ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    งานศึกษาและวิจัยจากทั่วโลกที่น่าสนใจ

    ลำดับตอนที่ #25 : กลไกสมองบกพร่องที่มา ‘เดจาวู’ ลุ้นต่อยอดรักษาอัลไซเมอร์

    • อัปเดตล่าสุด 19 เม.ย. 51


    กลไกสมองบกพร่องที่มา ‘เดจาวู’ ลุ้นต่อยอดรักษาอัลไซเมอร์
    โดย ผู้จัดการออนไลน์

    ''เดจาวู'' ปรากฎการณ์ที่นักวิทยาศาสตร์พยายามหาคำตอบว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และล่าสุดนักวิจัยจาก MIT ก็ออกมาระบุว่าเป็นความบกพร่องของสมองในการจัดลำดับข้อมูล
    คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
    เรื่องราวของ ''เดจาวู'' ถูกนำมาถ่ายถอดผ่านนิยายและภาพยนตร์หลายต่อหลายครั้ง ล่าสุดฮอลลีวูดนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ โดยมีจินตนาการว่านักฟิสิกส์สามารถใช้เครื่องเร่งอนุภาคย้อนกลับไปดูเหตุการณ์ย้อนหลังที่เกิดขึ้นได้

    เอเจนซี - คนส่วนใหญ่มักเคยพบพานเหตุการณ์ที่เรียกกันว่า 'เดจาวู' มาก่อน ล่าสุด นักวิจัยสามารถระบุได้ว่า สมองส่วนใดที่นำมาซึ่งประสบการณ์นี้ และเชื่อว่าการค้นพบนี้จะนำไปสู่วิธีใหม่ในการบำบัดโรคที่เกี่ยวข้องกับความจำ เช่น อัลไซเมอร์
           
           "เดจาวู" (déjà-vu) มาจากภาษาฝรั่งเศส แปลว่าเคยเห็นมาแล้ว ซึ่งถูกนำมาใช้เพื่ออธิบายอาการที่คนเรารู้สึกว่า เคยเจอเหตุการณ์ สถานที่ หรือคนคนนั้นมาก่อน แม้ในใจตระหนักว่าไม่ได้เป็นแบบนั้นจริงๆ ก็ตาม
           
           นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเสตส์ หรือ เอ็มไอที (Massachusetts Institute of Technology : MIT) ในเคมบริดจ์ สหรัฐฯ ระบุว่าศูนย์กลางของสมองส่วนที่เรียกว่าฮิปโปแคมปัส (hippocampus) เป็นส่วนที่สร้างแผนที่ทางความคิดของสถานที่และประสบการณ์ใหม่ และบันทึกไว้เพื่อรอใช้ในอนาคต
           
           แต่เมื่อพบประสบการณ์ 2 อย่างที่คล้ายกันมาก แผนที่ทางความคิดอาจซ้อนทับกันและพร่าเลือน
           
           สึสึมุ โทเนกาวะ (Susumu Tonegawa) ศาสตราจารย์ด้านชีววิทยาและประสาทวิทยาศาสตร์ของเอ็มไอที อธิบายไว้ในวารสารไซนส์ว่า (Science) เดจาวูเกิดขึ้นเมื่อความสามารถดังกล่าวถูกท้าทาย ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นความบกพร่องของสมองในการจัดลำดับข้อมูลใหม่ หรือที่เรียกว่า ความจำเกี่ยวกับเหตุการณ์
           
           โทเนกาวะ และทีมนักวิจัยของเอ็มไอทีร่วมกันศึกษาเรื่องนี้จากหนูที่ผ่านการตัดต่อทางพันธุกรรมโดยตัดทิ้งยีนในสมองส่วนฮิปโปแคมปัสที่ชื่อ "เดนเตตไจรัส" (Dentate gyrus) ซึ่งพบว่ามีความสำคัญต่อการสร้างความสามารถในการเรียงลำดับประสบการณ์ที่คล้ายคลึงกัน
           
           ผลปรากฏว่า หนูที่ไม่มีความสามารถดังกล่าวจะย้ายจากกรงแรกไปกรงที่ 2 ที่มีลักษณะคล้ายกัน แล้ววิ่งกลับมากรงแรก โดยที่กรง 1 ใน 2 มีการปล่อยกระแสไฟฟ้าช็อตเท้าหนู แต่อีกกรงไม่มี
           
           หนูกลายพันธุ์เชื่อมโยงกรงทั้งสองเข้าด้วยกันด้วยความรู้สึกถึงอันตราย และตัวสั่นเมื่อถูกจับใส่ไม่ว่าในกรงใดเพราะไม่สามารถแยกแยะได้ว่ากรงไหนที่มีไฟช็อต
           
           ในทางตรงข้าม หนูที่ไม่มีความผิดปกติทางพันธุกรรมเรียนรู้ความแตกต่างระหว่าง 2 กรงอย่างรวดเร็ว และจะตัวสั่นเฉพาะเวลาอยู่ในกรงที่อันตราย
           
           เมื่อนักวิจัยตรวจสอบกิจกรรมในสมองของหนู พบว่าหนูกลายพันธุ์มีปฏิกิริยาแบบเดียวกันในทั้ง 2 กรง ขณะที่กิจกรรมในสมองของหนูปกติแตกต่างกันในแต่ละกรง
           
           โทเนกาวะกล่าวว่า ประเภทของความจำที่ทำให้คนเราแยกแยะความแตกต่างของใบหน้าและสถานที่อาจเสื่อมถอยลงเมื่อวัยล่วงเลย และเสริมว่า การค้นพบนี้อาจเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิธีรักษาโรคที่มีการทำลายของเซลล์ประสาทในสมอง เช่น อัลไซเมอร์
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×