ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    -เขตการศึกษา- ที่เก็บงานรร.หามีอันใดไม่

    ลำดับตอนที่ #16 : วัดโพธิ์ - วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

    • เนื้อหาตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 39
      1
      1 ก.ค. 61

    แกะเทป1

    - โบสถ์มีหลังเดียว วัดนี้เรียกว่า พระอุโบสถ เพราะเป็นวัดหลวง/พระอารามหลวง วัดราษฎร์ไม่เรียก

    - แต่ก่อนตอนสร้างในร.๑ไม่กว้างขนาดนี้ ต่อมาร.๓ขยายพระอุโบสถ เพิ่มตลอด ขอที่ดินน้องสาวกรมหลวงนรินทรเทวีสร้างพระนอน ย้ายสร้างวังให้อีกที่ หาช่างฝีมือดีที่สุดวาดลวดลาย(?)โดยรอบทุกที่

    ------ ช่วง8.20พูดถึงหน้าต่างฟังไม่รู้เรื่องอ่ะ มีอะไรหัวใจของวัดก็ไม่รู้.... หลังจากนั้นก็หนังสือ มีเรื่องที่ว่า ญป.จะจดสิทธิบัตรฤๅษีดัดตนแต่ไทยก็ชนะ เพราะชัดเจนว่า ร.๑สร้าง ร.๓บูรณ

    - ระหว่างหน้าต่าง หน้าต่าง มีศิลาจารึก ประวัติสาวกที่พระพุทธเจ้ายกย่อง  ทุกบานช่องว่ามีเรื่องยาวที่วาดอยู่เป็นอดีตชาติของพระพุทธเจ้า มโหสถบัณฑิต พระบัณฑิตแห่งวิทยานิครธ 1ในร้อยเล่ม ควรอ่านเพราะมีการโต้ตอบ ทำคดีความ แก้ปัญหา อ่านแล้วเกิดติปัญญา

    - พระประธานในพระอุโบสถร.๑อัญเชิญมาจากวัดศาลาสี่หน้าอยู่ฝั่งธน(ปจบ. วัดคูหาสวรรค์วรวิหาร) ประดิษฐานพระพุทธเทวปฏิมากร ปางสมาธิ ปางสมาธิคือความมั่นคง เลือกเพราะเพิ่งตั้งราชวงจักรี จะได้สืบสันตติวงศ์ยาวนาน พระพุทธ(ซํมติง..)มี๓ชั้น ชั้นแรกพระราชสรีรางคาร ร.๑ ในฐานพระ

    - พระในวัดส่วนใหญ่อัญเชิญจากข้างนอกหลายจังหวัด สร้างใหม่น้อย

    -----ช่วง14.12เล่าว่าหลายๆอย่างในวัดเป็น ๑๖ ๑๖ ๑๖ เสา๑๖ต้น ใบเสมา๑๖ใบ ฯลฯ

    - สร้างให้อลังเพราะจะสร้างให้เหมือนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สร้างพระระเบียง วัดโพธิ์วัดกษัตริย์สร้าง ไม่โรยร้างรุ่งเรืองดั่งเมืองสวรรค์  --- คนสวยมาวัดโพธิ์ เพราะวัดโพธิ์สวย วัดโพธิ์โสภาสถาพร สง่างอนงามพริ้งทุกสิ่งอัน

    - ประตูประดับมุก เรื่องรามเกียรติ์8ตอน

    - วัดโพธารามมีตั้งแต่สมัยพระเพทราชา ร.๑สร้างวังทอดพระเนตรเห็น ทุบวัดสร้างใหม่ ใหญ่โตคู่ควรกับวังไม่ข่มวัด ๗ปี ๕เดือน ๒๘วัน ตั้งชื่อ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาท(?)  ร.๔ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ร.๖จัดอันดับให้เป็นอันดับ๑ไม่นับวัดพระแก้ว มีชื่อทางการเต็มว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

    - เทศน์มหาชาติ เจ้าอาวาทวัดนี้ประพันธ์ ร.๕ กล่าวว่า เป็นงานของแผ่นดิน เอาเป็นว่าโอรสร.๑องค์ที่๒๘ซึ่งเป็นเจ้าอาวาทประพันธ์ วัดนี้ยูเนสโกให้รางวัล๒รางวัล ๑มรดกโลกแผ่นศิลาจารึก ๒ให้กับบุคคล นักกวีเอกของโลกคนแรกที่เป็นพระ   --คำว่า ออเจ้า อยู่ในกัณฑ์ชูชก

