ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    วิวาห์...บุษบาพาฝัน

    ลำดับตอนที่ #2 : เกล็ดความรู้ท้ายบทที่๑..ดอกไฮเดรนเยีย

    • อัปเดตล่าสุด 19 ก.ค. 56


     

     

     

    “Hydrangea”  หรือ ไฮเดรนเยีย เป็นดอกไม้จากต่างประเทศแต่รู้จักกันมานานแล้วในประเทศไทย สันนิษฐานกันว่า คุณไฮเดรนเยียนี้ เดินทางเข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่จะเข้ามาในไทยสมัยใดก็ช่างเถอะ เพราะตอนนี้ไฮเดรนเยียเป็นดอกไม้ที่แพร่หลายในประเทศไทย และเป็นที่นิยมของนักจัดสวน รวมทั้งนิยมนำมาประดับในงานแต่งงาน
     

     

    คำว่า  hydrangea มาจากรากศัพท์ภาษากรีก ที่ว่า  water (hydro) และ vessel (angeion) = bowel of water ที่เรียกเช่นนั้นคงเป็นเพราะรูปทรงของดอกคล้ายอ่าง แล้วก็เค้าชอบน้ำมาก...พอขาดน้ำหน่อยก็เหี่ยวเฉา แต่ข้าพเจ้าคิดว่าเจ้าดอกไฮเดรนเยียดูเป็นพุ่มๆ กลมๆ คล้ายอ่างน้ำซะมากกว่า...ดอกไฮเดรนเยียเป็นดอกไม้ที่หลายๆ คนคงจะรู้จักดี แต่ว่าก็ยังมีอีกหลายคนที่เคยเห็นแต่ยังไม่ทันได้ทำความรู้จักกับคุณเธอ....เรามาทำความรู้จักกับเธอกันดีกว่า  

     

     

    ข้อมูลทางด้านพฤกษศาสตร์

     

     

                  ลำต้นดอกประกอบด้วยใบประดับที่มีสีสวยงามแล้วแต่พันธุ์ ไฮเดรนเยียอาจผลัดใบหรือไม่ผลัดใบก็ได้ แต่ถ้าเป็นชนิดที่อยู่ในเขตอบอุ่นจะผลัดใบ พักตัวในฤดูหนาว
     
     
    ดอกของไฮเดรนเยียเกิดที่ปลายยอดกิ่งหรือยอดลำต้น เป็นช่อดอกแบบช่อเชิงหลั่นหรือช่อแยกแขนง(corymbsorpanicles) ช่อดอกประกอบด้วยดอกสองแบบคือกลุ่มดอกสมบูรณ์เพศซึ่งมีขนาดเล็กที่อยู่บริเวณใจกลางช่อดอกใหญ่ ส่วนกลุ่มดอกที่มีขนาดดอกย่อยใหญ่สะดุดตานั้นความจริงเป็นดอกที่เกิดจากกลีบดอกประดับดูสะดุดตา เกิดเป็นวงรอบขอบนอกของช่อดอกใหญ่ไฮเดรนเยียบางชนิดมีช่อดอกซึ่งประกอบด้วยดอกย่อยสมบูรณ์เพศ ทั้งช่อเลยก็มี ดอกไฮเดรนเยียส่วนใหญ่จะมีสีขาวเป็นหลัก แต่บางชนิด เช่น H. macrophylla อาจเป็นสีน้ำเงิน แดง ชมพูหรือม่วง ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความเป็นกรดหรือด่างของเครื่องปลูก หากเครื่องปลูกมีสภาพเป็นกรด pH 5.0-5.5 สีดอกจะออกเป็นสีน้ำเงิน ถ้าสภาพเป็นด่างจะให้ดอกสีม่วงหรือชมพูถ้าปลูกในเครื่องปลูกที่สภาพเป็นกลางดอกไฮเดรนเยียจะมีสีครีมซีด
     
     
    ทั้งนี้เพราะไฮเดรนเยียเป็นหนึ่งในบรรดาพืชไม่กี่ชนิดที่สะสมธาตุอะลูมินัม ธาตุนี้จะถูกปลดปล่อยออกมาจากเครื่องปลูก ซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ธาตุนี้จะทำปฏิกิริยากับสารละลายในกลีบดอกทำให้เกิดสีน้ำเงินขึ้นได้ ปกติไฮเดรนเยียต้องการดินที่เป็นกรดอ่อน pH 6.0-6.5 จะเติบโตได้ดี
     
     

    การขยายพันธุ์

     

          ไฮเดรนเยียขยายพันธุ์ได้โดยตัดชำกิ่งอ่อนในช่วงฤดูฝนหรืออาจใช้กิ่งกลางอ่อนกลางแก่ก็ได้ในช่วงฤดูร้อน สำหรับในต่างประเทศไฮเดรนเยียมีการพักตัวในฤดูหนาว เขาใช้วิธีตัดกิ่งแก่จากต้นที่พักตังทิ้งใบหมด นอกจากนี้เขายังขุดเอากอขึ้นมาตัดหน่อหรือกิ่งที่อยู่ใต้ดิน (suckers) ออกมาปักชำเป็นต้นใหม่ หรือทำการตอนกิ่ง(layering) เพื่อให้ออกรากจากนั้นจึงขุดแยกไปปลูกต่อไปสำหรับการขยายพันธุ์ในประเทศไทยโครงการหลวงได้ทำการขยายพันธุ์โดยวิธีการปักชำกิ่งช่วงที่เหมาะสมสำหรับการขยายพันธุ์คือช่วงฤดูฝนเพราะสภาพอากาศชื้นและเป็นช่วงที่ต้นพันธุ์แตกหน่อกิ่งก้านมากทำให้มีกิ่งพันธุ์จำนวนมาก
     
