ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    -เขตการศึกษา- ที่เก็บงานรร.หามีอันใดไม่

    ลำดับตอนที่ #21 : ข่าวเกี่ยวกับญป. เน้นพวกเศรษฐกิจ

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 15
      0
      7 ก.ย. 61

    2560 ณ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย

          รัฐบาลญี่ปุ่นให้การสนับสนุนเงินจำนวนทั้งสิ้น 2,317,700 บาทแก่โครงการ “The project for providing a wheelchair lift car for the elderly and other vulnerable people in Nonthaburi” ผ่านความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจแบบให้เปล่าเพื่อพื้นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ (จีจีพี) โดยมีพิธีลงนามข้อตกลงเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ระหว่าง ฯพณฯ นายชิโร ซะโดะชิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และนายวันชัย วันชาญเวช นายกเทศมนตรีตำบลบางสีทอง

      เทศบาลตำบลบางสีทองได้จัดตั้งศูนย์ดูแลผู้สูงอายุรายวันแบบไปเช้าเย็นกลับ (ศูนย์ Day care) การดำเนินโครงการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ จัดซื้อรถตู้โดยสารสำหรับรับ-ส่ง จำนวน 1 คัน พร้อมติดตั้งลิฟต์สำหรับยกรถเข็น และจัดซื้ออุปกรณ์ช่วยเดินประเภทต่างๆ สำหรับใช้ในกิจกรรมของศูนย์ Day care และบริการเยี่ยมบ้าน ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่สามารถเข้าถึงบริการสวัสดิการสังคมได้โดยสะดวก และพัฒนาคุณภาพของการบริการทางสังคม

         ในครั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นเล็งเห็นถึงความจำเป็นในการดำเนินโครงการดังกล่าว เนื่องจากเป็นโครงการที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพทั้งทางจิตใจและร่างกายของผู้พิการและผู้สูงอายุ เมื่อพิจารณาจากมุมมองด้านการส่งเสริมความมั่นคงของมนุษย์ จึงได้ตัดสินใจให้การสนับสนุนเงินทุนผ่านโครงการความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจแบบให้เปล่าเพื่อพื้นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ (จีจีพี)


    เศรษฐกิจและธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อลูกค้า

    อีไอซีคาดในปี 2018 ญี่ปุ่นจะเติบโตที่ 1% โดยยังคงมีอุปสงค์ภายในประเทศเป็นปัจจัยสนับสนุนหลัก ทั้งจากการบริโภคครัวเรือน การลงทุนจากเอกชน และการใช้จ่ายของภาครัฐ ในขณะเดียวกัน เขตการค้าเสรีระหว่างญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป (JEFTA) ซึ่งเพิ่งเจรจาสำเร็จไปเมื่อเดือนกรกฎาคม จะช่วยกระตุ้นการค้า โดยเฉพาะการส่งออกอะไหล่รถยนต์ สาเก ชาเขียว และซอสถั่วเหลืองซึ่งได้รับการยกเว้นภาษีในทันที 

    ความเสี่ยงสำคัญต่อเศรษฐกิจญี่ปุ่น คืออัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ และปัญหาขาดแคลนแรงงาน 

     

    กลุ่มทุนญี่ปุ่น ผลกระทบที่ต้องจับตา

      ธุรกิจอสังหา หลังกลุ่มทุนญี่ปุ่นทยอยเข้ามาจับมือกับกับดีเวลลอปเปอร์ชาวไทย ทั้งในโมเดลที่เป็นพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ร่วมลงทุนระยะยาว กับเป็นพาร์ตเนอร์ร่วมทุนรายโครงการ

    อนันดา ร่วมทุนกับ มิตซุย ฟูโดซัง เรสซิเด็นเชียล
    เอพี (ไทยแลนด์) กับมิตซูบิชิ เอสเตท กรุ๊ป
    เสนา ร่วมทุนกับฮันคิว
    ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ ร่วมทุนกับ โนมูระ เรียลเอสเตท
    แสนสิริ ร่วมทุนกับ โตคิว คอร์ปอเรชั่น
    ไซมิส แอสเสท ร่วมทุนกับกลุ่ม เซกิซุย
    วรลักษณ์ พร็อพเพอร์ตี้ ร่วมทุนกับ ชินวะ กรุ๊ป

    สาเหตุที่กลุ่มทุนญี่ปุ่นจับมือดีเวลลอปเปอร์ชาวไทย

    1.เศรษฐกิจญี่ปุ่นยังไม่ฟื้นตัวดี บวกกับอัตราการเกิดลดลง เข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างเต็มตัว ขณะที่หนุ่มสาวคนรุ่นใหม่ก็กระจุกตัวในเมือง และชนบทเหลือเพียงผู้สูงอายุ กดดันทำให้กลุ่มทุนญี่ปุ่นจำเป็นต้องมองหาแหล่งการลงทุนใหม่
    2.AEC มีผลทำให้ตลาดอสังหาฯ ไทยเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น และเมื่อเทียบกับประเทศอื่น การลงทุนในอสังหาฯของไทย ให้ผลตอบแทนดีกว่า
    3.แนวทางการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตลอดจนแผนการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เป็นปัจจัยหนุนที่สำคัญในการช่วยผลักดันประเทศให้มีศักยภาพ
    4.จาก EEC ทำให้เกิดการโยกย้ายกลุ่ม Expat   กลุ่มทุนญี่ปุ่นจึงมีแผนเปิดตัวโครงการอสังหาฯ เจาะลูกค้าญี่ปุ่น
    5.ราคาต้นทุนอสังหาฯของไทยยังอยู่ในระดับที่ไม่สูง เมื่อเทียบกับฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ กวางโจว สิงคโปร์ หรือญี่ปุ่น

     

    สาเหตุที่ดีเวลลอปเปอร์ชาวไทยจับมือกับกลุ่มทุนญี่ปุ่น

    2.นอกจากเงินทุนแล้ว ญี่ปุ่นยังเป็นเบอร์หนึ่งของโลกในเรื่อง Space Design สอดรับกับที่ดินที่ถีบตัวสูงขึ้น
    3.ญี่ปุ่นยังล้ำหน้าในเรื่อง Eldery Products โดยเฉพาะโครงการอสังหา
    4.กลุ่มทุนญี่ปุ่นเป็นมิตรมากกว่า และส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนระยะยาว
    5.ดีเวลลอปเปอร์ไทยสามารถนำดาต้า และโนว์ฮาวการทำตลาดมาเจาะกลุ่มลูกค้าญี่ปุ่น

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×