    - เทียนมีกี่ต้องจุดทุกเล่ม ที่จุด๒เพื่อประหยัดเวลา วัดนี้จุดรอบเดียวได้เลย---

    แกะเทป2

    เอาจริงนะ เปิดวิกิเห๊อะะ https://th.wikipedia.org/wiki/วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

    เว็บวัดโพธิ์ค่ะ http://www.watpho.com/index.php

     

    - ตำราการแพทย์ โบราณคดี วรรณกรรม โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนฯลฯ จารึกลงบนแผ่นหินอ่อนประดับไว้ตามบริเวณผนังภายในวัดซึ่งความรู้ที่จารึกไว้บนแผ่นศิลาในปัจจุบันรวมเรียกว่า ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน โดยองค์การยูเนสโกมีมติรับรองขึ้นทะเบียนศิลาจารึกพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นเอกสารมรดกความทรงจำแห่งโลก

    - เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นต้นตระกูลของรัชกาลที่๑ สมัยอยุธยาเป็นราชทูตไปประเทศฝรั่งเศส

    - โป๊ป ร.๗ไปวาติกันพ.ศ.๒๔๗๗นำคัมภีร์ทางพุทธศาสนาไปให้ ผ่านไป๘๐กว่าปี โป๊ปองค์ปจบ.ส่งมาที่วัดโพธิ์ด้วยไม่รู้ว่าภาษาอะไรให้แปล ใช้เวลา๒ปีแปลสำเนานั้นอันเป็นอักษรขอม ภาษาบาลีเรื่องพระมาลัย แล้วนำไปจัดแสดงที่หอสมุดที่วาติกัน ปท.โรม คณะพระอาจารย์ที่แปลได้ไปเยือน

    - ปีนี้วัดโพธิ์๒๓๐ปี  ร.๑มาที่วัดโพธิ์๒๓๓๑ปีนี้สมโภช แผ่นหินของร.๓ ๑๐๐ แผ่นเกี่ยวกับอักษรศาสตร์เป็นฉันท์ เรียงโดยรอบฝั่งละ๕๐แผ่น มีกลบทตั้งแต่ทิศเหนือฝั่งนู้นยาวไป

    - วัดโพธิ์เกิดด้วยอิทธิพลอยุธยาสมัยพระเจ้าบรมโกศ สร้างในวันที่ ๒๐ มีนาคม ๒๒๗๙ ย่อมุมไม้สิบสอง มี๓วัฒนธรรม ไทย จีน ฝรั่ง

    - ความสำคัญคือถือเป็นวัดประจำรัชการ ร.๑   /   ถือเป็นมหาวิทยาลัยในร.๓ ๒๐๐ปีผ่านไปด้วยแผ่นหินที่พังและสูญหายไปมาก เหลือเพียง๑๔๔๐ แผ่นขนาดเล็กและใหญ่ ปี๕๓ ยูเนสโกประกาศให้หินเหล่านี้เป็นมรดกโลก สิ่งที่อยู่ในหินนั้นเป็นศาสตร์  /  ถือเป็นโรงพยาบาลเด็ก(แม่ซื้อ หมอตำแย) โรงพยาบาลผู้สูงอายุ(การนวดภายนอก สมุนไพรรักษาโรคภายใน) โรงพยาบาลสงฆ์ (โยคะ โยคี ฤาษีแต่เดิมมี๘๐ท่า ปจบ.เหลือ๒๔ท่าเพราะพังไปมาก)

    - พระพุทธรูปโบราณ ร.๑นำมา ๑๒๔๘ องค์ ปจบ.เหลือเกือบพันองค์ เป็นโลหะ องค์ที่ดังที่สุดคือองค์พระนอน ไม่ถึงพระนอนไม่ถึงวัดโพธิ์

    - พระระเบียงชั้นในมีพระพุทธรูป๑๕๐องค์ มาจากสุโขทัยอยุธยา

    - อับเฉาแปลว่าถ่วงเรือมา ซื้อมาจากจีนเป็นสินค้า ในร.๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

    - เจดีย์จีน เจดีย์ถะ

    - ช่อฟ้า กษัตริย์ใช้ช่อฟ้า๓ช่อ โอรสาธิราชสร้าง๒ช่อ ราษฎร์ห้ามสร้าง มีปากครุฑ(ในวัดมีแน่ๆ) ปากปลา ฯลฯ มีพระระเบียงสี่ทิศ วัดมีพระวิหารทิศ ๔ทิศ มีกระเบื้องสี่๔ สีขาบหรือสีน้ำเงินคือชั้นนอก สีเขียวคือชั้นในเป็นสีประจำรัชกาลที่๑ พระองค์เกิดวันพุทธ สีเหลืองทอง

