ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    -เขตการศึกษา- ที่เก็บงานรร.หามีอันใดไม่

    ลำดับตอนที่ #20 : บาบารุ เคอิเค – พิษฟองสบู่ญี่ปุ่น

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 22
      0
      7 ก.ย. 61

    cr. https://aommoney.com/stories/mrpunngern/

      ญี่ปุ่นแพ้ใน
    WW2 หลังจากนั้นทั้งภาครัฐและเอกชนก็ช่วยกันฟื้นฟูให้ประเทศที่กลายมาเป็นเสือเศรษฐกิจแห่งเอเชียได้โดยใช้เวลาไม่นาน ด้วยนโยบาย ความมั่งคั่งทางทรัพยากร ของประเทศ ไม่ใช่ กำลังทหารที่เข้มแข็ง อีกต่อไป แลละด้วยความช่วยเหลือจากสหรัฐฯและประเทศต่างๆ  ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจที่มี GDP เป็นอันดับ  2 รองจากสหรัฐอเมริกา

      ช่วงแรกที่ญี่ปุ่นกำลังฟื้นฟูประเทศ อุตสาหกรรมของญี่ปุ่นจะอยู่ภายใต้การนำของกลุ่มเครือข่ายธุรกิจครอบครัวขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “Keiretsu” อันได้แก่ Sumitomo, Mitsui, Yasuda และ Mitsubishi(มีอาณาจักรธุรกิจยิ่งใหญ่ทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ อุตสาหกรรมหนัก และธนาคาร)

    อุตสาหกรรมการผลิตของญี่ปุ่นเติบโตอย่างรวดเร็วด้วยการเน้น นวัตกรรม ที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการใส่ไอเดียใหม่ๆเข้าไปในสินค้าและกระบวนการผลิต ทำให้ขายสินค้าที่มีคุณภาพได้ในราคาสูง ซึ่งเป็นยุคทองของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์และยานยนต์ เช่น Sony, Hitachi, Nissan, Sega และ Nintendo

      1985 โดยญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวที่ได้กำไรทางการค้าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีหลายประเทศรู้สึกว่าญี่ปุ่นนั้นเอาเปรียบคู่ค้าเกินไป จนเกิดข้อตกลงทางการค้าที่เรียกว่า Plaza Accord ทำให้เงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้น ทั้งข้อตกลงพลาซ่าและเศรษฐกิจภายในประเทศที่ดีขึ้น ทำให้ค่าเงินเยนแข็งขึ้นกว่าเดิม แหล่งเงินกู้ภายนอกประเทศจึงมีต้นทุนต่ำลงสำหรับบริษัทเอกชนสัญชาติญี่ปุ่น

     

    ธนาคารพาณิชย์เริ่มเพิ่มระดับความเสี่ยงที่เกินตัวให้กับตัวเองด้วยการยืมเงินจำนวนมหาศาลจากแหล่งเงินทุนนอกประเทศ ประมาณ 186 ล้านล้านเยน ทำให้ฟองสบู่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ โดยมีสาเหตุมาจาก...

    1 ความเชื่อมั่นในตัวเองของรัฐบาลทำให้เกิดนโยบายการคลังแบบขยายตัว พูดง่ายๆคือรัฐบาลใช้จ่ายอย่างเกินตัว ทำให้เงินทุนล้นตลาด คนญี่ปุ่นต่างนำเงินไปเก็งกำไรในตลาดหุ้น และอสังหาริมทรัพย์

    2 ดูได้จากดัชนีตลาดนิกเกอิที่สูงขึ้นมาสามเท่าตัวในช่วง 1985-1989 มาอยู่ที่ 39,000 จุดและมีมูลค่าตลาดขนาดใหญ่คิดเป็น 1 ใน 3 ของมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก ณ ขณะนั้น  การถือหุ้นไขว้กันของบริษัทในกลุ่ม Keiretsu ที่มีอำนาจการเงินอยู่ล้นเหลือ ทำให้การปั่นราคาหุ้นของบริษัทในเครือที่มีน้ำหนักต่อการเปลี่ยนแปลงของดัชนีนิกเกอินั้นเป็นไปอย่างง่ายดาย

    3 ราคาของอสังหาริมทรัพย์ในย่านธุรกิจอย่างโตเกียวสูงขึ้นกว่า 350 เท่า ราคาแพงกว่าที่ดินย่านธุรกิจสำคัญที่แมนฮัตตันในนิวยอร์ค

    4 วิศวกรรมทางการเงินที่เรียกว่า “Zaitech” ช่วยให้บริษัทต่างๆสามารถนำกำไรจากการเก็งกำไรในสินทรัพย์เข้าไปรวมอยู่ในงบกำไรขาดทุนของบริษัทได้ ทำให้เกิดความโลภ เพราะถ้าบริษัทแสดงตัวเลขกำไรที่สูงขึ้นได้จากการทำธุรกรรม Zaitech บริษัทก็จะสามารถปั่นราคาหุ้นให้สูงขึ้นได้ ผู้ถือหุ้นได้เงินปันผลและ Capital Gain มากขึ้น  บริษัทเอกชนจึงมองหาแหล่งเงินกู้ที่มีภาระดอกเบี้ยต่ำ แล้วใช้เงินที่กู้มาเก็งกำไรในสินทรัพย์ ยิ่งทำให้ราคาของสินทรัพย์ในประเทศสูงขึ้นอย่างรุนแรง ทำให้หุ้นหลายตัวในตลาดกลายเป็นหุ้นที่แพงกว่ามูลค่ามาก

    สถานการณ์ทั้งหมดกลายเป็นต้นเหตุของฟองสบู่เศรษฐกิจที่รอวันแตกในไม่ช้า

    ในปี 1989 รัฐบาลญี่ปุ่นก็เริ่มตระหนักได้ว่าหากปล่อยให้ฟองสบู่ลอยตัวสูงไปกว่านี้ ผลเสียหายที่รุนแรงชนิดประเมินค่าไม่ได้จะตามมา จึงตัดสินใจใช้นโยบายการคลังแบบรัดตัว

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×