ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    มนต์ลักขณา (涵芳仙)

    ลำดับตอนที่ #1 : ข้อมูลเบื้องต้น

    • อัปเดตล่าสุด 8 มี.ค. 65


    แนะนำตัวละคร

    หานฟางเซียน อายุ 15ปี  

    นางเอก

    อี้หลงห่าวราน อายุ 20 ปี 

    พระเอก

    หวังลี่จิน อายุ 15ปี  

    สหายของหานฟางเซียน

    หวางฮุ่ยหลิง อายุ 15ปี 

    สหายของหานฟางเซียน

    หวังลี่เฉิง อายุ 20 ปี 

    สหายของหวงหลงห่าวราน พี่ชายของหวังลี่จิน

    หวางฮุ่ยหลง อายุ 20 ปี 

    สหายของหวงหลงห่าวราน พี่ชายของหวางฮุ่ยหลิง

    ครอบครัวหาน 

    ท่านพ่อ หานไท่เหว่ย อายุ 35 ปี

    ท่านแม่ หรงถิงซู อายุ 32 ปี

    น้องชาย หานซางเหยียน อายุ 13 ปี

    ……………………………………………………………………………………………………………

    สถานที่  ทวีปมังกรทอง ปกครองด้วยราชวงศ์หวงหลงที่ปกครองทั้ง 3 แคว้น

    สีทอง เป็นสัญลักษณ์แทนธาตุดิน ซึ่งหมายถึง ความเป็นปึกแผ่นมั่นคง ทั้งในแง่ของอารมณ์ความรู้สึกและชีวิตความเป็นอยู่ ความเจริญรุ่งเรือง เป็นสีของจักรพรรดิจีน โดยเป็นสีสัญลักษณ์ของห้าจักรพรรดิในตำนานของจีนโบราณ เป็นสีที่มักใช้ประดับพระราชวัง แท่นบูชา และวัด รวมถึงใช้สำหรับเสื้อคลุมและเครื่องทรงขององค์จักรพรรดิด้วย และมีสีทองเป็นส่วนประกอบในทางจิตวิทยา สีบอกถึงความบริบูรณ์ กระปรี้กระเปร่า พลังแห่งความหวัง ความสดชื่น รื่นเริงบันเทิงใจและเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับ ความหมายในเชิงของ ฮวงจุ้ย ก็พอจะทำให้เห็นว่าความสดชื่นรื่นเริง ความหวังเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา เมื่อประชาชนรักในกษัตริย์ของตนเอง จึงต้องการให้สิ่งดีๆเกิดขึ้นกับบุคคลที่ตนรักเช่นกัน ต่างกันตรงที่สีเหลืองในทางฮวงจุ้ย เป็นสิ่งที่สูงส่งห้ามใช้ในบางกรณี เพราะต้องสงวนให้กษัตริย์เท่านั้น

    แบ่งการปกครองออกเป็น 3 แคว้น

    1.แคว้นหยาง ประกอบด้วย เมืองหลวง เมืองหยางจื้อ เมืองหยางจง เมืองหยางอวี้

    2.แคว้นเหว่ย ประกอบด้วย เมืองหลวง เมืองเหว่ยชวี่ เมืองเหว่ยซิน เมืองเหม่ยซิง

    3.แคว้นเยี่ยน ประกอบด้วย เมืองหลวง เมืองเยี่ยนซิน เมืองเยี่ยนเล่อ เมืองเยี่ยนส่าง เมืองเยี่ยนชื่อ

     

    ค่าเงิน (เปรียบเทียบเพื่อความเข้าใจง่ายๆนะคะ)