    - สมัยอู่ทองศีรษะลักษณะแบบเขมรชัยวรมัน หน้าดุ อยุธยา๔๑๗ปี ตั้งแต่รามาที่๑ ๕ราชวงค์  พระพุทธเจ้าเกิดที่ลุมพินี(เนปาล ปจบ.) อยุธยายุกแรกๆมีขอบผม(ไรพระสก) ผมเล็กเปลือกขนุน เพราะช่วงสงคราม หน้าผสมเขมรไม่ออกแขกนักตามงานช่างปั้นและอิทธิพลที่รับ ยุคกลางๆเริ่มยิ้ม งามอย่างนักรบ ตอนหลังงเริ่มงามอย่างพระทรงเครื่อง สุโขทัยพุทธเข้ามาตอนทราวดีศรีวิชัย เขตสุวรรณภูมิ องค์สีดำคือสำริด คล้ายเวลาสร้างระฆัง ทั้งหมดเกือบพันมีสำริด๒๑องค์ สุโขทัยไม่มีไรพระสก ลักษณะคล้ายแขก จมูกโด่ง ผมใหญ่ มี๓ส่วน พระเศียร  พระเมาลีตรงกลาง พระเกศา พระกัณฑ์ยาว จีวรใต้ถัน มืออวบดัชนีสวยงาม สังฆาฏิคาดทางซ้ายเขี้ยวตะขาบ เข่ายก อกตั้ง หน้านาง คางหยิก องค์งามสุดคือหลวงพ่อชินราช จ.พิษณุโลก

    - ๔ทิศ ๒๔๕องค์  ทิศใต้มี๒ช่อง

    - ช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ทั้งหมด๒๐๐กว่าตัวเป็นไม้ปิดทอง

    - สิงโต กิเลน มังกร หงส์ ถือเป็นสัตว์มงคล วัดโพธิ์ต้องมงคล

    - เฉพาะวัดโพธิ์ซุ้มประตูทางเข้าทรงมงกุฎอย่างไทยกระเบื้องจีน มีอับเฉาเป็นทวารบาน มี๓กลุ่ม ไทยใช้ยักษ์ จีนมีขุนนางบู้-บุ๋น ของแท้หนวดหน้าเส้น สูง๔เมตร ด้านในสุด๒เมตร นู้นนเมตร๕สิบ ฝรั่งเป็นมาโคโปโล

    - ทางบริเวณนี้เรียกชาลาแปลว่าลาน รัตนแปลว่าแก้ว กนกแปลว่าทอง นี่คือภาษาบาลี ฉมอแปลว่าเขา/หิน ร.๓รื้อจากนวังที่วัดพระแก้วเดิมร.๒สร้างสวนขวา สวนซ้ายรื้อมาสร้างมี ๒๔ เขา แต่ละเขามีต้นไม้ให้ร่มเงา เป็นยาเป็นสมุนไพร อาทิ เฟิร์น ว่าน เข็ม หว้า มะขามป้อมสมอ มะกอก ฟ้าทลายโจร กำแพงเจ็ดชั้น (เล่าเรื่องหมอโกมารทัตที่มามารถรู้ว่าต้นไม้ทุกต้นเป็นยา)

    - พระอรหันและกษัตริย์องค์ พระใช้รูป ฤาษีและยักษ์ใช้ตน

    - แต่ละท่าของฤาษีดัดตนรักษาโรค เคยอยู่ในศาลาใน ภาษหลังในสมัยร.๓เอาไว้ข้างนอกและพังลง ข้างในรูปปั้นมีหินเป็นโครง มีแบบที่ปั้นขึ้นใหม่ใช้ทองเหลือง และต่อเติมซ่อมแซมของเก่าด้วย

    - พื้นปูด้วยหินทราย(หินลับมีด) อายุ ๒๐๐ ปี

    - เจดีย์เล็กแบบอยุธยา คือ เจดีย์ราย ของร.๓ มีทั้งหมด๗๑องค์  ฐานสี่เหลียมจัตุรัสเป็นย่อมุมไม้สิบสอง ทรงบัวหงาย ทรงไทยกระเบื้องจีนลายฝรั่ง ตรงกลางคือดอกพุดตาน ใบเทศ

