ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    -เขตการศึกษา- ที่เก็บงานรร.หามีอันใดไม่

    ลำดับตอนที่ #12 : ผลกระทบจากแผ่นดินไหว

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 20
      0
      7 มี.ค. 60

    ประโยชน์
     -          ทางด้านการศึกษา     นักวิทยาศาสตร์ศึกษาโครงสร้างภายในโลก ว่าโลกแบ่งเป็นชั้นๆ ประกอบด้วย แกนโลกชั้นใน แกนโลกชั้นนอก เนื้อโลก และเปลือกโลก จากการแปลความหมายลักษณะ และช่วงเวลาที่คลื่นไหวสะเทือนใช้เวลาเดินทางสะท้อนรอยต่อของชั้นโลกกลับมายังผิวดิน โดยคลื่นไหวสะเทือนสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การขยับตัวของรอยเลื่อนมีพลัง ภูเขาไฟปะทุ ระเบิดนิวเคลียร์ หรืออุกกาบาตตก 
                 ถ้าพิจารณาลักษณะการขยับตัวของรอยเลื่อนมีพลัง สามารถวิเคราะห์ถึงทิศทางของระบบแรงในเปลือกโลก ซึ่งนำไปใช้คาดการณ์วิวัฒนาการของรอยเลื่อนไม่มีพลัง และเชื่อมโยงไปถึงการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกในอดีต ในขณะที่ไม่สามารถระบุวันเวลาการเกิดแผ่นดินไหวล่วงหน้าได้ แต่แผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นอย่างผิดปกติใกล้ภูเขาไฟมีพลัง สามารถช่วยประเมินการระเบิดของภูเขาไฟล่วงหน้าได้

     -           ทางด้านการท่องเที่ยว     ผลจากแผ่นดินไหวอาจทำให้เกิดแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะรอยเลื่อนที่เป็นตัวการทำให้เกิดแผ่นดินไหว  เช่น หน้าผา สันเขา หุบเขา การยกตัวหรือยุบตัวของแผ่นดิน การเลื่อนหรือเหลือมกัน 
                 การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหวในรูปแบบพิพิธภัณฑ์หรือการจัดนิทรรศการ เป็นสิ่งที่ช่วยเตือนคนรุ่นใหม่ให้ตระหนักถึงอันตรายและความสูญเสียในอดีต เพื่อเตรียมรับมือกับแผ่นดินไหวครั้งต่อไป 

     -          ทางด้านความมั่นคง     การทดสอบระเบิดขนาดใหญ่ เช่น ระเบิดนิวเคลียร์ ซึ่งสามารถทำให้แผ่นดินไหวได้ คลื่นจากแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นจะถูกตรวจวัดได้โดยสถานตรวจวัดแผ่นดินไหวทำให้ทราบถึงตำแหน่งที่เกิดได้

     -          ทางด้านเศรษฐกิจ     การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิประเทศ   ส่วนใหญ่เป็นผลจากการขยับตัวของรอยเลื่อนมีพลัง  บริเวณที่เป็นแนวรอยเลื่อนจะมีการแตกของหิน มักเป็นบริเวณที่ถูกกัดเซาะจากแม่น้ำได้ง่าย ทำให้เกิดเป็นแนวเส้นทางแม่น้ำ เส้นทางตามแนวรอยเลื่อนเหล่านี้จึงถูกใช้ประโยชน์ในด้านการคมนาคมขนส่ง ทำเขื่อน หรืออ่างเก็บน้ำ นอกจากนี้ อาจเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดการสะสมตัวของทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกมีการมุดตัว ภูเขาไฟ แนวรอยเลื่อนที่มีสายแร่น้ำร้อนผ่าน หรือรอยเลื่อนที่ก่อให้เกิดโครงสร้างสะสมปิโตรเลียม ซึ่งการเกิดแผ่นดินไหวซ้ำๆ อาจมีส่วนทำให้สายแร่น้ำร้อนมีความเข้มข้นของสารละลายทองคำมากขึ้น จากงานวิจัยจากออสเตรเลีย (Weatherley & Henley, 2013) เสนอแนวคิดว่า การเกิดรอยแตกจากแผ่นดินไหวเป็นการเพิ่มช่องว่างในหินอย่างฉับพลัน ปลดปล่อยแรงกดดันของสายแร่อย่างรวดเร็ว น้ำแร่ส่วนหนึ่งกลายสภาพเป็นไอน้ำ สารละลายน้ำแร่ทองคำเข้มข้นที่เหลือจึงตกผลึก 


     ผลเสีย
     ต่อมนุษย์
     1.ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย 
       1.1ประชาชนได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเศษสิ่งปรักหักพังและการล้มทับของสิ่งก่อสร้างต่าง 
      1.2ที่อยู่อาศัยพังเสียหายไม่สามารถเข้าไปอยู่อาศัยได้ ทำให้ไร้ที่อยู่อาศัย 
       1.3ระบบสาธารณูปโภคได้รับความเสียหาย อาจเกิดการระบาดของโรคต่าง ๆ 
      1.4เกิดเหตุอัคคีภัยหรือไฟฟ้าลัดวงจร ทำให้ประชาชนบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
       1.5สุขภาพจิตของผู้ประสบภัยเสื่อมลง

