ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ล้ำโลกโลกาภิวัฒน์

    ลำดับตอนที่ #88 : "ผ้าคลุมล่องหน"คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จับแสงสะท้อน-หลอกตามนุษย์

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 538
      0
      29 มี.ค. 54

     


              นับตั้งแต่การพัฒนา "ผ้าคลุมหายตัว" ได้จนใกล้เคียงแบบที่พ่อมดน้อยแฮร์รี่ พอตเตอร์ ใช้ในภาพยนตร์สำเร็จ เทคโนโลยีดังกล่าวเป็นที่กล่าวขานและถูกกำหนดให้เป็นหนึ่งในการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ ที่สุดแห่งทศวรรษโดยสมาคม ฟิสิกส์อเมริกัน (เอพีเอส) ล่าสุด เทคโนโลยีผ้าคลุมล่องหนก้าวหน้าไปอีกขั้นด้วยการสังเคราะห์วัสดุพิเศษใช้ร่วมกับปรากฏการณ์เรโซแนนซ์แม่เหล็ก หรือการสั่นสะเทือนด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถจับแสงที่สะท้อนเข้าตามนุษย์ไว้รอบวัตถุดังกล่าว ส่งผลให้วัตถุนั้นไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า

    อุปกรณ์ผ้าคลุมล่องหนดังกล่าวคิดค้นและพัฒนาโดยคณะนักวิจัย นำโดยรองศาสตราจารย์ เอลีน่า ชมูชกีน่า คณะวิศว กรรมศาสตร์ ภาควิชาไฟฟ้า และคอมพิวเตอร์ แห่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมิชิแกน และมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ของสหรัฐ ระบุว่า อุปกรณ์นี้ทำจากแก้วชนิดพิเศษ รวมถึงสารประกอบสังเคราะห์คัลโกจิไนด์ ซึ่งมีคุณสมบัติสังเคราะห์ ไม่มีเกิดขึ้นตามธรรมชาติ เรียกว่า "อภิวัสดุ" อันเป็นหัวใจหลักของเทคโนโลยีหายตัวของทุกค่าย โดยในส่วนคณะวิจัยของ รศ.ชมูชกีน่า นับเป็นครั้งแรกที่สามารถทำให้วัตถุคัลโกจิไนด์ที่มีลักษณะทรงลูกบาศก์หายไปได้

    ขณะนี้ รศ.ชมูชกีน่า กำลังทดลองใช้เรโซแนนซ์แม่เหล็กที่ความถี่คลื่นไมโครเวฟ โดยเปลี่ยนวัสดุจากแก้วเป็นเซรามิก และวางซ้อนด้วยแท่งคาร์บอนสีเทาดำ ซึ่งมีคุณสมบัติดูดกลืนแสงเป็นเยี่ยม จากนั้นจึงสร้างเรโซแนนซ์ที่ความถี่คลื่นไมโครเวฟขึ้นด้วยเสาสัญญาณที่วัตถุเซรามิกดังกล่าว แทนที่จากเดิมจะใช้แสงอินฟราเรดซึ่งมีความยาวคลื่นสั้นกว่าของไมโครเวฟหลายเซนติเมตร ผลที่ได้คือบางส่วนของกระป๋องโลหะที่วางอยู่ด้านหลังเซรามิกดังกล่าวหายไปกว้างราว 2-3 นิ้ว สูงราว 3-4 นิ้ว

    "วันหนึ่งหน่วยจู่โจมอาจนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้ หรือถึงขั้นกองทัพอาจจะมีรถถังหายตัวได้อย่างในเกมและภาพยนตร์ ในทางทฤษฎีนั้นเป็นไปได้ แต่ในทางปฏิบัตินั้นยังอีกยาว" รศ.ชมูชกีน่า กล่าว


    ที่มา ข่าวสดออนไลน์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×