ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    งานศึกษาและวิจัยจากทั่วโลกที่น่าสนใจ

    ลำดับตอนที่ #29 : เปลือกทุเรียนอย่าทิ้ง -ใช้เป็น “ยา” ได้

    • อัปเดตล่าสุด 19 เม.ย. 51


    เปลือกทุเรียนอย่าทิ้ง -ใช้เป็น “ยา” ได้
    โดย ผู้จัดการออนไลน์
    นักเภสัชจุฬาฯ เผยเปลี่ยนเปลือกทุเรียนเหลือทิ้งให้เป็นยา พบสารต้านแบคทีเรียในเปลือกทุเรียน ประยุกต์ใช้ได้ทั้งผงแห้งผสมอาหารกุ้งเสริมภูมิคุ้มกัน ทำเครื่องดื่มไร้แคลอรี เจลป้องกันสิว ยาสีฟันเปลือกทุเรียน แผ่นยาและฟิล์มใสช่วยสมานแผล ลดการเกิดแผลเป็น
           
           ใครที่ชอบทานทุเรียนคงทราบกันดีว่า “เนื้อทุเรียน” กับ “เปลือกทุเรียน” อย่างไหนจะมีปริมาณมากกว่ากัน แต่เปลือกทุเรียนจะไม่มีประโยชน์ใดๆ เลยหรือ คำตอบคือ “ไม่ใช่” อย่างแน่นอน
           
           ภายในงานตลาดนัดทรัพย์สินทางปัญญาครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 20 -22 ก.ค. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ได้มีการนำผลงานวิจัยสิทธิบัตรจากทั่วทุกสารทิศฝีมือคนไทยมาจัดแสดง โดยหนึ่งในชิ้นงานที่น่าสนใจคือ “ผลิตภัณฑ์พอลิแซคคาไรด์จากเปลือกผลทุเรียนและเภสัชผลิตภัณฑ์เตรียมจากทุเรียนเจลพอลิแซคคาไรด์” ของ รศ.ดร.สุนันท์ พงษ์สามารถ ภาควิชาชีวเคมี คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
           
           นักวิจัยพบว่า เมื่อนำเปลือกของทุเรียนมาอบหรือตากแห้ง บดเป็นผง และทำให้อยู่ในรูปของผงแห้งแล้ว จะทำให้ได้ผลิตภัณฑ์คือ “เจลพอลิแซคคาไรด์” ซึ่งเป็นสารประกอบน้ำตาลเชิงซ้อนที่มีลักษณะเป็นกากใยในอัตราส่วน 10% ของน้ำหนักเปลือกแห้ง
            
           ขณะเดียวกันเมื่อนำเปลือกที่เหลือไปย่อยด้วยด่างและกรด ตลอดจนผ่านกระบวนการล้าง ตกตะกอน และทำเป็นผงแล้ว ยังจะได้ “ผลึกเซลลูโลส” จำนวนอีก 30% ของน้ำหนักเปลือกที่เหลือด้วย โดยผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ชนิดนี้สามารถนำไปใช้ได้ทั้งทางยาและอาหารหลากหลายประเภทด้วยกัน
           
           สำหรับเจลพอลิแซคคาไรด์สามารถขึ้นรูปเป็นเจล แผ่นพอลิแซคคาไรด์บาง หรือเป็นแผ่นฟิล์มใสได้ ซึ่งผงแห้งจะพองตัวและละลายน้ำได้ดี ที่สำคัญเจลที่ได้ยังมีคุณสมบัติในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียก่อโรคได้ดี เสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ โดยในการทดลองกับหมูและหนูทดลองไม่พบความเป็นพิษ และอาการแพ้ใดๆ
           
           ล่าสุด นักวิจัยได้ทดลองแปรรูปเจลพอลิแซคคาไรด์ให้เป็นผลิตภัณฑ์แล้วหลายชนิด เช่น นำผงแห้งไปผสมกับอาหารเลี้ยงกุ้งกุลาดำเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้กุ้งไม่เป็นโรคง่ายและโตเร็วขึ้น ส่วนผลิตภัณฑ์ในรูปของเจลสามารถนำไปใช้ทำเจลสำหรับทาเต้านมวัวป้องกันโรคเต้านมอักเสบ เจลลดการอักเสบของสิว เจลสำหรับล้างมือโดยไม่ต้องใช้น้ำ และยังได้ร่วมกับคณะทันตแพทยศาสตร์ พัฒนาเจลพอลิแซคคาไรด์ให้เป็นยาสีฟันเปลือกทุเรียนด้วย
           
           ขณะที่ผลิตภัณฑ์ในรูปของฟิล์มใสยังใช้ได้อีกหลายรูปแบบ อาทิ แผ่นฟิล์มรักษาแผลถลอก แผลผ่าตัด และแผลติดเชื้อที่มีสรรพคุณช่วยการสมานแผลได้ดี ลดการเกิดแผลเป็น แผ่นฟิล์มดับกลิ่นปากและลดการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในช่องปาก รวมถึงแผ่นฟิล์มผสมตัวยารักษาแผลในปากซึ่งจะค่อยๆ ปล่อยตัวยาออกมารักษาแผลได้นานถึง 3 ชั่วโมงก่อนที่แผ่นฟิล์มจะละลายไปเองตามธรรมชาติ
           
           แผ่นฟิล์มที่ได้ยังสามารถนำไปใช้ในการผลิตยาโดยการเคลือบแผ่นฟิล์มบนผิวเม็ดยาเพื่อลดรสชาติขมลิ้นจากตัวยา อีกทั้งคุณสมบัติที่พองตัวได้ดีเมื่อเจอน้ำ และระบบย่อยอาหารของคนเราไม่สามารถย่อยได้ เจลชนิดนี้จึงไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย มันจึงใช้เป็นส่วนผสมของอาหารและเครื่องดื่มควบคุมน้ำหนักได้ดีอีกอย่างหนึ่ง
           

           ส่วนผลิตภัณฑ์ผลึกเซลลูโลส ผลวิจัยพบว่า มีคุณสมบัตินำมาใช้ประโยชน์ในการช่วยเตรียมเม็ดยาที่ได้ผลิตภัณฑ์เม็ดยาที่น่าพอใจ คือเป็นสารช่วยการกระจายตัวของยาและช่วยการตอกเม็ดยา ได้ผลิตภัณฑ์ยาเม็ดที่มีคุณสมบัติตามกำหนดในตำรับยา และยังสามารถใช้เป็นสารวัตถุดิบในการเตรียมอนุพันธ์ต่างๆ ของเซลลูโลสทดแทนการนำเข้าได้
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน
    นิยายแฟร์ 2024

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×