ลำดับตอนที่ #4
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : วิกฤต"โลกร้อน"ตัวเร่ง ซากุระ-พันธุ์ไม้บานเร็วเกิน!
วิกฤต"โลกร้อน"ตัวเร่ง ซากุระ-พันธุ์ไม้บานเร็วเกิน!
ห้วงเวลาแถวๆ ปลายมีนาคมเรื่อยไปตลอดเดือนเมษายน
ชาวญี่ปุ่นทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา ต่างมีความสุขกับ "เทศกาลฮานามิ" หรือเทศกาลชม "ดอกซากุระ" ที่บานสะพรั่งเป็นสีชมพูสวยสด
ขณะเดียวกัน ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางไปเยี่ยมเยือนญี่ปุ่นในช่วงนี้เพื่อชมความงามของซากุระ ก็พุ่งสูงขึ้นเป็นประจำทุกปีเช่นกัน
การชมซากุระเป็นงานใหญ่ของญี่ปุ่น
ทุกๆ ปีจะมีบุคคลระดับผู้นำประเทศร่วมพิธีเปิดเทศกาล
ในปีนี้นายกรัฐมนตรี ยาสุโอะ ฟุคุดะ และคณะรัฐบาลเดินหน้าใช้กลยุทธ์ระดมดารานักแสดง แขก เหรื่อผู้มีเกียรตินับหมื่นคนมาร่วมงาน และฉวยโอกาสปราศรัยขอคะแนนสงสารจากประชาชน เพราะตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา คะแนนนิยมรัฐบาลฟุคุดะลดลงอย่างต่อเนื่อง
"ญี่ปุ่นกำลังประสบกับปัญหามากมายหลายประการ แต่ผมขออาสาแก้ไขให้ลุล่วง เพื่อทำให้ญี่ปุ่นรุ่งโรจน์ผลิบานเหมือนกับซากุระในสวนแห่งนี้"
นายฟุคุดะ ลั่นสัญญาประชาคมโดยมีฉากหลังเป็นภาพซากุระผลิบานเต็มต้น
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความตื่นเต้นตื่นตาตื่นใจกับภาพอันงดงามของดอกซากุระ
สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ก็ออกมาให้ข้อมูลที่น่าวิตกว่า จากการศึกษาข้อมูลโดยเจ้าหน้าที่ศูนย์สังเกตการณ์ด้านอุตุ นิยมวิทยาและสถานีตรวจอากาศทั่วประ เทศ ระหว่างปีพ.ศ.2496-2547 พบว่า สภาวะบรรยากาศโลกเปลี่ยน แปลง หรือที่เราคุ้นหูกันดีในชื่อ "วิกฤตโลกร้อน" นั้น ได้ส่งผลกระทบต่อวงจรของต้นซากุระ รวมถึงดอกไม้-ต้นไม้อีกหลายชนิดที่มีสีสันดึงดูดตานักท่องเที่ยว
อาทิ คามิลเลีย แป๊ะก๊วย แดนดิไลออน และต้นโนดะฟูจิ
โดยอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ซากุระและดอกไม้หลายชนิดดังกล่าวในยุคปัจจุบันบานเร็วกว่าในอดีตโดยเฉลี่ย 4.2 วัน เมื่อเทียบกับ 50 ปีก่อน!