    - เจดีย์สถูปทั้งหมด๙๙องค์

    - วิหารคดมี๔ชุด ภาพข้างบนเป็นภาพรามเกียรติ์ รามายณะ เพราะร.๑เพราะทรงพระราชนิพนธ์ กรมหลวงชุมพร(ลูกร.๕น้องร.๖)เดิมอยู่ศาลนางเลิ้ง ตอนหลังรื้อมาไว้ที่วัดโพธิ์

    - เจดีย์หมู่ของร.๑ มีสี่มุม ตรงกลางมี๕องค์ เรียก พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว 

    - ในเหล่าฤาษีมีหลี่เจ๋ง(?)มาเรียนหมอนวดวัดโพธิ์ตั้งสำนักที่จีน(๑ท่า) มีโยฮัน(๑ท่า)

    -บุ๋นเรียกจอหงวน บู้พวกจปร

    - วัดโพธิ์๕๑ไร่ ๒งาน ๙๙ตารางวา โซนพุทธาวาสมีเนื้อที่ประมาณ๓๐ไร่ โซนพระสงฆ์อยู่มีประมาณ๒๐ไร่ แพงสูงสีขาวแบ่งเขตพุทธาวาส และสังฆาวาสชัดเจน

    --- เล่าความชอบหนังร.ต่างๆ

    - มหาเจดีย์๔ องค์ สีเขียว ร.๑ (ข้างในมีมีพระพุทธรูปพระศรีสรรเพชญ์หุ้มทองที่โดยพม่าเผาบูรณะไม่รอดจึงบรรจุไว้ในเจดีย์) สีขาว(ที่เริ่มออกเหลือง)ร.๒ (ต่ำกว่าร.๑) สีเหลืองทองร.๓ สีขาบ/น้ำเงินร.๔  เรียก  เจดีย์ร่วมสมัย และเป็นอิทธิพลใช้กับกระเบื้องพระระเบียง
    - องค์เขียวเจดีย์สูง๔๑เมตร 

    ---เล่าการนับเครือญาติร.๑-ร.๔

    - ศาลาราย ศาลาแม่ซื้อ จะคลอดลูกต้องนั่งเรือไปหาหมอตำแยพาไปหาแม่ ใช้ไผ่ตัดลงเด็ก ข้างบนเป็นเรื่องราวพระพุทธเจ้า๑๒องค์ ช่องถัดลงมาเป็นเรื่องแม่ซื้อ

    - โบราณเชื้อว่าเชื้อกรรมจะกำหนดเข้าเกิดเป็นเด็ก เทวดามีหน้าที่รักษา แผ่นหินจารึกโรคของเด็กที่เกิด และลักษณะเทวดาที่คุ้มครองเด็ก

    -  วันอ.มีอำนาจ(แม่ซื้อ - ราชสีห์)ถูกกับวันพฤหัส(แม่ซื้อ-พรามณ์)วันครู เป็นนักบวช ครู  วันพฤ.เป็นคนมีความรู้ วันจ.ไม่โลดโผนมีลักษณะเป็นนางฟ้าคู่วันพุธ (แม่ซื้อ-ช้าง)ช่างสื่อสารเจรจา วันอังกระบือดำใจแข็ง วันอังกลัววันศ.(วันศ.สวยงาม)ชอบคนดุ  วันเสาร์เป็นพยัคฆ์ รวยยังไงก็ลำบาก

    - มีตำรายา ต้มสมุนไพรในหม้อใช้เตาฟืนต้มจนงวด

     

    - พระมหาเจดีย์พระศรีสรรเพชญดาญาณ มีพระพุทธรูปยืนสูง๑๖เมตร องค์เขียว

    -ร.๒ให้พ่อ ดิลกธรรมกรกนิธาน ดิลก เจริญ ธรรมกรก เป็นเครื่องกรองน้ำของพระสงฆ์ องค์ขาว

    -ร.๓ พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขารสร้างอีกองค์ องค์เหลืองทอง

    -ร.๔สร้างพระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัยน้ำเงิน องค์เดียวที่สามารถขึ้นไปได้ประดิษฐานพระพุทธรูปไว้ แต่ปัจจุบันอัญเชิญออกและปิดไม่ให้ขึ้น

    เรียกว่ามหาเจดีย์สี่แผ่นดิน

    - พระระเบียงรอบเจดีย์มีพระพุทธรูปยืนสมัยอยุธยา ๑๕๗องค์ จัดเป็นนิทัศน์วัดโพธิ์ เรียกสี่แผ่นดิน

