บทละคร "นางเบี้ยเดียว"
รวบรวมจาก "เทพนิยายวัดเกาะ" ดัดแปลงคำให้อ่านง่าย และมีเรื่องย่อสรุปให้ตอนต้นเรื่อง
ผู้เข้าชมรวม
480
ผู้เข้าชมเดือนนี้
32
ผู้เข้าชมรวม
ข้อมูลเบื้องต้น
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
วรรณกรรมวัดเกาะ คือวรรณกรรมที่ริเริ่มจัดพิมพ์ขึ้นโดยโรงพิมพ์วัดเกาะ หรือ โรงพิมพ์ราษฎร์เจริญ ซึ่งเป็นโรงพิมพ์ที่มีชื่อเสียงในการพิมพ์เรื่องจักรๆ วงศ์ๆ และนิทานพื้นบ้าน วรรณกรรมวัดเกาะได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 นักอ่านทั่วไปจะจดจำคำขวัญเชิญชวนบนหน้าปกได้ว่า
"ยี่สิบห้าสตางค์ ต่างรู้ ท่านผู้ซื้อ
ร้านหนังสือ หน้าวัดเกาะ เพราะหนักหนา
ราษฎร์เจริญ โรงพิมพ์ ริมมรรคา
เชิญท่านมา ซื้อดู คงรู้ดี
ได้ลงพิมพ์ คราวแรก แปลกๆ เรื่อง
อ่านแล้วเปลื้อง ความทุกข์ เป็นสุขขี
ท่านซื้อไป อ่านฟัง ให้มั่งมี
เจริญศรี สิริสวัสดิ์ พิพัฒน์เอย"
นอกจากนี้ วรรณกรรมวัดเกาะยังหมายรวมถึงวรรณกรรมที่มีลักษณะการจัดพิมพ์และเนื้อหาประเภทคล้ายคลึงกันแต่จัดพิมพ์โดยโรงพิมพ์อื่น ซึ่งบางครั้งอาจเรียกรวมกันว่าวรรณกรรมยุควัดเกาะ
คำนำผู้เขียน
กระผม อเล็กซานเดอร์ ต้นกล้า ได้เห็นความสำคัญของวรรณกรรมวัดเกาะ จึงตั้งใจถ่ายทอดลงบนเว็บ Dek-D.com ให้อ่านฟรีเป็นวิทยาทาน แต่ครั้นจะอนุรักษนิยมจนเกินงาม พิมพ์ตามอักขระเดิมแบบเป๊ะๆ ก็กลัวว่าสำนวนภาษาจะอ่านยาก พาให้เบื่อหน่ายกันซะเปล่าๆ จึงตั้งใจ เจาะจง แก้ไขคำให้ถูกต้องตามไวยากรณ์แบบปัจจุบัน แต่ไม่ทิ้งความหมาย ความไพเราะของฉันทลักษณ์กลอนแบบเดิม สำหรับท่านผู้อ่านที่ขี้เกียจแปลกลอน ผมได้ทำสรุปเรื่องย่อในแต่ละตอนไว้เรียบร้อยแล้ว สามารถอ่านเอาเฉพาะช่วงนั้นก็ได้ครับ โดยในครั้งแรกนี้ ผมขอนำเสนอเรื่อง "นางเบี้ยเดียว" ที่จะได้ทำออกมาเป็นละครโทรทัศน์แนวจักรๆ วงศ์ๆ ให้ได้ชมกันในปีหน้า (พ.ศ. 2568) เป็นการปูพื้นฐานก่อนว่าเรื่องจะดำเนินไปอย่างไร ใครเป็นพระเอก, นางเอก, ผู้ร้ายของเรื่องบ้าง
ขอขอบคุณบทประพันธ์เดิมจาก: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน): sac.or.th ที่กรุณาเปิดเผยบทประพันธ์ให้ผมได้คัดลอก แต่ด้วยเรื่องนี้สำนวนเรื่องค่อนข้างขาดๆ หายๆ ในช่วงกลางเรื่อง และบทประพันธ์เดิมก็หาได้ยากนัก ผมจึงจำเป็นต้องข้ามไป แต่ก็จะพยายามปะติดปะต่อเรื่องให้ดูสมบูรณ์ที่สุด เท่าที่สติปัญญาของผมจะทำได้ หวังว่าถ้าผู้อ่านชื่นชอบ เรื่องหน้ามีโอกาส ผมจะกลับมาทำอีกครับ
อเล็กซานเดอร์ ต้นกล้า
ผลงานอื่นๆ ของ Alexander_Tonkla ดูทั้งหมด
ผลงานอื่นๆ ของ Alexander_Tonkla
ความคิดเห็น