ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    -เขตการศึกษา- ที่เก็บงานรร.หามีอันใดไม่

    ลำดับตอนที่ #2 : โรคสครับไทฟัส

    • อัปเดตล่าสุด 13 พ.ย. 58


    สครับไทฟัส เป็นไทฟัส (ไข้รากสาดใหญ่) ชนิดหนึ่งซึ่งทำให้มีอาการไข้สูง อาจมีผื่นแดงและสะเก็ดแผลไหม้ เกิดจากการติดเชื้อชนิดหนึ่ง ซึ่งมีตัวไรแดง (อยู่ตามพุ่มไม้) เป็นพาหะนำโรค มักพบในกลุ่มชาวไร่ ชาวสวน นักล่าสัตว์ นักท่องป่า ทหาร นักวิทยาศาสตร์ และผู้ที่ออกไปตั้งค่ายในป่า หากไม่ได้รับการรักษา มักมีไข้นาน ๒-๓ สัปดาห์ บางรายอาจหายได้เอง แต่บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงได้

    ชื่อภาษาไทย  : สครับไทฟัส, ไข้แมงแดง

    ชื่อภาษาอังกฤษ  : Scrub Typhus

    สาเหตุ 

    เกิดจากเชื้อริกเกตเซีย ที่มีชื่อว่า โอเรียนเทียซูซูกามูชิ (Orientia tsutsugamushi ซึ่งเดิมเรียกว่า Rickettsia sutsugamushi หรือ Rickettsia orientalis) โดยมีไรอ่อน (chigger หรือ laval-stage trombiculid mites) เป็นพาหะนำโรค ระยะฟักตัว ๔-๑๘ วัน

    ตัวไรแก่อาศัยอยู่บนหญ้าและวางไข่บนพื้นดิน ไข่จะฟักเป็นตัวอ่อนที่มี ๖ ขาและมีสีแดง ไรอ่อนจะกระโดดเกาะสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์แทะ นก หรือผู้ที่เดินผ่านไปมาเพื่อดูดน้ำเหลืองเป็นอาหาร

    ถ้าคนหรือสัตว์มีเชื้อริกเกตเซียชนิดนี้อยู่ เชื้อก็จะเข้าไปอยู่ในลำไส้และต่อมน้ำลายของไรอ่อน แล้วเจริญแบ่งตัวในขณะที่ไรอ่อนกลายเป็นตัวแก่

    ตัวแก่เมื่อวางไข่ก็จะมีเชื้อโรคแพร่ติดอยู่ เมื่อฟักเป็นไรอ่อน ก็จะเป็นไรอ่อนที่มีเชื้อโรค เมื่อไปกัดคนหรือสัตว์ก็จะแพร่เชื้อให้คนหรือสัตว์นั้นต่อไป

    ในบ้านเราสัตว์ที่เป็นรังโรค (มีเชื้อโรคในร่างกาย) คือ หนูเป็นส่วนใหญ่ ส่วนน้อยอาจพบในกระแต และกระจ้อน สัตว์ที่เป็นรังโรคและไรอ่อนที่เป็นพาหะนำโรค อาจอยู่ตามพื้นที่ที่เป็นทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ ทุ่งหญ้าคา ไร่พริก สวนยาง พุ่มไม้เตี้ยๆ และป่าสูง ซึ่งมีอยู่แทบทุกภาคของประเทศ

    อาการ

    ะพบอาการของโรคสครับไทฟัสเกิดได้ในช่วงประมาณ 6-20 วัน (ส่วนใหญ่ประมาณ 10 วัน) หลังถูกไรอ่อนกัด (ระยะฟักตัวของโรค) โดยอาการที่พบได้บ่อย คือ

