ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ล้ำโลกโลกาภิวัฒน์

    ลำดับตอนที่ #25 : "ก๊าซมีเทน" มหันตภัยใต้โลก

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 541
      0
      2 พ.ย. 53

    "ก๊าซมีเทน" มหันตภัยใต้โลก


     
    "ก๊าซเรือนกระจก"มีทั้งประโยชน์และโทษกับโลกเรา

    ในทางบวก...

    ถ้าโลกไม่มีก๊าซกลุ่มนี้ก็จะไร้เกราะกำบังคอยเก็บกักความร้อน ไม่ให้กระจายออกไปสู่อวกาศ

    แต่ถ้ามีมากจนล้น มากเกินไป...

    เรื่องจะพลิกผันกลายเป็นว่า ทำให้อุณหภูมิบนพื้นโลกสะสมร้อนขึ้นตามลำดับ

    ผลพวงต่อเนื่องจากปรากฏการณ์ดังกล่าวก็เป็นที่มาของ "วิกฤตโลกร้อน" ที่ทุกประเทศกำลังเผชิญอยู่นั่นเอง!

    นอกจากนั้น เมื่อแยกย่อยลงไป ก๊าซเรือนกระจกยังแบ่งออกได้ 2 กลุ่มหลักๆ

    1. ก๊าซจากกิจกรรมของมนุษย์

    เช่น ควันพิษโรงงานอุตสาหกรรม รถยนต์ เครื่องบิน เครื่อง จักร เครื่องยนต์กลไกต่างๆ

    2. ก๊าซที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

    เช่น มีเทน (ในกลุ่มแรกก็ก่อก๊าซนี้เช่นกัน) ซึ่งล่าสุด "เจมมา เวด์แฮม" นักธรณีเคมี มหาวิทยาลัยบริสทอล ประเทศอังกฤษ ศึกษาพบว่า...

    กำลังมีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด!

    ตามปกติ ก๊าซมีเทนตามธรรมชาติจะถูกเก็บกักไว้ใต้พื้นโลก รวมถึงใต้พื้นน้ำแข็งขั้วโลก จึงไม่กระจายออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ

    อย่างไรก็ตาม เจมมา เผยว่า จากการสุ่มวิเคราะห์ "ชั้นน้ำแข็ง" จากธารน้ำแข็งโลเวอร์ไรต์ ทวีปแอนตาร์กติกา (ขั้วโลกใต้) และธารน้ำแข็งรัสเซลล์ เขตกรีนแลนด์ พบว่า

    "จุลชีพ" ชื่อ "Methanogers" ซึ่งอาศัยอยู่ใต้ชั้นน้ำแข็งในทั้ง 2 พื้นที่นั้น มีคุณสมบัติแบ่งตัวเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว

    ประเด็นน่าวิตกอยู่ตรงที่บรรดาจุลชีพดังกล่าวจะสามารถสร้าง "มีเทน" ออกมาได้ด้วย

    ฉะนั้น ถ้าปรากฏการณ์ "โลกร้อน" ไปเร่งปฏิกิริยาทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลายมากขึ้นเรื่อยๆ

    ก๊าซมีเทนจากกองทัพจุลชีพ Methanogers ก็จะหลุดรอดขึ้นไปสะสมบน "ชั้นบรรยากาศ" ซ้ำเติมมหันตภัยสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง

    ทางบรรเทาปัญหา ก็คือ มนุษย์จะหาทางลดวงจรพ่นก๊าซเรือนกระจกได้อย่างไร เพื่อสกัดไม่ให้มีเทนจากจุลชีพเหล่านี้เล็ดรอดออกมาทำร้ายโลกยกกำลังสอง!?!

    ที่มา ข่าวสดออนไลน์

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×