    - ศาลานวดไทย  เวลานวดกดเส้น ตำราแพทย์แผนไทย๖๐แผ่น

    - รอบพระอุโบสถมีพระพุทธรูปประดิษฐ์ ๔ ทิศ

    - พุทธรูปวันเสาร์ ประดิษฐานพระพุทธชินศรีมุนีนาถ เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก ลักษณะคล้ายหลวงพ่อชินราชปางมารวิชัย นำมาจากสุโขทัยนำมาพร้อมกันสององค์ องค์นี้คือพระชินศรีเป็นพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา องค์ทางทิศใต้คือพระชินราช

    - มีสองทิศวาดภาพชาวต่างประเทศ วาดและปั้น รวม๒๐ชาติ ทิศเหนือส่วนมากเป็นแถบอาเซียน ทิศใต้ชาวฝรั่ง ห้องหลังพระพุทธรูปมีของที่ได้จากการซ่อมพระมหาเจดีย์องค์ใหญ่ เจาะคอระฆังเจอพร้อมพระพุทธรูปในมหาเจดีย์ มีตู้พระไตรปิฏกลายรดน้ำทำจากไม้สัก พระไตรปิฎกทำจากใบลาน  มี๓ชั้น ภาพเกี่ยวกับพุทธศาสนา พุทธประวัติ ทศชาติชาดก รามเกียรติ์ ฉากเป็นไทยจีนฝรั่ง

    - ตามผนังบานหน้าต่างมีเมขลากับรามสูร นารายณ์ทรงครุฑ ผนังสีหลุดลอกไปในช่วงร.๕ ไม่สามารถบานประตูมีตราร.๑-ร.๓

    - เดินไปดูพระศิวลึง ของพราหมณ์(ภายหลังมีฮินดู)ส่วนบนศิวะ-ทำลาย ส่วนกลางพระวิษณุ-รักษา ฐานล่างพระพรหมณ์-สร้าง (เล่ารายละเอียดความเชื่อของพรามหมณ์-ฮินดู)

    - พระพุทธเจ้าไม่สนับสนุนไหว้บูชาสิ่งของเทพ การที่เราไหว้คือเราไหว้ในพระคุณ

    - วิหารพระนอน/วิหารพระพุทธไสยาส

    - ผ้ารัดอก แต่เดิมภิกษุณีใช้ บริเวณกำแพงระหว่าบานหน้าต่างมีภาพวาดภิกษุณีนางนางปฏาจาราลูกเศรษฐีที่เสียสามีเสียลูก๒เสียงพ่อแม่ในเวลาไล่เลี่ยกันเสียสติจนวิ่งไปจนถึงวัดที่พระพุทธเจ้าพำนักอยู่  นางวิสาขาสร้างวัด โลหะปราสาทให้พระพุทธเจ้าด้วย ของจริงพังจนไม่เหลือร่องรอย ไม่แก่อายุ๑๒๐ปีลูก๑๐คน

    - ใช้จานเขียนบนหิน

    - ฐานพระประธานยักษ์อยู่ด้านล่างเทวาอยู่เหนือสูงขึ้นไป พระบาทเป็นภาพมงคล๑๐๘ประการ ประดับมุก

    - งานประพันธ์วรรณกรรมใต้แถบด้านล่างหน้าต่างของร.๑และร.๒ที่ร.๓นำมาให้วาดลง ฉากพื้นเพอย่างไทย

    - พระพุทธไสยาส หรือที่เรียกกันว่า พระนอนวัดโพธิ์ ประดิษฐานในพระวิหารพระพุทธไสยาสภายในเขตพุทธาวาส บริเวณมุมกำแพงทิศตะวันตกเฉียงเหนือของวัด เป็นพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์ ก่ออิฐถือปูนลงรักปิดทอง ขนาดองค์พระยาว ๑ เส้น ๓ วา (๔๖ เมตร) สูงจากพื้นถึงยอดพระเกตุมาลา ๑๕ เมตร เฉพาะพระพักตร์จากไรพระศก (ไรผม) ถึงพระหนุ (คาง) ยาว ๑๐ ศอก (๕ เมตร) กว้าง ๕ ศอก (๒.๕๐ เมตร) พระพุทธบาท ยาว ๕ เมตร สูง ๓ เมตร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในคราวปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนครั้งใหญ่เมื่อ จ.ศ.๑๑๙๓ พ.ศ.๒๓๗๕  

     

     

