ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    -เขตการศึกษา- ที่เก็บงานรร.หามีอันใดไม่

    ลำดับตอนที่ #22 : อารยธรรมch in

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 30
      0
      20 ก.ย. 61

    https://lipzaza852.wordpress.com/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%8A/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99/

    สมัยก่อนประวัติศาสตร์” ศูนย์กลางความเจริญของจีน ระยะแรกอยู่แถบลุ่มแม่น้ำฮวงโห ร่องรอย

    ความเจริญในยุคหินใหม่ คือ วัฒนธรรมยางเชา ซึ่งมีลักษณะเด่น คือ ภาชนะเครื่องปั้นดินเผา เขียนสีแดง น้ำตาล ดำ (?) / ดำ ม่วง(?)

     และวัฒนธรรมยางเชา ซึ่งมีเครื่องปั้นดินเผาสีดำเป็นจุดเด่น และภาชนะเครื่องปั้นดินเผาชนิดสามขา

    “สมัยประวัติศาสตร์ของจีน” เริ่มตั้งแต่สมัยราชวงศ์ซาง (Shang Dynasty) เป็นต้นไป โดยแหล่งอารยธรรมความเจริญในสมัยราชวงศ์ต่างๆ อยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำหวงเหอ (ฮวงโห) และลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง

    (ภาคตะวันออกของจีน) สรุปได้ ดังนี้

    1. ชาง (Shang Dynasty) ประมาณ 1766-1122 ปี
    • การใช้โลหะสำริดทำเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
    • ปกครองแบบนครรัฐ
    • บูชาบรรพบุรุษ
    • การประดิษฐ์ตัวอักษร
    • กระดูกทำนายโชคชะตา - กระดองเต่า
    1. โจว (Chou Dynasty) ประมาณ 1122-221 ปี
    • ปกครอง - กษัตริย์ ตือ โอรสสวรรค์
    • เริ่มต้นยุคศักดินาของจีน
    • ความเจริญด้านภูมิปัญญา กำเนิดลัทธิความเชื่อทางศาสนา 2 ลัทธิ คือ ลัทธิขงจื๊อ(อนุรักษณ์นิยม ชมชอบกับตำรา) และลัทธิเต๋า (เรียบง่าย ปรับเข้าหาธรรมชาติ)
    • ความเจริญทางวัตถุ รู้จักหลอมเหล็กและนำเหล็กมาใช้ทำอาวุธและเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
    1. จิ๋นหรือฉิน(Chin Dynasty) ประมาณ 221-206 ปี
    • สร้างกำแพงเมืองจีน
    • รวบรวมจีนให้เป็นจักรวรรดิ แนวความคิดนิติธรรมนิยม คือ รวบอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง และใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ต่อต้านแนวคิดปราชญ์(ยุคล้างลัทธิขงจื๊อ)
    • สุสานซิวั่งตี่ แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของกองทัพ
    1. ฮั่น (Han Dynasty) ประมาณ 206 ปีก่อนค.ศ. จนถึง ค.ศ. 221
    • ยุคทองด้านการค้า คือ เส้นทางสายไหม (โรมัน อาหรับ อินเดีย) สินค้าที่สำคัญ คือ ผ้าไหม คันฉ่อง สำริด
    • พระพุทธศาสนาเริ่มแพร่หลายและเจริญรุ่งเรืองในจีน ส่งพระถังซำจั๋ง
    • งานเขียนของซื่อหม่าเจียน
    • เครื่องเคลือบสีเขียวมะกอก
    • สุสานราชวงศ์ฮั่นทำด้วยอิฐ มีประติมากรรมขนาดใหญ่

    (ระหว่างนี้คือราชวงศ์ซุย/สุ่ย จีนแตกเป็น3ก๊ก ขุดคลองเชื่อมฮองโหกับแยงซี)

