-เขตการศึกษา- ที่เก็บงานรร.หามีอันใดไม่
-
นิยาย-เรื่องยาว :
มีสาระ/ ความรู้รอบตัว Tags : งาน, osamatsu-san
ผู้แต่ง : @Pom
My.iD :
https://my.dek-d.com/5354/writer/
ตอนที่ 14 : ที่ราบลุ่มแม่น้ำ
ที่ราบแม่น้ำ (river plains) หรือที่ราบลุ่มแม่น้ำ (allurival plains) เป็นที่ราบที่มีลักษณะสำคัญคือมีแม่น้ำไหลผ่านบนพื้นที่ของที่ราบ และปรากฏลักษณะชัดเจนในบริเวณปากแม่น้ำ นอกจากนี้บริเวณที่ราบแม่น้ำจะมีลักษณะภูมิประเทศอื่นปะปนอยู่ด้วย เช่น
- ที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมบริเวณปากแม่น้ำ (deltaic plains) เกิดจากแม่น้ำนำตะกอนดินมาทับถมให้ตื้นเขินขึ้นที่บริเวณปากแม่น้ำ ลักษณะของพื้นที่ที่ตื้นเขินจะคล้ายสามเหลี่ยม เช่น บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา (เริ่มตั้งแต่จังหวัดชัยนาทลงมาถึงอ่าวไทย มีบางส่วนของจังหวัดชลบุรีและราชบุรีที่อยู่ตอนล่าง)
- ที่ราบน้ำท่วมถึง (flood plains) เป็นที่ราบที่อยู่ริมแม่น้ำ จะมีน้ำท่วมเอ่ออยู่เป็นเวลานาน
- ลานตะพักลำน้ำ (river tereace) เป็นที่ราบริมแม่น้ำที่แม่น้ำกัดเซาะพื้นผิวโลก และนำตะกอนมาทับถมไว้ เมื่อแม่น้ำกัดเซาะจนพื้นผิวโลกมีระดับลึกลงไป จะกลายเป็นที่ราบลานตะพักลำน้ำไว้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดในบริเวณตอนกลางของลำแม่น้ำ ซึ่งพื้นที่นั้นจะถูกยกตัวให้สูงขึ้น ทำให้น้ำท่วมไม่ถึง
ที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นบริเวณที่อุดมสมบูรณ์มากเพราะได้รับตะกอนต่างๆที่แม่น้ำพัดพามา อาจมีน้ำท่วมขังในฤดูน้ำหลาก เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคา แม่น้ำแยงซีเกียง แม่น้ำฮวงเหอ แม่น้ำเจ้าพระยา เป็นต้น
ปัจจัย
ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบลุ่มแม่น้ำ เกิดจากกระบวนการทับถมของตะกอนขนาดต่างๆ ทางด้านใน ของทางโค้งแม่น้ำ ซึ่งเป็นการทับถมในตัวของแม่น้ำไปเรื่อยๆ ในขณะที่ลำน้ำไหลไป ลักษณะดังกล่าว บริเวณด้านข้างริมน้ำด้านหนึ่งจะถูกกัดเซาะออกไปทับถมยังอีกด้านหนึ่งของลำน้ำ นอกจากนั้นการเกิดที่ราบลุ่มแม่น้ำยังเกิดจากการทับถมในขณะที่เกิดน้ำท่วมฝั่ง ตะกอนที่พัดพามากับน้ำจะตกทับถมริมสองฝั่งแม่น้ำในขณะที่น้ำท่วมล้นเอ่อสองฝั่ง ทำให้มีการตกทับถมของตะกอนเป็นบริเวณกว้าง เกิดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณตอนกลางของประเทศไทย เป็นต้น
ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำรูปโค้ง (Arcuate Delta) เกิดจากการที่กระแสน้ำพัดพาเอาตะกอนต่างๆ มาตกทับถมกันโดยได้รับอิทธิพล จากกระแสน้ำชายฝั่ง กระแสน้ำจะพัดพาทำให้ฐานของดินดอนสามเหลี่ยมเป็นรูปโค้งขึ้นมา เช่นดินดอนสามเหลี่ยมบริเวณปากแม่น้ำไนล์ ประเทศอียิปต์ มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือรูปพัด
ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำรูปยาว (Elongated Delta) เป็นลักษณะของดินดอนสามเหลี่ยมที่มีส่วนยาวมากกว่าส่วนกว้างสันนิษฐานว่าเป็นเพราะน้ำในแม่น้ำมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำทะเล เมื่อไหลลงสู่ทะเลตะกอนต่างๆ จึงไม่มีการแพร่กระจายออก ยังคงรักษารูปของลำน้ำในทะเลได้ระยะหนึ่ง และตะกอนมีการตกทับถมตัวกันมีผลทำให้ดินดอนสามเหลี่ยมที่เกิดจากการทับถมเป็นรูปยาว
ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำรูปตีนกา (Bird Foot Delta) มีลักษณะเป็นแฉกๆ เหมือนตีนกาเพราะมีลำน้ำย่อยแยกหลายสาย เกิดจาก เมื่อธารน้ำไหลออกมาถึงบริเวณปากแม่น้ำที่ติดต่อกับชายฝั่งทะเลความเร็วของกระแสน้ำมีอัตราลดลงอย่างทันทีทันใด ทำให้เกิดการตกทับถมของดินตะกอนบริเวณปากแม่น้ำมากกว่าอัตราการพัดพาของกระแสน้ำชายฝั่ง และธารน้ำมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำทะเลชายฝั่ง ทำให้ธารน้ำมีการไหลแตกออกเป็นสายย่อยๆ คล้ายตีนกา หรือรูปนิ้วมือ
0 ความคิดเห็น