    พระระเบียง

    พระระเบียงชั้นในประดิษฐานพระพุทธรูป  ๑๕๐ องค์ พระระเบียงชั้นนอกประดิษฐานพระพุทธรูป ๒๔๕ องค์ เป็นพระพุทธรูปที่รัชกาลที่  โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือ ปัจจุบันทางวัดได้บูรณปฏิสังขรณ์ลงรักปิดทอง พระพุทธรูปทุกองค์ล้วนแต่เป็นเนื้อสำริด มีพุทธลักษณะงดงามอร่ามตา เป็นพุทธศิลป์ในยุคสมัยต่างๆ เช่น สุโขทัย เชียงแสน ลพบุรี อู่ทอง และอยุธยา โดยทั่วไปที่พบได้มากคือ

    แบบสมัยสุโขทัย  

    ได้รับอิทธิพลในการสร้างจากศิลปะลังกา และพัฒนารูปแบบจนมีลักษณะเฉพาะของตัวเองเกิดขึ้น มีพระพักตร์รูปไข่ ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีเป็นเปลว พระขนงโก่ง พระเนตรเหลือบลงต่ำ พระนาสิก โด่ง พระโอษฐ์ยิ้ม หน้านาง คางหยิก พระเมาลีตรงกลางศีรษะ พระกัณฑ์ยาว พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ตามแบบลักษณะมหาบุรุษจากอินเดีย ครองจีวรห่มเฉียง จีวรใต้ จีวรยาวลงมาถึงพระนาภี ปลายเป็นเขี้ยวตะขาบถัน มืออวบดัชนีสวยงา ชายปลายนิ้วพระหัตถ์ทั้ง ๔ ยาวเสมอกัน มี๓ส่วน พระเศียร  สังฆาฏิคาดทางซ้ายเขี้ยวตะขาบ

    องค์งามสุดคือหลวงพ่อชินราช จ.พิษณุโลก

     

    แบบสมัยอยุธยา

    พระพุทธรูปในสมัยอยุธยาตอนต้นเป็นศิลปะที่สืบต่อจากพระพุทธรูปแบบอู่ทอง ได้รับอิทธิพลแบบเขมรมาก  มีไรพระศก พระเกศาเล็กดุจเปลือกขนุน พระพักต์ดุอย่างชายชาตินักรบ ชายจีวรหรือสังฆาฏิตัดเป็นเส้นตรง ประทับขัดสมาธิราบ ปางมารวิชัยและมีฐานเป็นหน้ากระดานแอ่นเป็นร่องเข้าข้างใน ต่อมาได้เกิดรูปแบบใหม่ขึ้นคือพระพุทธรูปทรงเครื่อง พระโอษฐ์เริ่มมีรอยยิ้ม

    แบบสมัยรัตนโกสินทร์

        พระรัตนฯ ส่วนใหญ่เป็นการเลียนแบบพระพุทธรูปสมัยต่างๆ มาผสมผสาน ทั้งสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาเป็นพื้น มีลักษณะพระศกละเอียด พระเกตุมาลาคล้ายอุณาโลมเป็นเปลวสูง พระสังฆาฏิยาว เอกลักษณ์สำคัญที่จะใช้เป็นหลักในการพิจารณาพระพุทธรูปสมัยรัตนโกสินทร์คือ การลงรักปิดทองบนองค์พระรวมถึงการฝังพลอย, มุก, กระจก หรือสีลงยา ด้วยช่างฝีมือของไทยมีการพัฒนาด้านศิลปกรรมมากขึ้น จึงมีการหล่อพระพุทธรูปด้วยโลหะ การปั้นด้วยดิน การแกะด้วยไม้ เป็นต้น พุทธลักษณะจะเป็นการแสดงพระอิริยาบถต่างๆ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวกองค์สำคัญๆ หรือแสดงปางต่างๆ  เนื่องจากได้รับอิทธิพลเกี่ยวกับคติความเชื่อที่สืบทอดมาว่า พระมหากษัตริย์มีความยิ่งใหญ่มาก จึงต้องสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างอลังการ เพื่อเป็นการแสดงออกถึงพระราชอำนาจในฐานะของธรรมราชา บางองค์จะมีฉัตรเป็นชั้นๆ ในส่วนที่เป็นเครื่องทรงหรือที่ฐานเป็นการเน้นในคติเทวราชาซึ่งค่อยๆคลี่คลายมาเป็นคติจักรพรรดิราช  นอกจากอิทธิพลสมัยต่างๆยังมีการรับเอาศิลปะจากต่างชาติเข้ามามาก  ทั้งการรับเอาศิลปะแบบจีนเข้ามาเน้นไปที่องค์ประกอบต่างๆ ทางด้านอื่นที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา  เช่น  รูปปั้นยักษ์   พระปรางค์  และอิทธิพลศิลปะตะวันตกนั้น มักจะมีอิทธิพลต่อศิลปะไทยในด้านสถาปัตยกรรมเสียส่วนใหญ่ เช่น พระอุโบสถ  พระวิหาร  เมรุ  กุฏิ  ศาลาการเปรียญ  เป็นต้น หลังคาเป็นทรงไทย   แต่ตัวอาคารเป็นทรงตะวันตก  

