ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ล้ำโลกโลกาภิวัฒน์

    ลำดับตอนที่ #207 : เทคโนโลยี 2016 เจาะ10เทรนด์มาแรง

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 107
      4
      7 ม.ค. 59



    เทคโนโลยี "อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง" Information of Everything หรือ IoT (ไอโอที) อุปกรณ์อัจฉริยะที่สามารถเรียนรู้พฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ และความก้าวหน้าของนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งในเทรนด์เทคโนโลยีในปีใหม่

    การ์ตเนอร์ บริษัทผู้วิจัยการตลาดชื่อดังได้รวบรวม 10 แนวโน้ม หรือเทรนด์ของเทคโนโลยีในปีค.ศ.2016 พร้อมระบุว่า บรรดาเจ้าของธุรกิจและบริษัทใหญ่จะต้องปรับตัวอย่างใหญ่หลวงต่อการเข้ามา ปฏิวัติการทำงานของระบบไอทีที่จะก้าวหน้าและฉลาดรวดเร็วยิ่งขึ้น

    1.โครงข่ายการเชื่อมโยง

    ของอุปกรณ์อัจฉริยะ

    (Device Mesh)


    ความ แพร่หลายของอุปกรณ์อัจฉริยะ เช่น สมาร์ตโฟนและแท็บเล็ต รวมไปถึงอุปกรณ์อัจฉริยะแบบสวมใส่ หรือแวเรเบิล เทคโนโลยี จะส่งให้อุปกรณ์เหล่านี้มีเซ็นเซอร์ที่มากขึ้น ทำให้สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ นำไปสู่ระบบการเชื่อมโยงระหว่างอุปกรณ์ที่จะทำงานร่วมกันมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้คือ ขีดความสามารถในการเรียนรู้พฤติกรรมของ และการทำงานที่ตอบโจทย์ผู้ใช้มากขึ้น

    2.ประสบการณ์การใช้งานแบบกลมกลืน

    (Ambient User Experience)


    ประสบการณ์ การใช้งาน หรือยูเอ็กซ์ เป็นหนึ่งในหัวใจหลักของการออกแบบผลิตภัณฑ์ในหลากหลายวงการ ในปีนี้คาดว่าอุปกรณ์ในแวดวงเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอซีที จะพัฒนาไปอีกขั้นนำไปสู่ประสบการณ์การใช้งานที่ "กลมกลืน" มาจากความก้าวหน้าในการออกแบบซอฟต์แวร์ควบคุม ที่จะทำให้อุปกรณ์เหล่านี้ทำงานสอดประสานกับชีวิตประจำวันของผู้ใช้ได้ถึง ขั้นที่ "ผู้ใช้ไม่รู้ตัว" ว่าอุปกรณ์ดังกล่าวบริหารจัดการชีวิตให้อย่างไรบ้าง

    3.วัสดุจากการพิมพ์แบบ 3 มิติ

    (3D-printing Materials)


    การ มาถึงของเทคโนโลยีการพิมพ์แบบ 3 มิติ จะเริ่มแพร่หลายลงมาถึงระดับ ผู้บริโภคมากขึ้น และบรรดาเอกชนจะนำเทคโนโลยีนี้มาประกอบการผลิตชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ที่มี ความซับซ้อนมากขึ้น เช่น ชิ้นส่วนเครื่องยนตร์ในรถยนต์ของบริษัท เทสลา ผู้พัฒนายนตรกรรมไฟฟ้าชั้นนำของโลก ชิ้นส่วนจรวดส่งยานอวกาศของบริษัท สเปซเอ็กซ์ นอกจากนี้ การพิมพ์แบบ 3 มิติ จะเริ่มนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารด้วย

    4.อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Information of Everything)

    คาด ว่า ภายในปี 2563 จะมีอุปกรณ์สื่อสารในโลกนี้กว่า 25,000 ล้านเครื่อง ที่จะผลิตข้อมูลในทุกรูปแบบจนกลายเป็นดาบสองคม ด้านหนึ่งข้อมูลล้นทำให้เกิดความสับสน และบริหารจัดการไม่ได้ แต่อีกด้านจะเป็นโอกาสทองของผู้ที่จัดการข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะบรรดาเอกชนที่จะช่วยสนับสนุนศักยภาพให้นำหน้าคู่แข่งได้อย่างยอด เยี่ยม

    5.จักรกลที่เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง

    (Advanced Machine Learning)


    อุปกรณ์ อัจฉริยะและเครื่องจักรจะได้รับการพัฒนาจนมีขีดความสามารถไม่เพียงแต่เก็บ เกี่ยวข้อมูลเท่านั้น แต่จะเรียนรู้และแนะนำทางเลือกการตัดสินใจที่แม่นยำได้จากข้อมูลที่มีด้วย

