ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    งานศึกษาและวิจัยจากทั่วโลกที่น่าสนใจ

    ลำดับตอนที่ #26 : “เพคติน” เปลือกผลไม้นำส่งยา รักษาโรคร้าย

    • อัปเดตล่าสุด 19 เม.ย. 51


    “เพคติน” เปลือกผลไม้นำส่งยา รักษาโรคร้าย
    โดย ผู้จัดการออนไลน์
    คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
    นักศึกษา คปก. กำลังพัฒนาระบบนำส่งยาแบบยึดติดเยื่อเมือกจากเพคตินที่พบได้จากเปลือกผลไม้อย่างแอปเปิล มะนาว และส้ม (ภาพจาก www.side-effects.ca)

    นางนาตยา ถีระวงษ์ นักศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก


    นักศึกษา คปก. ใช้สารเพคตินในเปลือกแอปเปิล ส้ม มะนาว ทำระบบนำส่งยา ช่วยการดูดซึมยาในทางเดินอาหาร ผู้ป่วยไม่ต้องกินยาหลายครั้ง ทดลองใช้กับฮอร์โมนรักษาโรคกระดูกพรุนในหนูได้ผลดี 5 เท่า แย้มจะพัฒนาต่อไปให้ยาออกฤทธิ์เฉพาะจุดและออกฤทธิ์นานขึ้น ทั้งยามะเร็ง อินซูลิน และยารักษาแผลในช่องปาก
           
           “การกินยา” มองผิวเผินคงไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร แต่ใครจะรู้ว่าการทำให้ยาออกฤทธิ์ถูกจุดและออกฤทธิ์ได้นานพอที่จะรักษาโรคได้ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะระบบทางเดินอาหารของคนเราจะกำจัดยาที่กินเข้าไปจนหมดภายใน 4 ชั่วโมง การหาระบบนำส่งยา (drug delivery system) ที่ทำให้ยาอยู่ในทางเดินอาหารได้นานกว่านั้น จึงเป็นเรื่องน่าสนใจ
           
           นางนาตยา ถีระวงษ์ นักศึกษาโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้วิจัย “คุณสมบัติและกลไกการยึดติดเยื่อเมือกของเพคติน” เล่าว่า ปัจจุบันระบบนำส่งยาแบบยึดติดเยื่อเมือกทางเดินอาหารถือเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้ร่างกายดูดซึมยาเข้าสู่กระแสเลือดได้ดีขึ้น โดยมีสารยึดติดเยื่อเมือกหลายชนิด เช่น คาร์โบเมอร์ และไคโตซาน
           
           แต่ก็ไม่ใช่ว่าสารยึดติดทุกชนิดจะให้ผลดีเหมือนๆ กันหมด เพราะแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการยึดติดต่างกัน บางชนิดติดได้ดีบริเวณกระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก หรือแม้แต่ลำไส้ใหญ่ เภสัชกรจึงต้องพัฒนาสารยึดติดชนิดอื่นๆ เพื่อให้หลากหลายที่จะนำไปใช้กับยาแต่ละชนิดด้วย
           
           นางนาตยา บอกว่าด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เริ่มทำวิจัยเพคตินขึ้น โดยมี รศ.ดร.พรศักดิ์ ศรีอมรศักดิ์ เป็นที่ปรึกษาโครงการ ผลวิจัยพบว่า เพคตินเป็นสารสกัดจากพืชและผลไม้ เช่น กากแอปเปิล เปลือกส้มและมะนาว ที่ใช้เป็นสารยึดติดได้ดี อีกทั้งยังย่อยสลายได้ในร่างกาย จึงไม่เป็นพิษ และมีความปลอดภัยสูง
           

           เมื่อทราบคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว นักวิจัยรายนี้เล่าว่า จึงเริ่มทดสอบกับยาฮอร์โมนเพื่อรักษาหนูทดลองที่ป่วยเป็นโรคโรคกระดูกพรุน ซึ่งยาฮอร์โมนชนิดนี้ขึ้นชื่อว่าเป็นยาที่ออกฤทธิ์ได้ดีที่ลำไส้ แต่สลายตัวเร็วมาก จึงถือเป็นแบบทดสอบสำหรับการใช้เพคตินเป็นสารยึดติดได้เป็นอย่างดี
           
           ผลวิจัยพบว่า เพคตินสามารถทำให้ยาฮอร์โมนอยู่ในระบบทางเดินอาหารของหนูได้นานขึ้น และออกฤทธิ์ดีขึ้นกว่าเดิมถึง 2.5 เท่า ยิ่งกว่านั้นจะได้ผลดีขึ้นอีกหากใช้คู่กับ "ไลโปโซม" ซึ่งเป็นไขมันฟิล์มบางก้อนกลมขนาดเล็ก ที่เก็บกักตัวยาไว้ภายใน ที่จะทำให้ระบบนำส่งยานี้มีประสิทธิภาพดีกว่าเดิมถึง 5 เท่า
           

           “ส่วนสิ่งที่ต้องทดสอบต่อไป คือ การทดสอบเพื่อยืนยันผลในหนูที่ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน เมื่อได้สูตรที่ให้ผลน่าพอใจแล้วจึงจะทดสอบในคนได้ แต่หากตรวจสอบผลทางคลินิกคาดว่าน่าจะนำเพคตินไปใช้กับยาที่ใช้รักษาโรคต่างๆ ได้ด้วย เช่น ยารักษามะเร็ง อินซูลินรักษาโรคเบาหวาน ซึ่งปกติยากลุ่มนี้จะถูกทำลายโดยเอนไซม์ในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก หากทำให้ยาออกฤทธิ์เฉพาะที่ในลำไส้ใหญ่ได้ จะทำให้ยาถูกดูดซึมและออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น” นางนาตยา กล่าว
           
           นอกจากนั้น นักวิจัย ยังบอกด้วยว่า เวลานี้ยังทดลองใช้เพคตินกับเยื่อบุกระพุ้งแก้มด้วย โดยนำเม็ดเพคตินไปติดไว้ที่เนื้อเยื่อกระพุ้งแก้มหมู พบว่าเพคตินยึดติดได้ดีเช่นกัน จึงเป็นไปได้สูงที่จะนำเพ็คตินไปพัฒนายารักษาแผลในปาก ยาฆ่าเชื้อราในช่องปาก หรือใส่ยาที่ต้องการให้ดูดซึมเข้ากระแสเลือดผ่านทางช่องปากให้ออกฤทธิ์ทันที เช่น ยารักษาโรคหัวใจ และยานิโคตินสำหรับคนที่ต้องการเลิกบุหรี่ เป็นต้น
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×