ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ล้ำโลกโลกาภิวัฒน์

    ลำดับตอนที่ #197 : สร้างสุดยอดนาฬิกาเที่ยงตรง16,000ล้านปีเทคโนโลยีไครโอเจนิค

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 115
      1
      3 มี.ค. 58




    นักวิจัยญี่ปุ่นก้าวล้ำไปอีกขั้น สร้างนาฬิกาที่เที่ยงตรงที่สุดโดยจะผิดเพี้ยนไปเพียง 1 วินาที ใน16,000 ล้านปีหรือมากกว่าอายุของโลกที่ผ่านมา



                23ก.พ.2558 นายฮิเดโยชิ คาโตริ หัวหน้าทีมนนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว เปิดเผยว่าทีมงานได้สร้างนาฬิกาที่่มีความแม่นยำสูง ที่เชื่อว่าแม่นยำกว่านาฬิกาอะตอมิคที่ใช้อยู่ในปัจจุบันในฐานะเครื่องบอกเวลาระดับวินาทีในมาตรฐานเวลาโลก โดยนาฬิกาที่ทีมวิจัยแห่งม.โตเกียวสร้างขึ้นมานั้นใช้เทคโนโลยี "ไครโอเจนิค ออปติคอล แลททิส" ซึ่งมีหน้าตาไม่เหมือนกับนาฬิกาทั่วไป แต่มีความแม่นยำสูงยิ่ง

                นาฬิการูปแบบใหม่นี้อาศัยแสงเลเซอร์แบบพิเศษที่ตรวจจับอะตอมของสารสตรอนเทียมที่อยู่ในกรอบตารางคล้ายตารางไม้ระแนง เป็นตัวกำหนดความถี่ โดยจับความถี่ของอะตอมที่เคลื่อนตัวกลับไป-มา ดังที่นักวิจัยเรียกว่า "ลุกตุ้มอะตอม"

                ผลงานของทีมวิจัยได้รับการยอมรับและตีพิมพ์ในวารสารเนเชอร์ โฟโตนิคส์ วารสารวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยอมรับกันในระดับโลก

                อย่างไรก็ตามนาฬิกาที่ใช้เทคโนโลยี ไครโอเจนิค ออปติคอล แลททิส ที่นักวิจัยญี่ปุ่นสร้างขึ้นมานั้น ต้องอาศัยสภาพแวดล้อมที่เย็นจัด ประมาณ -180 องศาเซลเซียส (-292 องศาฟาเรนไฮด์) เพื่อลดสิ่งรบกวนจากคลื่นสนามแม่เหล็กที่อยู่ภายนอก และเพื่อรักษาความแม่นยำในการรักษาเวลาของนาฬิกาพิเศษ 2 เรือนนี้

                ทั้งนี้นักวิจัยได้เชื่อมนาฬิการูปแบบใหม่ 2 เรือนนี้เข้าด้วยกันเป็นเวลา 1 เดือน เพื่อประเมินความแม่นยำ ในการรักษาเวลา ซึ่งผลปรากฏว่านักวิจัยพบว่านาฬิกา ไครโอเจนิค ออปติคอล แลททิส นี้จะบอกเวลาผิดเพี้ยนไป 1 วินาทีในทุกๆ 16,000 ล้านปี ซึ่งระดับความแม่นยำในการรักษาเวลาดังกล่าว มีความเที่ยงตรงสูงกว่านาฬิกา อะตอมมิค ที่ใช้การวัดความถี่ของสารซีเซียม ซึ่งใช้เป็นมาตรฐานโลกในการกำหนด "วินาที" ที่จะมีความผิดเพี้ยน 1 วินาทีในทุก 30 ล้านปี

                เทคโนโลยีใหม่นี้สามารถประยุกต์ใช้เข้ากับระบบบอกพิกัดด้วยดาวเทียม หรือ จีพีเอส และเครือข่ายการสื่อสารที่ต้องอาศัยความแม่นยำของเวลาระดับสุดยอด

                นอกจากนั้นทีมนักวิจัยแห่งม.โตเกียวยังแสดงความจำนงในการร่วมหารือเพื่อกำหนดนิยามของ "วินาที" ใหม่อีกด้วย

    ที่มา 
    http://www.komchadluek.net/detail/20150223/201891.html



    free counters
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×