     2.ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
       2.1ระบบธุรกิจหยุดชะงักเนื่องจากระบบการคมนาคมสื่อสารถูกทำลายไม่มีการประกอบหรือดำเนินธุรกรรม หรือการผลิตใด ๆ
       2.2รัฐต้องใช้งบประมาณในการดูแลสุขภาพการรักษาพยาบาลผู้ประสบภัยการฟื้นฟูระบบสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะต่างๆตลอดจนการก่อสร้างที่อยู่อาศัยของประชาชน และหน่วยงานราชการต่างๆส่งผลถึงงบประมาณที่ขาดหายไปในการพัฒนาประเทศ
       2.3 พืชผลทางการเกษตรเสียหาย


     ต่อธรรมชาติ

     1วันสั้นลง 
        หลังจากเกิดเหตุ มีการตรวจพบว่า แผ่นดินไหวไปเร่งการหมุนของโลก ส่งผลให้เวลาหายไปวันละ 1.8 ไมโครวินาที (1 ในล้านส่วนวินาที) ริชาร์ด กรอส (Richard Gross) นักธรณีฟิสิกส์ ห้องปฏิบัติการจรวดขับดัน ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (NASA's Jet Propulsion Laboratory in Pasadena, Calif.) เป็นผู้คำนวณพบเวลาที่หายไป กล่าวว่า ที่โลกหมุนเร็วขึ้น เพราะมวลของโลกเกิดการกระจายตัวออกไปหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว
      
    2 สนามโน้มถ่วงโลกเปลี่ยนไป
         แผ่นดินไหวที่ทรงพลังมาก ทำให้สนามโน้มถ่วงโลกในบริเวณนั้นเบาบางลงไป ซึ่งดาวเทียมเกรซ (Gravity Recovery and Climate Experiment: GRACE) ได้ตรวจจับ และพบว่าสนามโน้มถ่วงบริเวณนั้นอ่อน หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว
     
    3 ชั้นบรรยากาศสะเทือน
         แผ่นดินไหวขนาดยักษ์นั้นสะเทือนถึงชั้นบรรยากาศ ผลวิจัยชี้ว่า การเคลื่อนไหวที่พื้นผิวและสึนามิ ก่อให้เกิดคลื่นพุ่งสู่ชั้นบรรยากาศ โดยแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นก็พบแรงอนุภาคคลื่นที่พุ่งสูงขึ้นไปถึงชั้นไอโอโนสเฟียร์ ด้วยความเร็วประมาณ 800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยนักวิทยาศาสตร์ตรวจพบความหนาแน่นของอิเล็กตรอนที่ชั้นดังกล่าว หลังจากเกิดแผ่นดินไหว 7 นาที
     
    4 ภูเขาน้ำแข็งทะลาย
         ความเสียหายได้สะเทือนไปไกลถึงภูเขาน้ำแข็งซัลซ์เบอร์เกอร์ ที่มหาสมุทรแอนตาร์ติกา (Antarctica's Sulzberger) ซึ่งดาวเทียมสามารถตรวจจับคลื่นสนามเข้ากระแทก จนแตกออกมาเป็นก้อนน้ำแข็ง หลังจากเกิดแผ่นดินไหวไปแล้ว 18 ชั่วโมง

     5 ธารน้ำแข็งไหลเร็วขึ้น 
        ห่างออกไปจากชายฝั่งญี่ปุ่นนับพันกิโลเมตร คลื่นแผ่นดินไหวส่งผลต่อการไหลของธารน้ำแข็งวิลลานส์ (Whillans glacier) ในแอนตาร์ติกาให้เร็วขึ้นชั่วครู่ ซึ่งสถานีจีพีเอสที่ขั้วโลก พบการเดินทางของน้ำแข็งเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงเวลานั้น 
     
    6 แผ่นดินไหวขนาดเล็ก แพร่กระจายทั่วโลก
          แผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์ ยังคงมีอาฟเตอร์ช็อกตามมาเป็นระยะ ไม่ใช่แค่เฉพาะในพื้นที่ศูนย์กลางเท่านั้น  มีหลักฐานว่า แผ่นดินไหวญี่ปุ่นส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดเล็กรอบโลก และส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเขตแผ่นดินไหว เช่น ไต้หวัน, อลาสกา และใจกลางแคลิฟอร์เนีย โดยจะมีขนาดไม่เกิน 3 ริกเตอร์  แผ่นดินไหวบางเหตุการณ์ที่เกิดในพื้นที่ที่ไม่อยู่บนแผ่นเปลือกโลก เช่น กลางเนบราสกา, อาร์คันซัส ,ใกล้กับปักกิ่ง และคิวบา ซึ่งนักวิทยาศาสตร์หวังว่าความเชื่อมโยงจากเหตุการณ์ต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้สามารถเข้าใจวิธีการเกิดและผลกระทบของแผ่นดินไหวได้มากขึ้น 7 พื้นทะเลแยก     พื้นดินแยกเป็นเหตุให้เกิดสึนามิตามมา โดย พื้นทะเลบริเวณชายฝั่งโตโกกุ ของญี่ปุ่นเรือดำน้ำได้ลงไปวัดรอยแยกที่พื้นทะเล พบว่ามีความกว้างถึง 1-3 เมตร
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×