    1. ถัง (Tang Dynasty) ประมาณ ค.ศ. 618-907 ปี
    • ยุคทองอารยธรรมจีน
    • ความเจริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนา ได้แก่ พุทธศิลป์ เช่น พระพุทธรูป เจดีย์ วัด พระโพธิสัตว์ ภาพพุทธประวัติ
    • การส่งเสริมด้านการศึกษามีการสอบแข่งขันเข้าราชการหรือสอบจองหงวน
    • วรรณกรรม เป็นยุคทองของกวีนิพนธ์จีน (หลีป๊อ ตัวแทนของเต๋า)
    • จิตรกรรม วาดภาพทิวทัศน์ (หวาง ไหว)
    • นครฉางอาน เตียงฮัน ศูยน์รวมของซีกโลกตะวันตก
    1. ซ้องหรือซ่ง(Song, Sung.Dynasty) ประมาณ ค.ศ. 960-1279 ปี
    • มีการประดิษฐ์ดินปืน
    • ประดิษฐ์แท่นพิมพ์ก่อนยุโรป 400 ปี
    • มีการฝังเข็ม
    • ก้าวหน้าด้านการเดินเรือ มีการใช้เข็มทิศ และ ลูกคิด
    • การผลิตภาชนะถ้วยกระเบื้องสีขาวและสีเขียวไข่กา มีอิทธิพลต่อสังคโลกของสุโขทัย
    • จิตรกรรม ภาพทิวทัศน์ที่สมบูรณ์ (กว๋อซี)
    • เริ่มมีประเพณีและค่านิยมรัดเท้าสตรีชนชั้นสูงให้เล็ก
    1. หยวนหรือหงวน (Yuan Dynasty) ประมาณ ค.ศ. 1279-1368 ปี
    • เป็นราชวงศ์ต่างชาติ คือ มองโกล
    • มีความเข้มแข็งในการปกครอง
    • มีความเจริญในศิลปะการละคร โดยเฉพาะงิ้ว
    • วรรณกรรมสามก๊ก(?)
    • จิตรกรรมภาพม้า
    1. หมิงหรือเหม็ง (Ming Dynasty)ทประมาณ ค.ศ. 1368-1644 ปี
    • เป็นราชวงศ์ของจีนอย่างแท้จริง
    • อนุรักษ์ศิลปะเลียนแบบราชวงศ์ถังและซ้อง
    • เครื่องเคลือบสีน้ำเงิน-ขาว ลายคราม
    • วรรณกรรม นิยมภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน สามก๊ก และ ไซอ๋ว เด่น
    • สถาปัตยกรรม สร้างพระราชวังกรุงปักกิ่ง หรือ“นครต้องห้าม”
    1. ชิงหรือเช็ง (Ching Dynasty) ประมาณ ค.ศ. 1644-1912 ปี
    • เป็นพวกแมนจู ขัดแย้งกับพวกตะวันตกในยุคจักรวรรดินิยม
    • แพ้สงครามฝิ่นกับอังกฤษ
    • เครื่องเคลือบ ได้แก่ เบญจรงค์
    • จิตรกรรม 2 สำนัก คือ สำนักประเพณีนิยม กับอัตนิยม
    • วรรณกรรมความฝันในหอแดง
    • สถาปัตยกรรม มีการสร้างพระราชวังฤดูร้อนของซูสีไทเฮา

    ค.ศ. 1911 เป็นยุคที่จีนเสื่อมถอยความเจริญ และถูกล้มล้างโดยพวกก๊กมินตั๋ง เป็นระบบสาธารณรัฐ 
    ถูกปฎิวัติโดยพรรคคอมมิวนิสต์ ค.ศ.1949 และเป็นการปกครองแบบคอมมิวนิสต์


    https://sites.google.com/site/prawatisastr2018/xarythrrm-xindeiy


    อินเดีย  แหล่งอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ” ( Indus Civilization ) 


    1.  สมัยอารยธรรมลุ่มแม่น้ำสินธุ ( ประมาณ 2,500-1,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช ) กำเนิดตัวอักษรอินเดียโบราณ ที่เรียกว่า บรามิ ลิปิ” ( Brahmi lipi ) พบหลักฐานเป็นซากเมืองโบราณ 2 แห่ง เป็นอารยธรรมของชนพื้นเมืองเดิม ที่เรียกว่า ทราวิฑ หรือพวกดราวิเดียน ( Dravidian ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ คือ
     

              (1) เมืองโมเฮนโจ ดาโร ( Mohenjo Daro ) ทางตอนใต้ของประเทศปากีสถาน

                     (2) เมืองฮารับปา ( Harappa ) ในแคว้นปันจาป ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน
    มีผังเป็นระเบียบ รับบชลประทาน และการเกษตร

     
    2.  สมัยพระเวท ( ประมาณ 1,500-600 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) เป็นอารยธรรมของชนเผ่าอินโด-อารยัน ( Indo-Aryan ) ซึ่ง อพยพมาจากเอเชียกลาง เข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุและคงคาโดยขับไล่ชนพื้น เมืองทราวิฑให้ถอยร่นลงไปทางตอนใต้ของอินเดีย
    สมัยพระเวทแสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพราหมณ์ หลักฐานที่ทำให้ทราบเรื่องราวของยุคสมัยนี้ คือ คัมภีร์พระเวท” ซึ่งเป็นบทสวดของพวกพราหมณ์ นอกจากนี้ยังมีบทประพันธ์มหากาพย์ที่ยิ่งใหญ่อีก 2 เรื่อง คือ มหากาพย์รามายณะและ มหาภารตะ บางทีจึงเรียกว่าเป็นยุคมหากาพย์

    วิดีโอ YouTube

    สรุปเหตุการณ์สำคัญมหากาพย์รามายณะ

    3.  สมัยพุทธกาล หรือสมัยก่อนราชวงศ์เมารยะ ( Maurya ) ประมาณ 600-300 ปีก่อนคริสต์ศักราช ) เป็นช่วงที่อินเดียถือกำเนิดศาสนาที่สำคัญ 2 ศาสนา คือ ศาสนาพุทธและศาสนาเชน
     