    100 อิแปะ = 1 เหรียญทองแดง   เทียบประมาณ 100 บาท

    10 เหรียญทองแดง = 1 ตำลึงเงิน   เทียบประมาณ 1,000 บาท

    10 ตำลึงเงิน = 1 ตำลึงทอง   เทียบประมาณ 10,000 บาท  

    ฤดูกาล  ฤดูกาลถูกแบ่งออกเป็น 4 ฤดู คือ

    1. ฤดูใบไม้ผลิ (ประมาณเดือนซานเยว่-อู่เยว่)
    2. ฤดูร้อน (ประมาณเดือนอู่เยว่-ปาเยว่)
    3. ฤดูใบไม้ร่วง (ประมาณเดือนจิ่วเยว่-สือเยว่)
    4. ฤดูหนาว (ประมาณเดือนสืออีเยว่-กลางซานเยว่)

    วัน/เดือน กำหนดให้แต่ละเดือนมี 30 วัน

    1. [yīyuè อีเยว่] เดือนมกราคม
    2. [èryuè เอ้อเยว่] เดือนกุมภาพันธ์
    3. [sānyuè ซานเยว่] เดือนมีนาคม
    4. [sìyuè ซื่อเยว่] เดือนเมษายน
    5. [wǔyuè อู่เยว่] เดือนพฤษภาคม
    6. [liùyuè ลิ่วเยว่] เดือนมิถุนายน
    7. [qīyuè ชีเยว่] เดือนกรกฎาคม
    8. [bāyuè ปาเยว่] เดือนสิงหาคม
    9. [jiǔyuè จิ่วเยว่] เดือนกันยายน
    10. [shíyuè สือเยว่] เดือนตุลาคม
    11. [shíyīyuè สืออีเยว่] เดือนพฤศจิกายน
    12. [shíèryuè สือเอ้อเยว่] เดือนธันวาคม

    เทศกาล (นับ  1 เดือนหลังจากเดือนปกติ)

    1.เทศกาลตรุษจีน (ลีชุน)
                เทศกาลตรุษจีน หรือ เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ เทศกาลที่สำคัญมากของชาวจีนทั้งที่แผ่นดินใหญ่และผู้ที่มีเชื้อสายจีนทั่ว โลก จะจัดงานฉลองปีใหม่โดยเริ่มขึ้นในวันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติของจีน โดยจะไปสิ้นสุดในวันที่ 15 ซึ่งตรงกับเทศกาลหยวนเซียว

    2.เทศกาลหยวนเซียว
                หยวนเซียว หนึ่งในเทศกาลสำคัญของชาวจีนมีประวัติความเป็นมานานนับตั้งแต่สมัยฮั่นตะวัน ตก โดยจะจัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย ตามปฏิทินจันทรคติของจีน

    3.เทศกาลเช็งเม้ง (ซิงหมิง)
                เทศกาลเช็งเม้ง หรือ ชิงหมิง เป็นงานที่สำคัญมากที่สุดของชาวจีน และมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 2,000 ปี เริ่มประมาณต้นเดือนเมษายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิ ลูกหลานชาวจีนจะไปไหว้บรรพบุรุษที่สุสานเพื่อแสดงความกตัญญูและรำลึกถึงคุณ งามความดีของบรรพบุรุษ

    4.เทศกาลไหว้ขนมจ้าง (ตวนอู่)
                เทศกาลขนมจ้าง หรือ เทศกาลตวนอู่ (ตวนอู่เจี๋ย) เป็นเทศกาลที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ จัดขึ้นในวันที่ 5 เดือน 5 ตามปฏิทินทางจันทรคติ เพื่อระลึกถึง “ซีหยวน” หรือ “คุกง้วน” กวีผู้รักชาติที่ปลิดชีวิตตนเองโดยการกระโดดลงแม่น้ำฉางเจียง หรือ แม่น้ำแยงซี เนื่องจากถูกขุนนางกังฉินใส่ร้ายเพราะไม่พอใจในความซื่อตรงของซีหยวนจนทำให้สูญเสียผลประโยชน์ นอกจากนี้ทางรัฐบาลจีนยังกำหนดให้วันนี้เป็นวันกวีจีน เนื่องจากซีหยวนเป็นกวีคนสำคัญของจีน

