ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เรื่องรอบ ๆ ตัวแบบนี้ "คุณรู้หรือไม่"

    ลำดับตอนที่ #20 : รู้หรือไม่ "ทำไมการชูนิ้วกลางเป็นสัญญลักษณ์ของการด่า"

    • อัปเดตล่าสุด 15 พ.ย. 53


           นิ้วกลางเป็นสัญลักษณ์ขององคชาตมานานแล้วในวัฒนธรรมของยุโรป ซึ่งอาจเป็นเพราะความที่เป็นนิ้วที่ยาวที่สุด อย่างไรก็ตาม แม้จะเกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศ แต่คำด่านี้บ่งบอกถึงการก้าวร้าวมากกว่าจะหมายถึงเรื่องเพศ
           
           การชูนิ้วกลางเป็นสัญลักษณ์ของการด่าแทนคำพูดที่ถือว่าหยาบคายมากที่สุดของฝรั่ง และรู้จักทำกันไปทั่วโลก หากใครโดนเข้าก็หมายถึงว่าถูกผรุสวาท (แบบเงียบๆ) ว่า "Fuck you" ซึ่งเป็นคำด่าหยาบโลนของฝรั่ง ทั้งนี้ เพราะทราบกันดีว่านิ้วกลางนั้นเป็นสัญลักษณ์หมายถึงองคชาตนั่นเอง
           
           สำหรับที่มาของกิริยาด่าแทนคำพูดนี้มีการคาดการณ์ไปในหลายทาง โดยอาจจะมีต้นกำเนิดย้อนไปถึง 2,500 ปีเลยทีเดียว เมื่อมีการอ้างถึง "การชูนิ้วกลาง" เป็นครั้งแรกในบทละครคอมเมอดีของกรีกโบราณเรื่อง "The Cloulds ของอริสโตฟาเนส เมื่อ 423 ปีก่อนคริสตศักราช ขณะที่ชาวโรมันยังตั้งชื่อพิเศษสำหรับนิ้วกลางไว้ด้วย โดยพวกเขาเรียกมันว่า "ดิจิตุส อินฟามุส" ซึ่งมีความหมายในทำนองว่า เป็นนิ้วทุเรศ หรือนิ้วทะลึ่ง
           
         
      นอกจากนี้ ชาวโรมันยังคงเห็นภาพองคชาติเป็นเสมือนเครื่องรางต่อสู้กับคำสาปชั่วร้าย ดังนั้น การชู้นิวกลางให้คนอื่นจึงอาจจะไม่ใช่คำด่าในเชิงหยาบโลน แต่น่าจะเป็นการกล่าวข่มขวัญมากกว่าว่า " ฉันจะป้องกันตัวเองจากมนต์ดำของแก ก่อนที่แกจะได้เริ่มใช้มันซะอีก" กระนั้นก็ตาม ยังที่มาของการด่าด้วยการชูนิ้วกลางอีกด้วยว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องที่ชาวนาโบราณจะใช้นิ้วกลางทดสอบแม่ไก่ว่ากำลังออกไข่หรือไม่
           
           การแสดงอาการดังกล่าว ยังคงแตกต่างกันในแต่ละประเทศ เช่น ในอังกฤษ อาจจะชูนิ้วกลางขึ้นโดดๆ หรือชูพร้อมกับนิ้วชี้และหันอุ้งมือเข้าข้างในการสื่อความหมายดังกล่าว และในการพิจารณาคดีหนึ่งเมื่อไม่นานมานี้ในแดนปลาดิบ ศาลขอญี่ปุ่นยังได้ตัดสินว่า การแสดงสัญลักษณ์โดยการชูด้านหลังของนิ้วกลางของมือข้างขวาแล้วหันลงถือว่าเป็นการกระทำหมิ่นประมาท หรือการยั่วยุ แม้ว่ามันจะเป็นสัญลักษณ์ไม่สามัญเท่ากับในสหรัฐฯก็ตาม"

    ที่มา หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ




    free counters
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×