    4.  สมัยจักรวรรดิเมารยะ ( Maurya ) ประมาณ 321-184 ปี ก่อนคริสต์ศักราช พระเจ้าจันทรคุปต์ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์เมารยะได้รวบรวมแว่นแคว้นในดินแดนชมพู ทวีปให้เป็นปึกแผ่นภายใต้จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่เป็นครั้งแรกของอินเดีย 
    สมัยราชวงศ์เมารยะ พระพุทธศาสนาได้รับการอุปถัมภ์ให้เจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะในสมัย พระเจ้าอโศกมหาราช ( Asoka ) ได้ เผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังดินแดนทั้งใกล้และไกล รวมทั้งดินแดนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเผยแพร่เข้าสู่แผ่นดินไทยในยุคสมัยที่ยังเป็นอาณาจักรทวารวดี

    วิดีโอ YouTube

    ศึกสองราชันย์ โปรุส และอเล็กซานเดอร์ 

     
    5.  สมัยราชวงศ์กุษาณะ ( ประมาณ 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช – ค.ศ.320 ) พวกกุษาณะ (Kushana ) เป็น ชนต่างชาติที่เข้ามารุกรานและตั้งอาณาจักรปกครองอินเดียทางตอนเหนือ กษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้ากนิษกะ รัชสมัยของพระองค์อินเดียมีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการแพทย์
    นอก จากนั้น ยังทรงอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ( นิกายมหายาน ) ให้เจริญรุ่งเรือง โดยจัดส่งสมณทูตไปเผยแพร่พระศาสนายังจีนและทิเบต มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีศิลปะงดงาม และสร้างเจดีย์ใหญ่ที่เมืองเปชะวาร์


    6.  สมัยจักรวรรดิคุปตะ ( Gupta ) ประมาณ ค.ศ.320-550 พระเจ้าจันทรคุปต์ที่ 1 ต้นราชวงศ์คุปตะได้ทรงรวบรวมอินเดียให้เป็นจักรวรรดิอีกครั้งหนึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นยุคทองของอินเดีย มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม การเมือง การปกครอง ปรัชญาและศาสนา ตลอดจนการค้าขายกับต่างประเทศ
     
    7.  สมัยหลังราชวงศ์คุปตะ หรือยุคกลางของอินเดีย ( ค.ศ.550 – 1206 ) เป็นยุคที่จักรวรรดิแตกแยกเป็นแคว้นหรืออาณาจักรจำนวนมาก ต่างมีราชวงศ์แยกปกครองกันเอง
     
    8.  สมัยสุลต่านแห่งเดลฮี หรืออาณาจักรเดลฮี ( ค.ศ. 1206-1526 ) เป็นยุคที่พวกมุสลิมเข้ามาปกครองอินเดีย มีสุลต่านเป็นผู้ปกครองที่เมืองเดลฮี
     
    9.  สมัยจักรวรรดิโมกุล ( Mughul ) ประมาณ ค.ศ. 1526 – 1858 พระเจ้าบาบูร์ ผู้ก่อตั้งราชวงศ์โมกุลได้รวบรวมอินเดียให้เป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ได้ชื่อว่าเป็นจักรวรรดิอิสลามและเป็นราชวงศ์สุดท้ายของอินเดีย โดยอินเดียตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี ค.ศ. 1858
    กษัตริย์ราชวงศ์โมกุลที่ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้าอักบาร์มหาราช ( Akbar ) ทรงทะนุบำรุงอินเดียให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุก ๆ ด้าน และในสมัยของชาห์ เจฮัน ( Shah Jahan ) ทรงสร้าง ทัชมาฮัล” ( Taj Mahal ) ซึ่งเป็นอนุสรณ์แห่งความรัก เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานศิลปะอินเดียและเปอร์เซียที่มีความงดงามยิ่ง 

    วิดีโอ YouTube

    ทัชมาฮาล หนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่

    สมัยอาณานิคมอังกฤษ  

        ปลายสมัยอาณาจักรโมกุล กษัตริย์ทรงใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ต้องเพิ่มภาษีและเพิ่มการเกณฑ์แรงงานทำให้ราษฎรอดอยาก และยังกดขี่ทำลายล้างศาสนาฮินดูและชาวฮินดูอย่างรุนแรง  
        เกิดความแตกแยกภายในชาติ เป็นเหตุให้อังกฤษค่อยๆเข้าแทรกแซงและครอบครองอินเดียทีละเล็กละน้อย  
       ในที่สุดอังกฤษล้มราชวงศ์โมกุลและครอบครองอินเดียในฐานะอาณานิคมอังกฤษ  
    สิ่งที่อังกฤษวางไว้ให้กับอินเดียคือ
          
            -  รากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตย แบบรัฐสภา 
            -  การศาล การศึกษา
            - ยกเลิกประเพณีบางอย่าง เช่น พิธีสตี (การเผาตัวตายของหญิงฮินดูที่สามีตาย)  

    สมัยเอกราช   

         หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ขบวนการชาตินิยมอินเดียนำโดย มหาตมะ คานธี และ เยาวราลห์ เนห์รู เป็นผู้นำเรียกร้องเอกราช 
    มหาตมะ คานธี ใช้หลักอหิงสา (ความไม่เบียดเบียน ความสงบ) ในการเรียกร้องเอกราชจนประสบความสำเร็จ หลังจากได้รับเอกราชอินเดียปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย 
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×