ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ล้ำโลกโลกาภิวัฒน์

    ลำดับตอนที่ #29 : เทคโนโลยี"เออาร์" ผู้ช่วย"ขับรถ"คนใหม่

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 336
      0
      4 พ.ย. 53

    เทคโนโลยี"เออาร์" ผู้ช่วย"ขับรถ"คนใหม่


     
    หน้า "หลาก & หลาย" เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาเพิ่งให้ข้อมูล วิวัฒนาการการพัฒนารถยนต์รุ่นใหม่ๆ ในอนาคต ว่า

    ในกลุ่มของ "รถคนเมือง" หรือ "ซิตี้คาร์" มีแนวโน้มมุ่งไปที่การคิดค้นรถยนต์เสียบปลั๊ก ซึ่งใช้พลังงานไฟฟ้าแทนน้ำมัน

    ข้อเด่นของรถประเภทนี้ก็คือ ปล่อยมลภาวะน้อย และไม่ต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลยุคเก่า

    ล่าสุด ข่าวจากหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ สหรัฐอเมริกา รายงานว่า

    ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่แห่งหนึ่งในสหรัฐ กำลังจับมือกับสองสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ ทั้ง ม.คาร์เนกีเมลลอน และ ม.เซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย
     


    ร่วมมือกันพัฒนาระบบ "Augmented Reality" (AR-เออาร์) ซึ่งจะช่วยให้เราขับรถยนต์ได้อย่างปลอดภัยมากยิ่งขึ้น!

    สำหรับแนวคิด "เออาร์" นั้นพูดสั้นๆ รวบรวม หมายถึง เทคโนโลยีที่นำเอาภาพเสมือนจริง ซึ่งสร้างด้วยระบบคอมพิวเตอร์ มาซ้อนเข้ากับสภาพแวดล้อมจริงๆ เพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ กันไป ตั้งแต่เรื่องเล่นๆ เช่น การเล่นเกม หรือจริงจังขนาดสร้างภาพเพื่อช่วยแพทย์ผ่าตัด

    ย้อนกลับมาที่ระบบเออาร์ของรถแห่งอนาคตที่กล่าวมาข้างต้น ก็จะนำเอา "จอภาพโปร่งใส" ที่ทำด้วย "สารฟอสเฟอร์" ไปเคลือบทาบลงบนกระจกรถยนต์

    ส่วนพื้นที่ภายนอกและภายในตัวถังรถยนต์จะติดตั้ง "กล้องจับภาพ" และ "เซ็นเซอร์" เอาไว้รอบทิศทาง

    โดยหน้าที่หลักๆ ของกล้อง รวมถึงระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลในรถ จะคอยวิเคราะห์-เตือนให้คนขับทราบว่าด้านหน้าหรือด้านข้างของรถมีสิ่งกีดขวาง หรือวัตถุใดๆ กำลังเคลื่อนที่มาชนหรือไม่

    นอกจากนั้นถ้าใช้งานร่วมกับระบบจีพีเอส ยังสามารถชี้ "อาคาร" หรือจุดหมายข้างหน้าได้ด้วยว่าขับมาถึงจุดหมายที่ต้องการแล้วหรือยัง!

    ส่วนในกรณีขับในที่มืด-มีหมอกลงจัด ตัวเซ็นเซอร์จะสร้างภาพสมมติของ "ถนน" ขึ้นมาให้โดยอัตโนมัติ ทำให้ขับปลอดภัยขึ้น

    ข้อมูลทั้งหมดจะปรากฏหรือแสดงขึ้นมาบนกระจกหน้าคนขับ ส่งผลให้คนขับไม่ต้องก้มๆ เงยๆ ดูข้อมูลบนจอภาพเหมือนกับที่ติดตั้งตามรถทั่วๆ ไป

    อย่างไรก็ตาม กว่าจะพัฒนาสำเร็จจริงๆ อาจต้องรออีกเกือบ 10 ปี เพราะต้องรอทดสอบประสิทธิภาพไปตามลำดับ

    และที่สำคัญต้องทำให้ภาพบนกระจกรบกวนสมาธิคนขับน้อยที่สุด!

    ที่มา ข่าวสดออนไลน์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×