สําหรับดอกซากุระ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ระบุว่า ภาวะโลกร้อนส่งผลให้ซากุระในเขตเมืองใหญ่ เช่น กรุงโตเกียวและนครนาโงย่า ออกดอกผลิบานเร็วกว่าเดิมราวๆ 6.1 วัน
สาเหตุเพราะพื้นที่เขตเมืองกับเขตอุตสาหกรรมจะมีความร้อนสะสมอยู่สูงกว่าเขตชนบท หรือเมืองขนาดเล็ก
ส่วนในเมืองขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น ยามากาตะ และมิโตะ ซากุระจะบานเร็วกว่าที่เคยเป็นมา 2.1 วัน
นอกจากนั้น ต้นไม้ดอกไม้พันธุ์อื่นๆ ทั่วแดนปลาดิบ ก็มีแนวโน้มบานเร็วกว่าเมื่อหลายสิบปีก่อนเช่นเดียวกัน
อาทิ แดนดิไลออนบานเร็วโดยเฉลี่ย 6 วัน
ต้นโนดะฟูจิ 3.6 วัน
และต้นแป๊ะก๊วยจะเริ่มแตกใบเร็วขึ้น 3.2 วัน
ทั้งหมดนี้ทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นสัญญาณจากธรรมชาติทางลบทั้งสิ้น
ปรากฏการณ์โลกร้อนยังทำให้ "ฤดูใบไม้ร่วง" ของญี่ปุ่นมาถึงช้ากว่าในอดีต เมื่อเป็นเช่นนั้น ระยะเวลาที่ใบไม้จะเปลี่ยนสี ร่วงหล่นปลิดปลิวจากต้นลงสู่ดิน จึงช้าตามไปด้วย
จากการศึกษาพบว่า ใบของต้นแป๊ะก๊วยจะเปลี่ยนสีช้ากว่า 50 ปีก่อน ประมาณ 10.7 วัน
ขณะที่ใบต้นเมเปิ้ลเปลี่ยนสีช้าลง 9.1 วัน
เมื่อประมวลข้อมูลผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อทั้งฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วงในญี่ปุ่นจะเห็นว่า
เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา
จากการคำนวณยังพบอีกว่า ทุกๆ 100 ปี อุณหภูมิญี่ปุ่นจะขยับสูงขึ้น 1.1 องศาเซลเซียส
"ถึงเวลาแล้วที่ทั้งญี่ปุ่นและชาติต่างๆ ทั่วโลกจำเป็นต้องร่วมกันกำหนดมาตรการเพื่อบรรเทาและป้องกันภาวะโลกร้อนก่อนที่ทุกอย่างจะสายไป"
คือประโยคที่โฆษกสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นต้องการพูดดังๆ ให้รัฐบาลของตนเองและชาวโลกได้ยินพร้อมเพรียงกัน
แต่ได้ยินแล้ว จะมีใครคิดลุกขึ้นมาทำอะไรให้โลกของเราดีขึ้นหรือไม่
บางทีอาจเป็นสิ่งที่คงต้องรอดูกันต่อไปอีกนาน!?!
ที่มา หนังสือพิมพ์ข่าวสด
ชาวญี่ปุ่นทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ คนชรา ต่างมีความสุขกับ "เทศกาลฮานามิ" หรือเทศกาลชม "ดอกซากุระ" ที่บานสะพรั่งเป็นสีชมพูสวยสด
ขณะเดียวกัน ตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางไปเยี่ยมเยือนญี่ปุ่นในช่วงนี้เพื่อชมความงามของซากุระ ก็พุ่งสูงขึ้นเป็นประจำทุกปีเช่นกัน
การชมซากุระเป็นงานใหญ่ของญี่ปุ่น
ทุกๆ ปีจะมีบุคคลระดับผู้นำประเทศร่วมพิธีเปิดเทศกาล
ในปีนี้นายกรัฐมนตรี ยาสุโอะ ฟุคุดะ และคณะรัฐบาลเดินหน้าใช้กลยุทธ์ระดมดารานักแสดง แขก เหรื่อผู้มีเกียรตินับหมื่นคนมาร่วมงาน และฉวยโอกาสปราศรัยขอคะแนนสงสารจากประชาชน เพราะตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา คะแนนนิยมรัฐบาลฟุคุดะลดลงอย่างต่อเนื่อง
"ญี่ปุ่นกำลังประสบกับปัญหามากมายหลายประการ แต่ผมขออาสาแก้ไขให้ลุล่วง เพื่อทำให้ญี่ปุ่นรุ่งโรจน์ผลิบานเหมือนกับซากุระในสวนแห่งนี้"
นายฟุคุดะ ลั่นสัญญาประชาคมโดยมีฉากหลังเป็นภาพซากุระผลิบานเต็มต้น
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางความตื่นเต้นตื่นตาตื่นใจกับภาพอันงดงามของดอกซากุระ
สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ก็ออกมาให้ข้อมูลที่น่าวิตกว่า จากการศึกษาข้อมูลโดยเจ้าหน้าที่ศูนย์สังเกตการณ์ด้านอุตุ นิยมวิทยาและสถานีตรวจอากาศทั่วประ เทศ ระหว่างปีพ.ศ.2496-2547 พบว่า สภาวะบรรยากาศโลกเปลี่ยน แปลง หรือที่เราคุ้นหูกันดีในชื่อ "วิกฤตโลกร้อน" นั้น ได้ส่งผลกระทบต่อวงจรของต้นซากุระ รวมถึงดอกไม้-ต้นไม้อีกหลายชนิดที่มีสีสันดึงดูดตานักท่องเที่ยว
อาทิ คามิลเลีย แป๊ะก๊วย แดนดิไลออน และต้นโนดะฟูจิ
โดยอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ซากุระและดอกไม้หลายชนิดดังกล่าวในยุคปัจจุบันบานเร็วกว่าในอดีตโดยเฉลี่ย 4.2 วัน เมื่อเทียบกับ 50 ปีก่อน!