              ในสมัยรัชกาลที่ ๓ นี้เอง พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด พระองค์ทรงเป็นผู้ริเริ่มสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องปางห้ามสมุทรทรงเครื่องใหญ่อย่างกษัตริย์ซึ่งได้รับอิทธิพลศิลปมาจากสมัยอยุธยาตอนปลาย มีการประดับกระจกหรืออัญมณีสีต่างๆลงในศิราภรณ์เป็นประกายแวววับ ทรงสร้างพระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระเสรฐตมมุนี พระพุทธไตร รัตนายก(หลวงพ่อโต) พระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพนฯ เป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่ที่สุด ในกรุงเทพฯ เป็นพระนอนที่มีความงดงามโดยเฉพาะที่ฝ่าพระบาท ทำเป็นลายประดับ มุกภาพมงคลร้อยแปด และพระองค์ยังทรงเป็นผู้ริเริ่มสร้างพระพุทธรูปปางต่างๆขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปางห้ามสมุทรถือเป็นต้นกำเนิดของพระพุทธรูปทรงเครื่องในสมัย รัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยา  พระพุทธรูปปางมารวิชัย วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร พระพุทธรูปอยู่ในพระอิริยาบถประทับ ขัดสมาธิ พระหัตถ์ซ้ายวางหงายบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางบนพระชานุ นิ้วพระหัตถ์ชี้ลงพื้นธรณี ซึ่งเป็นที่นิยมสร้างเป็นพระประธานในพระอุโบสถ

     

     

    พระวิหาร๔ทิศ

    - พระวิหารทิศตะวันออกประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยนามว่า “พระเจ้าตรัสในควงไม้พระมหาโพธิ์” (พระพุทธเจ้าตรัสรู้ประทับใต้ต้นโพธิ์) ต่อมารัชกาลที่  ถวายพระนามใหม่ว่า “พระพุทธมารวิชัย อภัยปรปักษ์อัครพฤกษ์โพธิภิรมย์ อภิสมพุทธบพิตร” มุขหลังประดิษฐานพระพุทธรูปยืนสูง ๑๐ เมตร หล่อด้วยสำริดอัญเชิญมาจากวัดพระศรีสรรเพ ชญ์ เมืองสวรรคโลก กรุงเก่ามีนามว่า “พระพุทธโลกนาถศาสดาจารย์และมีแผ่นศิลาจารึกการสถาปนาวัดโพธิ์ที่ผนังด้านตะวันตก มีซุ้มประตูหิน (แบบจีน) หน้าพุทธโลกนาถบางท่านเรียกว่าโขลนทวาร” (ประตูป่าหรือประตูสวรรค์) เข้าใจว่านำมาจากประเทศจีน 

                        พระเจ้าปเสนทิโกศล กษัตริย์แห่งนครสาวัตถีสั่งให้ช่างหลวงทำพระพุทธรูปลักษณะคล้ายองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วยไม้แก่นจันทน์หอมอย่างดี ประดิษฐานไว้ในพระราชนิเวศน์เพื่อสักการบูชา พระไม้แก่นจันทร์องค์นี้ถือว่าเป็นพระพุทธรูปองค์แรกในพระพุทธศาสนา ครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และได้มาทรงเยี่ยมพระเจ้าปเสนทิโกศล พระพุทธรูปไม้แก่นจันทน์ได้ ลอยจากพระแท่น เพื่อให้องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ทรงยกพระหัตถ์ซ้ายห้าม พระแก่นจันทร์จึงกลับไปประทับที่แท่นเช่นเดิม และพระองค์ทรงบอกถึงอานิสงค์ในการสร้างรูปเปรียบของพระองค์ให้พระเจ้าปเสนทิโกศลรับฟัง

