้สิทธิบัตรของบิโร  โดยบริษัทอีเตอร์เพ็น ของบัวโนสไอเรสเมื่อต้นปี ค.ศ. ๑๙๔๕ บิโรสะเพร่าที่ไม่ได้จดทะเบียนปาวกาของเขาในสหรัฐอเมริกา จึงมีนักธุรกิจอเมริกันคนหนึ่งฉวยโอกาสจดทะเบียนเสียก่อน

              คำโฆษณาของเขาในอเมริกาที่ว่า "ปากกาด้ามแรกที่เขียนใต้น้ำได้ได้รับการตอบสนองทันทีเมื่อมีการนำปากกาออกขายในราคาด้ามละ ๑๒.๕๐ ดอลล่าร์สหรัฐ ที่กิมเบิลส์ นิวยอร์ก (Gim bel's of NeW York) เมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม ๑๙๕๔ มีรายงานว่าขายปากกาได้เกือบ ๑๐,๐๐๐ ด้ามก่อนเวลาปิดจำหน่าย

    ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี” 

    Credit  สนุกดอทคอม   ภาพประกอบจากอินเทอร์เนท

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×