สําหรับดอกซากุระ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น ระบุว่า ภาวะโลกร้อนส่งผลให้ซากุระในเขตเมืองใหญ่ เช่น กรุงโตเกียวและนครนาโงย่า ออกดอกผลิบานเร็วกว่าเดิมราวๆ 6.1 วัน
สาเหตุเพราะพื้นที่เขตเมืองกับเขตอุตสาหกรรมจะมีความร้อนสะสมอยู่สูงกว่าเขตชนบท หรือเมืองขนาดเล็ก
ส่วนในเมืองขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น ยามากาตะ และมิโตะ ซากุระจะบานเร็วกว่าที่เคยเป็นมา 2.1 วัน
นอกจากนั้น ต้นไม้ดอกไม้พันธุ์อื่นๆ ทั่วแดนปลาดิบ ก็มีแนวโน้มบานเร็วกว่าเมื่อหลายสิบปีก่อนเช่นเดียวกัน
อาทิ แดนดิไลออนบานเร็วโดยเฉลี่ย 6 วัน
ต้นโนดะฟูจิ 3.6 วัน
และต้นแป๊ะก๊วยจะเริ่มแตกใบเร็วขึ้น 3.2 วัน
ทั้งหมดนี้ทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นสัญญาณจากธรรมชาติทางลบทั้งสิ้น
ปรากฏการณ์โลกร้อนยังทำให้ "ฤดูใบไม้ร่วง" ของญี่ปุ่นมาถึงช้ากว่าในอดีต เมื่อเป็นเช่นนั้น ระยะเวลาที่ใบไม้จะเปลี่ยนสี ร่วงหล่นปลิดปลิวจากต้นลงสู่ดิน จึงช้าตามไปด้วย
จากการศึกษาพบว่า ใบของต้นแป๊ะก๊วยจะเปลี่ยนสีช้ากว่า 50 ปีก่อน ประมาณ 10.7 วัน
ขณะที่ใบต้นเมเปิ้ลเปลี่ยนสีช้าลง 9.1 วัน
เมื่อประมวลข้อมูลผลกระทบจากภาวะโลกร้อนที่มีต่อทั้งฤดูใบไม้ผลิและใบไม้ร่วงในญี่ปุ่นจะเห็นว่า
เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา
จากการคำนวณยังพบอีกว่า ทุกๆ 100 ปี อุณหภูมิญี่ปุ่นจะขยับสูงขึ้น 1.1 องศาเซลเซียส
"ถึงเวลาแล้วที่ทั้งญี่ปุ่นและชาติต่างๆ ทั่วโลกจำเป็นต้องร่วมกันกำหนดมาตรการเพื่อบรรเทาและป้องกันภาวะโลกร้อนก่อนที่ทุกอย่างจะสายไป"
คือประโยคที่โฆษกสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นต้องการพูดดังๆ ให้รัฐบาลของตนเองและชาวโลกได้ยินพร้อมเพรียงกัน
แต่ได้ยินแล้ว จะมีใครคิดลุกขึ้นมาทำอะไรให้โลกของเราดีขึ้นหรือไม่
บางทีอาจเป็นสิ่งที่คงต้องรอดูกันต่อไปอีกนาน!?!
ที่มา หนังสือพิมพ์ข่าวสด
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น