    - พระวิหารทิศใต้ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปฐมเทศนาอัญเชิญมาจากกรุงเก่า นามว่า “พระพุทธชินราช วโรวาทธรรมจักร อัครปฐมเทศนา นราศภบพิตร” หรือ พระพุทธชินราช

                         ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 หรือวันเพ็ญเดือนอาสาฬหปุณมี สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักรกัปปวัตนสูตร อันเป็นปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์  ทรงแสดงมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง ได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นข้อปฏิบัติให้ถึงทางดับทุกข์ และอริยสัจ ๔ หรือความจริงอันประเสริฐ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค และเมื่อแสดงธรรมจบลง โกณฑัญญพราหมณ์ (พระอัญญาโกณฑัญญะ) หนึ่งในปัญจวัคคีย์ได้ดวงตาเห็นธรรม (สำเร็จเป็นพระโสดาบัน) ในวันนั้น เป็นบุคคลแรกในพุทธศาสนาที่ได้สำเร็จเป็นอริยบุคคล

    - พระวิหารทิศตะวันตก ประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก อยู่ในอิริยาบถนั่งขัดสมาธิราบ ลักษณะคือ พระชงฆ์ขวาวางอยู่เหนือพระชงฆ์ซ้าย ทำให้แลเห็นฝ่าพระบาทขวาเพียงข้างเดียว ในขณะที่ฝ่าพระบาทซ้ายอยู่ใต้พระชานุขวา พระหัตถ์ทำปางมาร อัญเชิญมาจากลพบุรี นามว่า “พระพุทธชินศรีมุนีนาถ อุรุคอาสนบัลลังก์ อุทธังทิศภาคนาคปรก ดิลกภพบพิตรหรือ พระพุทธชินศรี  ลักษณะคล้ายหลวงพ่อชินราชปางมารวิชัย นำมาจากสุโขทัยนำมาพร้อมกับพระพุทธชินราชที่ประดิษฐาน ณ พระวิหารทิศใต้   ประจำวันเสาร์

                         ครั้นพระพุทธองค์เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ร่มไม้อชปาลนิโครธ เกิดฝนตกพรำอยู่ไม่ขาดสายตลอด ๗ วัน  ในวันที่ ๖ พญานาคมุจจลินท์ ผู้เป็นราชาแห่งนาค ได้ออกจากนาคพิภพ ทำขนดล้อมพระวรกาย ๗ ชั้น แล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเบื้องบน เหมือนกั้นเศวตฉัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความประสงค์มิให้ฝนและลมหนาวสาดต้องพระวรกาย ทั้งป้องกันเหลือบ ยุง บุ้ง ร่าน ริ้น และสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวลด้วย ครั้งฝนหายแล้ว พญามุจจลินท์นาคราชจึงคลายขนด จำแลงเพศเป็นมาณพน้อยยืนทำอัญชลีถวายนมัสการพระพุทธองค์ในที่เฉพาะพระพักตร์ 

    - พระวิหารทิศเหนือประดิษฐานพระปางป่าเลไลยก์ นามว่าพระพุทธปาลิไลยภิรัติไตรวิเวก เอกจาริกสมาจาร วิมุติญาณบพิตร” หรือ พระพุทธปาลิไลย สูงแปดศอกคืบห้านิ้ว เป็นพระพุทธรูปที่หล่อขึ้นใหม่ในรัชกาลที่  เพียงองค์เดียวเมื่อครั้งทรงสถาปนาวัดพระเชตุพนฯ นอกจากนี้ยังสร้างรูปช้างถวายคนทีน้ำ และรูปลิงถวายรวงผึ้งด้วย  ประจำวันพุธกลางคืน

                          พระภิกษุในวัดโฆสิตาราม กรุงโกสัมพี ทะเลาะวิวาทกัน พระพุทธเจ้าทรงระอาพระทัยจึงเสด็จไปจำพรรษาอยู่ในป่าแถบหมู่บ้านปาลิเลยยกะ โดยมีพญาช้างปาลิเลยยกะคอยปรนนิบัติ เมื่อลิงเห็นเข้าก็นำรวงผึ้งไปถวายบ้างแต่ปรากฏว่าพระพุทธเจ้าไม่รับเพราะว่าในรวงผึ้งมีตัวอ่อนอยู่เมื่อรู้ดังนั้นลิงจึงดึงตัวอ่อนออกแล้วนำไปถวายพระพุทธเจ้าอีกครั้ง และทั้งคู่คอยปรนนิบัติจนพระองค์เสด็จกลับ

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×