ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ล้ำโลกโลกาภิวัฒน์

    ลำดับตอนที่ #136 : ปลูกถ่ายเรตินาให้ตากลับมามองเห็นด้วยพลัง “อินฟราเรด”

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 214
      1
      15 พ.ค. 55

    ปลูกถ่ายเรตินาให้ตากลับมามองเห็นด้วยพลัง “อินฟราเรด”
    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
     
    นักวิจัยสแตนฟอร์ดสร้างนวัตกรรมในการปลูกถ่ายเรตินาเพื่อให้ผู้ป่วยกลับมาเห็นได้อีกครั้ง โดยไม่ต้องใช้แบตเตอรีและสายไฟ (ภาพประกอบข่าว ไม่เกี่ยวข้องกับการทดลอง / บีบีซีนิวส์)
    นักวิทยาศาสตร์สแตนฟอร์ดสร้างนวัตกรรมปลูกถ่ายเรตินาหรือนวัตกรรมดวงตาไบโอนิกที่อาศัยพลังงานจากแสง ซึ่งจะช่วยให้พลังงานแก่จอประสาทตาที่ปลูกถ่ายใหม่และยังส่งข้อมูลแสงที่อาจช่วยให้ผู้ป่วยกลับมามองเห็นได้
           
           สำหรับสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ บีบีซีนิวส์ระบุว่านักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัสแตนฟอร์ด (Stanford University) ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ ได้สร้างนวัตกรรมที่ใช้กระจกคู่พิเศษ ซึ่งสามารถยิงลำแสงอินฟราเรดใกล้เข้าสู่ดวงตาได้ แสงดังกล่าวจะให้พลังงานแก่สิ่งปลูกถ่ายและส่งข้อมูลที่อาจช่วยให้ผู้ป่วยมองเห็นได้ โดยพวกเขาได้ตีพิมพ์ผลงานลงวารสารเนเจอร์โฟโตนิกส์ (Nature Photonics)
           
           อาการเจ็บป่วยอย่างโรคจอประสาทตาเสื่อม (age-related macular degeneration) และโรคเซลล์รับแสงตาเสื่อม (retinal pigmentosa) นั้นจะส่งผลให้เซลล์ที่สามารถตรวจจับแสงได้ตายลง ซึ่งอาจนำไปสู่อาการตาบอดได้
           
           สำหรับการปลูกถ่ายเรตินานั้นจะจำลองประสาทหลังดวงตาซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้ป่วยบางรายมองเห็นได้ ซึ่งการทดลองก่อนนี้ในอังกฤษพบว่าชาย 2 คนที่ตาบอดอย่างสิ้นเชิงนั้นกลับมารับรู้แสงและบางรูปร่างได้ หากแต่การฝังชิปหลังจอเรตินานั้นจำเป็นต้องใช้แบตเตอรี โดยต้องสวมหลังใบหู และยังต้องใช้สายไฟเชื่อมไปยังชิป แต่ทีมวิจัยสแตนปอร์ดระบุว่า พวกเขาตัดปัญหาดังกล่าวออกไปเพราะนวัตกรรมของพวกเขาไม่ต้องใช้แบตเตอรีและสายไฟ
           
           การปลูกถ่ายเรตินาซึ่งทำงานเหมือนแผงเซลล์แสงอาทิตย์นั้นจะถูกใส่เข้าไปด้านหลังดวงตา จากนั้นกระจกคู่ที่ถูกปลูกถ่ายนั้นจะบันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นเบื้องหน้าเจ้าของดวงตา จากนั้นยิงลำแสงอินฟราเรกใกล้ไปยังชิปที่ฝังอยู่หลังเรติรา แล้วสร้างสัญญาณไฟฟ้าซึ่งจะถูกส่งไปยังประสาท ส่วนแสงธรรมชาตินั้นอ่อนกว่าจะให้พลังงานแก่ชิปที่ถูกปลูกถ่ายถึง 1,000 เท่า ข้อดีที่ไม่ต้องใช้สายไฟและยังใช้ชิปที่บางนั้น นักวิจัยระบุว่าการผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายจอประสาทตาจะง่ายกว่า
           
           น่าเสียดายที่การปลูกถ่ายเรตินานั้นยังไม่มีทดสอบในคน มีแค่เพียงการทดลองในหนูเท่านั้น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×