    รวม ไปถึงการวิเคราะห์ข้อมูลที่เครื่องจักรจะสามารถทำงานคู่ขนานไปกับการเก็บ เกี่ยวข้อมูล ซึ่งปกติแล้วการวิเคราะห์จะต้องเป็นหน้าที่ของมนุษย์ผู้ควบคุม

    ส่งผลให้การปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักรมีความก้าวหน้ามากขึ้นไปอีก

    6.หุ่นยนต์และการเพิ่มขึ้นของกลไกอัตโนมัติ

    (Autonomous Agents and Things)


    ศักยภาพ ของหุ่นยนต์จะพัฒนามากขึ้นจนทดแทนการทำงานของมนุษย์ได้ในหลายส่วนอย่างต่อ เนื่อง เช่น ระบบอัตโนมัติในรถยนต์ที่จะพาผู้ขับขี่ไปยังจุดหมายปลายทางได้อัตโนมัติ ที่ถูกพัฒนาขึ้นภายในสิ่งแวดล้อมควบคุม เช่น รถโดยสารอัจฉริยะในนครมาซดาร์ เมืองเนรมิตกลางทะเลทราย ที่กรุงอาบูดาบี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เคลื่อนที่ไปตามเส้นทางได้เอง ผู้ใช้เพียงเลือกจุดหมายปลายทาง

    รถใช้ หลักการทำงานเชื่อมโยงกับโครงข่ายเซ็นเซอร์ที่ฝังไว้บนถนน ซึ่งภายในปีนี้ เทคโนโลยียวดยานจะพัฒนาไปถึงขั้นที่ทำงานได้เองโดยไม่จำเป็นต้องอยู่ ภายใต้สภาพแวดล้อมควบคุม อาทิ โดรนบินไร้คนบังคับ

    7.เทคโนโลยีป้องกันภัยเชิงรุก

    (Adaptive Security Architecture)


    "การ โจมตีที่ดี คือการป้องกันที่ยอดเยี่ยมที่สุด" วลีดังกล่าวเป็นที่ได้ยินกันบ่อยโดยเฉพาะในแวดวงความมั่นคง เชื่อว่าปีนี้เทคโนโลยีป้องกันภัยจะได้รับการพัฒนาไปอีกขั้นเพื่อรับมือกับ ภัยคุกคามในโลกนี้ที่มีมากขึ้น นำไปสู่การกำเนิดของเทคโนโลยีป้องกันภัยเชิงรุก หรือเอเอสเอ ที่จะตรวจจับพฤติกรรมการใช้งาน การไหลของข้อมูล และประเมินความเสี่ยง ก่อนลงมือปิดระบบ หรือสกัดกั้นได้ด้วยตัวเอง เช่น แอพพลิเคชั่นในสมาร์ตโฟนที่จะล็อกตัวเองหากตรวจพบการใช้งานที่ผิดปกติของผู้ ใช้

    8.การสร้างปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ขั้นก้าวหน้า

    (Advanced Customer Architecture)


    บรรดา ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์จะผลิตซอฟต์ แวร์ที่มีฟีเจอร์การควบคุมเลียนแบบพฤติกรรมการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์มากขึ้น เช่น ระบบการจดจำผู้ใช้ด้วยใบหน้า เลียนแบบสัญชาตญาณการจดจำผู้อื่นของมนุษย์ คือ การจดจำลักษณะรูปพรรณและจุดเด่นบนใบหน้า การรับคำสั่งแบบสั่งงานด้วยเสียง เป็นต้น

    9.โครงข่ายเชื่อมโยงแอพพลิเคชั่น

    และการให้บริการ

    (Mesh App and Service Architecture)

    เช่น เดียวกันกับโครงข่ายการเชื่อมโยงของอุปกรณ์อัจฉริยะ บรรดาแอพพลิเคชั่นและการให้บริการจะถูกพัฒนาให้มีความเชื่อมโยงกันมากขึ้น และส่งเสริมให้ผู้ใช้ขยายการทำงานของแอพพลิเคชั่นของตัวเอง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัท ผู้พัฒนาด้วย ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนการพัฒนาถูกลง และผู้ใช้ได้ใช้ แอพพลิเคชั่นและการให้บริการที่ดีกว่าเดิม

    10.แพลตฟอร์มและสถาปัตยกรรม

    อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง

    (Internet of Things Architecture and Platforms)


    เทคโนโลยี อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่งจะเริ่มมีการกล่าวถึงมากขึ้น แต่ผู้ให้บริการไอโอทีจะยังคงความเป็นเอกเทศ แยกออกเป็นค่าย และกลุ่มพันธมิตรการค้า สร้างความสับสนให้ผู้บริโภค กระทั่งปี 2561 ที่ภาครัฐจะเริ่มเข้ามามีบทบาทการจัดระเบียบไอโอที ที่จะนำไปสู่การรวมศูนย์ข้อมูลและการกำหนดมาตรฐานไอโอที สร้างสิ่งแวดล้อมอัจฉริยะขึ้นบนโลก

    Credit http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1451982136



    free counters
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×