การดื่มน้ำมากเกินไปมีโทษต่อร่างกายอย่างไร??? - การดื่มน้ำมากเกินไปมีโทษต่อร่างกายอย่างไร??? นิยาย การดื่มน้ำมากเกินไปมีโทษต่อร่างกายอย่างไร??? : Dek-D.com - Writer

    การดื่มน้ำมากเกินไปมีโทษต่อร่างกายอย่างไร???

    มาดูว่าสิ่งที่มีคุณค่าในทุกด้านอย่างน้ำ หากบริโภคมากเกินไปจะเป็นอย่างไร???

    ผู้เข้าชมรวม

    14,805

    ผู้เข้าชมเดือนนี้

    9

    ผู้เข้าชมรวม


    14.8K

    ความคิดเห็น


    4

    คนติดตาม


    0
    เรื่องสั้น
    อัปเดตล่าสุด :  29 ธ.ค. 51 / 13:18 น.


    ข้อมูลเบื้องต้น

    การดื่มน้ำมากเกินไปมีโทษต่อร่างกายอย่างไร???



    แม้จะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากๆ อย่างน้ำ
    หากดื่มมากเกินไปก็ไม่ดีเช่นกัน 
    ดังนั้นควรดื่มในปริมาณที่เหมาะสม

    ตั้งค่าการอ่าน

    ค่าเริ่มต้น

    • เลื่อนอัตโนมัติ

      การดื่มน้ำมากเกินไปมีโทษต่อร่างกายอย่างไร???




               ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีน้ำเป็นส่วนประกอบของร่างกาย สำหรับมนุ
      ษย์มีน้ำอยู่ประมาณร้อยละ 60 – 70 ในร่างกาย ในแต่ละวันคนเราได้รับน้ำในรูปแบบต่างๆ เช่น น้ำดื่ม น้ำในอาหาร วันละประมาณ 2 – 3 ลิตร และน้ำก็ถูกกำจัดออกจากร่างกายในรูปแบบต่างๆ เช่น เหงื่อ ปัสสาวะ ในปริมาณเท่าๆ กับน้ำที่ร่างกายได้รับ น้ำมีความสำคัญกับร่างกายในรูปแบบต่างๆ เช่น ช่วยในการลำเลียงสาร ช่วยในการควบคุมอุณหภูมิ ช่วยในการขับถ่ายของเสีย เป็นต้น

      แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่าน้ำมีประโยชน์และมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมาก แต่การดื่มน้ำมากเกินไปก็สามารถก่อให้เกิดโทษกับร่างกายได้ โดยภาวะที่น้ำในร่างกายมากผิดปกติจนเกิดเป็นพิษ เรียกว่า “Water intoxication” เกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับน้ำในปริมาณที่มากผิดปกติ มากจนกระทั่งเป็นอันตรายต่อเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเซลล์สมอง ด้วยกลไกของเซลล์จะทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาสมดุลของสารน้ำและเกลือแร่ ทั้งส่วนที่อยู่ในเซลล์และส่วนที่อยู่นอกเซลล์ ความผิดปกติของสมดุลสารน้ำและเกลือแร่ ถือว่าเป็นภาวะที่อันตรายมาก ทำให้เสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการแก้ไขหรือบำบัดรักษาที่ถูกต้องและทันท่วงที

                  สมดุลของน้ำและเกลือแร่ในร่างกายเป็นสรีรวิทยาที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิตของมนุษย์ เนื่องจากมีผลกระทบต่อการทำหน้าที่ของเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยสารพวกเกลือแร่ หรือที่เรียกว่า “สารอิเลคโตรไลท์” (Electrolytes) ที่มีบทบาทสำคัญ ได้แก่ โซเดียม (Na) โปแตสเซียม (K) คลอไรด์ (Cl)  และไบคาร์บอเนต ซึ่งสามารถตรวจวัดหาระดับของอิเลคโตรไลท์ต่างๆ เหล่านั้นในเลือดได้ และสะท้อนให้เห็นถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกาย เนื่องจากสมดุลของน้ำในร่างกายเกี่ยวข้องโดยตรงกับระดับโซเดียมในเลือด ภาวะที่ระดับน้ำในร่างกายมากผิดปกติ จะทำให้ระดับของโซเดียมในเลือดลดต่ำ เรียกภาวะดังกล่าวว่า “Hyponatremia” ตามปกติโซเดียมผ่านเข้าออกเซลล์ตลอดเวลา เพื่อปรับให้เข้าสู่ภาวะสมดุล ร่างกายจะควบคุมกลไกดังกล่าวผ่านทางหลายกระบวนการ รวมทั้งฮอร์โมนบางชนิดที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการรักษาสมดุลของร่างกาย และอันตรายที่เกิดขึ้นจากภาวะ Water intoxication เนื่องมาจาก การที่เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายเกิดภาวะบวมน้ำ ซึ่งเมื่อรุนแรงมากขึ้นจะทำให้เกิดการตายของเซลล์ แม้ว่าร่างกายจะพยายามแก้ไขด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้กลับเข้าสู่ภาวะสมดุล แต่ถ้าไม่สำเร็จก็จะเกิดความเสียหายในระดับเซลล์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