    5.เทศกาลหนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้า (ฉีเฉี่ยวหรือซีซี)
                เทศกาลหนุ่มเลี้ยงวัวกับสาวทอผ้าบ้างเรียกว่า “เทศกาลของหญิงสาว” หรือ “เทศกาลแห่งการเย็บปักถักร้อย” เป็นวันแห่งความรักของจีน ตรงกับคืนแรม 7 ค่ำ เดือน 7

    6.เทศกาลไหว้พระจันทร์ (จงซิว)
                เทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็นเทศกาลที่สืบทอดกันมาเป็นพันปี ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินทางจันทรคติ เนื่องจากเทศกาลนี้จัดขึ้นในช่วงกลางฤดูใบไม้ร่วง จึงเรียกว่า “จงชิว” เพื่อระลึกถึงฉางเอ๋อ เทพธิดาแห่งพระจันทร์ซึ่งเชื่อกันว่าถือกำเนิดในวันนี้ และมีความเชื่อที่ว่าในคืนนี้จะสามารถมองเห็นดวงจันทร์กลม ใหญ่ และสว่างมากที่สุดในรอบปี กิจกรรมต่างๆจึงจัดขึ้นในคืนนี้

    7.เทศกาลฉงหยาง (ฉงจิ่ว)
                เทศกาลฉงหยาง หรือ “ฉงจิ่ว” ตรงกับวันที่ 9 เดือน 9 ตามปฏิทินทางจันทรคติ เป็นเทศกาลที่มีมาตั้งแต่สมัยจ้านกว๋อ ซึ่งเป็นช่วงที่ดอกเก๊กฮวยกำลังเบ่งบาน ผู้ชนในสมัยโบราณจะพากันไปปีนขึ้นเขาเพื่อชมทิวทัศน์และจิบน้ำชาดอกเก๊กฮวย ที่มีสรรพคุณเป็นยาเพื่อป้องกันโรคระบาดที่มักจะเกิดในช่วงนั้นโดยเฉพาะโรค ห่า นอกจากนี้รัฐบาลจีนยังกำหนดให้ฉงหยางเป็นเทศกาลผู้สูงอายุด้วย

    8.เทศกาลตังโจ่ย หรือ เทศกาลฤดูหนาว                                                                                                          เทศกาลฤดูหนาว (ตงจื้อ), มีความหมายถึง วันเหมายัน คือ วันที่พระอาทิตย์จะส่องแสงสั้นที่สุด หรือ วันที่เป็นจุดสูงสุดในฤดูหนาว (โดยประมาณจะตรงกับวันที่ 22 ธันวาคม ของทุกปี แต่ปีที่มีอธิกมาส จะตรงกับวันที่ 21 ธันวาคม)
     

    การนับเวลา

    ยามจื่อ (zǐ) คือ 23.00 – 24.59 น.

    ยามโฉ่ว (chǒu) คือ 01.00 – 02.59 น.

    ยามอิ๋น (yín) คือ 03.00 – 04.59 น.

    ยามเหม่า (mǎo) คือ 05.00 – 06.59 น.

    ยามเฉิน (chén) คือ 07.00 – 08.59 น.

    ยามซื่อ (sì) คือ 09.00 – 10.59 น.

    ยามอู่ (wǔ) คือ 11.00 – 12.59 น.

    ยามเว่ย (wèi) คือ 13.00 – 14.59 น.

    ยามเซิน (shēn) คือ 15.00 – 16.59 น.

    ยามโหย่ว (yǒu) คือ 17.00 – 18.59 น.

    ยามซวี (ū) คือ 19.00 – 20.59 น.

    ยามห้าย (hài) คือ 21.00 – 22.59 น

    1 วันเป็น 12 ชั่วยามดังนั้น เมื่อเทียบกับเวลาสากล 1 ชั่วยามจึงเท่ากับ 2 ชั่วโมง                          

    เค่อ (kè) นับเวลา 1 เค่อเทียบเท่ากับ15 นาที

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×