ถ้าเราลองสังเกตดูถ้วยแก้วที่มีน้ำตั้งไว้สักครู่จะเห็นฟองอากาศเล็กๆเกาะอยู่ที่ข้างแก้วนั้น
เนื่องจากอากาศซึ่งแต่เดิมละลายอยู่ในน้ำนั้นได้แยกตัวออกไปเกาะอยู่ที่ข้างถ้วยแก้ว อากาศที่ละลายอยู่ในน้ำนี้ แม้จะมีปริมาณน้อยก็จริง แต่ก็มีปริมาณพอเพียงสำหรับที่ปลาจะใช้ในการหายใจได้ แทนที่จะหายใจทางจมูกโดยใช้ปอด เช่น สัตว์บกทั่วๆไป
ตรงข้างแก้มทั้งสองของปลาจะมีกระดูกแข็งอยู่ข้างละแผ่น สามารถปิดเปิดได้คล้ายบานพับ ในนั้นจะมีอวัยวะที่เราเรียกว่าเหงือกอยู่ในการหายใจ แรกทีเดียวปลาจะปิดเหงือกแล้วอ้าปากเพื่อให้น้ำเข้าไป ต่อจากนั้นปลาจะหุบปากแล้วเปิดเหงือกเพื่อบังคับน้ำให้ผ่านเหงือกออกมา เนื่องจากที่เหงือกมีเส้นเลือดฝอยอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อน้ำที่มีอากาศละลายอยู่ผ่านเหงือก เส้นเลือดฝอยจะดูดออกซิเจนเอาไว้
ในขณะเดียวกันก็
คายก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์ออกมาเช่นเดียวกับการหายใจของสัตว์อื่นๆ
ถ้าสังเกตให้ดีแล้วจะเห็นว่าปลามีจมูกด้วยเหมือนกัน
แม้จะมีขนาดค่อนข้างเล็ก ต่อจากจมูกเข้าไปจะมีถุงเล็กๆ ที่มีประสาทสัมผัสกลิ่นบรรจุอยู่ค่อนข้างเล็ก ต่อจากจมูกเข้าไปจะมีถุงเล็กๆที่มีประสาทสัมผัสกลิ่นบรรจุอยู่ค่อนข้างเล็ก ต่อจากจมูกเข้าไปจะมีถุงเล็กๆ ที่มีประสาทสัมผัสกลิ่นบรรจุอยู่ด้วย จมูกของปลามีไว้เพื่อการดมกลิ่นเพียงอย่างเดียวเท่านั้น มิได้เกี่ยวข้องกับการหายใจแต่ประการใดเลย
แหล่งที่มา : หนังสือวิทยาศาสตร์ใกล้ตัว
อำนาจ เจริญศิลป์ (ผู้แต่ง)
ข้อความที่โพสจะต้องไม่น้อยกว่า {{min_t_comment}} ตัวอักษรและไม่เกิน {{max_t_comment}} ตัวอักษร
กรอกชื่อด้วยนะ
_________
กรอกข้อมูลในช่องต่อไปนี้ไม่ครบ
หรือข้อมูลผิดพลาดครับ :
_____________________________
ช่วยกรอกอีกครั้งนะครับ
กรุณากรอกรหัสความปลอดภัย
ความคิดเห็น