      โดยปกติแล้ว ไตสามารถกรองน้ำได้วันละประมาณ 15 ลิตร ดังนั้นโอกาสที่จะเกิด Water intoxication จึงมีน้อยมาก ปัญหาจะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายได้รับน้ำในปริมาณที่ผิดปกติ หรืออาจจะเรียกว่าผิดธรรมชาติ เท่านั้น ภาวะ Water intoxication พบได้บ่อยที่สุดในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน โดยที่เด็กดื่มน้ำปริมาณมากเกินกว่าที่ร่างกายจะปรับสมดุลได้ หรืออาจเกิดขึ้นในกรณีชงนมที่เจือจางมากเกินไปจนเกิดความผิดปกติของสมดุลน้ำในร่างกายเด็ก

      ภาวะ Water intoxication อาจเกิดขึ้นกับนักกีฬาได้ โดยที่เมื่อนักกีฬาออกแรงมากๆ และเสียเหงื่อออกไป จะส่งผลให้ปริมาณโซเดียมในร่างกายอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ ถ้าหากยิ่งดื่มน้ำเปล่าเข้าไป ก็จะส่งผลให้ปริมาณโซเดียมที่มีอยู่น้อยในเลือดนั้นยิ่งเจือจางเข้าไปอีก คนปกติอาจเกิดภาวะ Water intoxication ได้ ถ้าร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำ (dehydrated) แล้วไปดื่มน้ำเปล่าโดยไม่มีสารเกลือแร่หรืออิเลคโตรไลท์ร่วมอยู่ด้วย ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ในรายที่รุนแรงหรือได้รับการแก้ไขไม่ทันจะถึงขั้นหมดสติ โคม่า และเสียชีวิตได้ อาการผิดปกติที่เกิดจากภาวะสารน้ำในร่างกายมากผิดปกติจนเกิดเป็นพิษ หรือ water intoxication จะเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกับการจมน้ำ ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะ ปอดบวมน้ำ สมองบวม มีอาการเหมือนเมาสุรา บางรายอาจชักได้

      การรักษาทำได้โดย การให้สารอิเลคโตรลไลท์ทางหลอดเลือด เช่น Hypertonic saline (salt) solution ซึ่งถ้ารักษาได้ทันท่วงที ก่อนที่เซลล์ทั่วร่างกายจะบวมมาก จนกระทั่งเซลล์ตาย ถ้าสามารถรักษาได้ทันผู้ป่วยจะหายเป็นปกติภายในเวลา 2-3 วัน ที่สำคัญ ต้องติดตามตรวจวัดระดับอิเลคโตรไลท์ในเลือดอย่างสม่ำเสมอ การรักษาภาวะเสียสมดุลของสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกายต้องกระทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่เร็วหรือช้าจนเกินไป

      ดังนั้นเราควรดื่มน้ำให้พอควร ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป และวิธีการป้องกันอย่างหนึ่งคือ ให้ดื่มน้ำเมื่อรู้สึกกระหาย เพราะร่างกายมีกลไกทางสรีรวิทยาที่รู้ว่า เมื่อไรร่างกายต้องการน้ำ หรือในเลือดมีปริมาณน้ำน้อยจนเกินไป สำหรับคนที่เล่นกีฬาหนักๆ ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของเกลือแร่ในปริมาณพอสมควร และไม่ควรดื่มน้ำเปล่าในปริมาณมาก เพราะอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้


             แหล่งข้อมูล

      1.      คู่มือ ชีววิทยา ม.5 เล่ม 4 0410 ผศ.ประสงค์ หลำสะอาด และผศ.ดร.จิตเกษม หลำสะอาด

      2.      http://cai.md.chula.ac.th/lesson/lesson4501/content/story08.html

      3.      http://www.thaihealth.or.th/cms/detail.php?id=5560&PHPSESSID=0d6b600171ed2e7a3e8a59


      ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

      loading
      กำลังโหลด...

      ความคิดเห็น

      ×