     
    การเพาะชำอาจปักชำในกระบะชำที่มีทรายหยาบและแกลบดำเป็นวัสดุปักชำและใช้ฮอร์โมนเร่งราก ช่วยให้มีจำนวนและความยาวรากเพิ่มขึ้นจากนั้นจึงย้ายกิ่งลงถุงพลาสติกดำ
     
     
    ขอบคุณที่มาจาก: http://www.the-than.com/FLower/F28.html

     

     

     

     
     
    ดอกไฮเดรนเยียที่กระถางหน้าบ้าน ไม่ได้กลับบ้านซะนาน เลยไม่ค่อยได้ใส่ปุ๋ยหรือตัดแต่งกิ่ง แต่ก็ยังอุตส่าห์ขยันออกดอกอย่างสม่ำเสมอ

     

     

    ข้าพเจ้าเริ่มปลูกดอกไฮเดรนเยียตั้งแต่สมัยตอนที่เรียนมหาวิทยาลัย อาศัยอยู่ในหอพัก จะว่าไปก็เกือบๆ สิบปีก่อนเห็นจะได้ ตอนซื้อมาคนขายบอกว่าอยู่ได้ประมาณปีสองปี...แต่ข้าพเจ้าก็ปลูกมาเรื่อยๆ พอดอกโรยก็ตัดดอก ตัดกิ่งแล้วปล่อยให้เค้างอกใหม่ เวลาตัดกิ่งเค้า ก็จะปักกิ่งที่ตัดนั้นลงบริเวณใกล้ กลายเป็นการขยายพันธุ์โดยการปักชำไปโดยปริยาย บางปีก็ซื้อต้นเพื่อนๆ ไฮเดรนเยียมาปลูกเพิ่ม จะได้เป็นพุ่มใหญ่ๆ เต็มกระถาง...ไปๆ มาๆ ก็เกือบจะสิบปีแล้วที่ข้าพเจ้ามีโอกาสได้ดูแลดอกไม้สีสวยต้นนี้

     

     

     

       

     

    ตอนแรกเริ่มเดิมทีที่ซื้อมานั้น ไฮเดรนเยียนี้สีฟ้าอมม่วง แต่ปลูกไปปลูกมา ทำไมกลายเป็นสีชมพูเสียทุกต้นก็ไม่ทราบได้ แต่เท่าที่ได้ยินมาเค้าบอกว่า ดอกไฮเดรนเยียจะเปลี่ยนสีของดอกตามสภาพความเป็นกรด-ด่างของดิน รวมทั้งปริมาณของฟอสฟอรัสและโพแทสเซียมก็มีผลต่อค่าของสีที่เปลี่ยนไป ถ้าดินที่ปลูกมีสภาพเป็นกรด pH 5.0-5.5 สีดอกจะออกเป็นสีน้ำเงิน ถ้าสภาพเป็นกรดอ่อนหรือเป็นด่างจะให้ดอกสีชมพู ถ้าปลูกในดินที่สภาพเป็นกลางดอกไฮเดรนเยียจะมีสีครีมซีด สีของเจ้าดอกไฮเดรนเยียนี้ก็เลยมักจะแตกต่างไปตามสภาพดินและสภาพภูมิประเทศ บางตำราแนะนำวิธีเปลี่ยนสีให้ดอกไฮเดรนเยีย คือ ถ้าอยากให้ดอกเป็นสีฟ้าก็ให้เอาตะปูที่เป็นสนิมหรือตะไบเหล็กผสมลงในวัสดุปลูกเพื่อช่วยเพิ่มความเป็นกรด หรืออาจรดน้ำที่ผสมน้ำแกว่งสารส้มก็จะทำให้ดอกเปลี่ยนจากสีชมพูเป็นสีฟ้าได้

     

     

     

      

    ปัจจุบันได้มีการแปรรูปดอกไฮเดรนเยีย โดยการทำเป็นดอกไม้แห้ง        การแปรรูปดอกไฮเดรนเยียในโครงการหลวงสมัยปัจจุบัน ทำโดยการฟอก ย้อมและรักษาความนุ่มนวลของกลีบดอกให้คงสภาพคล้ายดอกสด นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มกลิ่นหอมให้กับเจ้าดอกไฮเดรนเยียแห้งนี้ เพื่อเพิ่มมูลค่าของดอกไฮเดรนเยียให้เป็นที่ชื่นชอบแก่ผู้ซื้อ....ใครจะมาว่าไฮเดรนเยียว่า สวยแต่รูป จูบไม่หอมไม่ได้แล้ว 555

     

     

     

     

    ในความหมายของดอกไม้ ดอกไฮเดรนเยียทุกสี เป็น “ดอกไม้แห่งหัวใจด้านชา” เค้าว่ากันว่าไม่ควรมอบดอกไม้นี้ให้แก่ผู้ใด นอกจากอยากจะตัดพ้อผู้รับว่า เขาหรือเธอ ช่างเป็นคนใจด้านชาเสียเหลือเกิน แต่ในอีกความหมายหนึ่ง เค้าก็ว่า ดอกไฮเดรนเยีย หมายถึง “คำขอบคุณ” …Thank you for understanding...ขอบคุณที่เข้าใจกันข้าพเจ้าคิดว่าถ้าลองเอาความหมายมารวมกันอาจจะเป็น "ขอบคุณสำหรับหัวใจที่ด้านชา" ไม่ก็ "ขอบคุณที่เข้าใจหัวใจอันด้านชาของฉัน" 
     
    ขอขอบคุณ http://www.gotoknow.org/posts/444494
     
     
     
    ปล.เป็นเกล็ดความรู้เล็กๆน้อยท้ายบทนะค่ะรีดเดอร์ เผื่อรีดเดอร์ยังไม่รู้จัก 
     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×