    การแยกโรค
    อาการไข้สูง หนาวสั่น มีไข้นาน ๒-๓ สัปดาห์ อาจเกิดจากโรคติดเชื้ออื่นๆ ที่พบได้บ่อยในบ้านเรา เช่น
    •    มาลาเรีย ผู้ป่วยมักมีประวัติอยู่ในเขตป่าเขา หรือเดินทางเข้าไปในป่าเขา จะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะและปวดเมื่อยมาก แต่จะไม่พบสะเก็ดแผลไหม้
    •    ไทฟอยด์ (ไข้รากสาดน้อย) ผู้ป่วยจะมีไข้สูงตลอดเวลา นาน ๒-๓ สัปดาห์ อาจมีอาการปวดแน่นท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก (มักพบในผู้ใหญ่) หรือถ่ายเหลว (มักพบในเด็ก) ร่วมด้วย
    •    เล็ปโตสไปโรซิส (ไข้ฉี่หนู) ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ตาแดง ตาเหลือง (ดีซ่าน) ปวดน่อง มักพบในกลุ่มคนที่ย่ำน้ำหรือลงแช่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ
    •    ไข้เลือดออก ผู้ป่วยจะมีไข้สูงอยู่ตลอดเวลา หน้าแดง ตาแดง ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีจุดแดงจ้ำเขียวขึ้นตามตัว
    •    หัด ผู้ป่วยจะมีไข้สูงตลอดเวลา หน้าแดง ตาแดง เป็นหวัด ไอ คล้ายไข้หวัด มีผื่นแดงขึ้นวันที่ ๔ ของไข้
    การรักษา
    แพทย์จะให้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ เช่น ดอกซีโซคลีน (doxycycline) หรือเตตราไซคลีน (tetracycline) นาน ๓ วัน ไรแฟมพิซิน (rifampicin) นาน ๗ วัน หรืออะซิโทรไมซิน (azithromycin) ครั้งเดียว
    ในรายที่มีอาการรุนแรง เช่น หอบ หัวใจวาย ไตวาย ช็อก หรือหมดสติ จำเป็นต้องรับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล

    ภาวะแทรกซ้อน
    ในรายที่เป็นรุนแรง อาจถ่ายอุจจาระดำ เพ้อคลั่ง หมดสติ หัวใจวาย (กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ) สมองอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ปอดอักเสบ ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน (ARDS) ไตวายเฉียบพลัน หรือภาวะช็อกจากโลหิตเป็นพิษ

    การป้องกัน
    ๑. ถ้าจะออกไปตั้งค่ายในป่า พยายามอย่าเข้าไปในพุ่มไม้ บริเวณที่ตั้งค่ายควรถางให้โล่งเตียน ควรพ่นยาฆ่าไรบนพื้นดิน และไม่ควรนั่งหรือนอนอยู่กับที่นานๆ ควรใส่เสื้อผ้ารัดกุมและทายาป้องกัน
    ๒. กินยาป้องกัน โดยกินดอกซีไซคลีน ๒๐๐ มก. สัปดาห์ละครั้ง ระหว่างที่อยู่ในพื้นที่ที่มีโรคนี้อยู่ โดยให้เริ่มกินครั้งแรกก่อนเดินทาง ๓ วัน และกินต่อจนกระทั่ง ๖ สัปดาห์หลังเดินทางกลับออกมาแล้ว

    สถานการปัจจุบัน

    ปัจจุบัน ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคสครับไทฟัส ดังนั้น การป้องกันโรคสครับไทฟัส คือ เมื่อไปท่องเที่ยวในภูมิประเทศดังกล่าว หรือ การกางเต็นท์นอนบนลานหญ้า หรือการทำงานในพื้นที่มีลักษณะดังกล่าวควร

    • สวมใส่เสื้อผ้า กางเกงแขน/ขายาว ใส่ปลายกางเกงไว้ในรองเท้า สวมถุงน่อง และรองเท้าชนิดหุ้มส้นให้มิดชิด เสื้อควรปิดคอ ใส่ชาย เสื้อไว้ในกางเกง ทั้งนี้เพื่อป้องกันตัวไรกัด
    • ทายาป้องกันแมลง หรือตัวไร แต่ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี เพราะอาจปนเปื้อนเข้าปากจากมือเด็กได้
    • ไม่นั่ง นอนบนหญ้า ฝาง นานๆ หรืออยู่ใกล้ อยู่ใต้ต้นไม้ พุ่มไม้เตี้ยๆนานๆ
    • กางเต็นท์ ในที่โล่งเตียน และได้มีการพ่นยาฆ่าตัวไรแล้ว
    • เมื่อกลับจากเดินป่า หรือทำงาน ถอดเสื้อผ้าออกซักทันทีให้สะอาด แล้วตากแดดจัดให้แห้งสนิท นำกลับมาใช้ใหม่ได้ และต้องอาบน้ำทำความสะอาดเนื้อตัวทันที เพื่อกำจัดตัวไรที่อาจติดอยู่
    • อาจกินยาเพื่อป้องกันการติดเชื้อในกรณีต้องเข้าไปทำงานในพื้นที่เสี่ยง (ไม่แนะนำในนักท่องเที่ยวเพราะไม่ได้ประโยชน์) ทั้งนี้ต้องกินก่อนเข้าพื้นที่ประมาณ 3 วันและกินติดต่อกันทุกๆ 5วัน ไปถึงอีกประมาณ 35 วันหลังกลับจากพื้นที่แล้ว ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาเสมอเพื่อความถูกต้องในการใช้ยา ทั้งชนิด ขนาดยา และระยะเวลาในการใช้ยา
    • การพ่นยาฆ่าตัวไร ในถิ่นที่มีตัวไรอาศัยชุกชุม

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×