ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    เทคนิคการเขียนนิยาย

    ลำดับตอนที่ #2 : เขียฉากต่อสู้ให้เหมือนจริง

    • อัปเดตล่าสุด 17 มี.ค. 55


            พึงระลึกไว้เสมอว่า ฉากสงครามเป็นสิ่งที่เขียนยากมากๆ ไม่ว่าจะด้วยการพรรณนา การวางแผนกลยุทธ์ สภาพสมรภูมิรบ อารมณ์และความรู้สึกของพวกทหาร ฯลฯ มันไม่ง่ายเหมือนกับเราดูหนังหรือเล่นเกมเสียทีเดียว ถ้าอยากจะเขียนให้ดูสมจริง เราต้องทำการบ้านตรงเรื่องนี้ให้หนัก


                ข้อแนะนำสำหรับการเขียนนิยายแนวสงคราม

                ควรศึกษาประวัติศาสตร์สงครามสมัยก่อน ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้รู้ว่าอะไรคือชนวนที่ทำให้เกิดการสู้รบ แต่ละฝ่ายมีอุดมการณ์อย่างไร ใช้อาวุธยุทโธปกรณ์และแผนการอย่างไร ผลจากสงครามเป็นอย่างไร เช่น สงครามครูเสด สงครามไทย-พม่า สงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสอง สงครามเกาหลี สงครามเวียดนาม สงครามอเมริกา-อิรัก

                ลองวาดรูปแผนที่และจุดยุทธศาสตร์ที่คิดว่าน่าจะเอามาใช้กับนิยายของตัวเอง วางแผนเผื่อทั้งสองฝ่ายให้มากๆ หากเป็นฝ่ายรุกจะบุกยังไง เป็นฝ่ายรับจะป้องกันยังไง และจุดอ่อนของแต่ละฝ่ายมีอะไร จะทำให้เห็นภาพรวมได้ดีกว่าเขียนสด

                ไม่ว่าสงครามจะออกมาในรูปแบบไหน ต้องอิงความมีเหตุมีผล ไม่ใช่บ้าพลังยกทัพมากๆ ไปตี เช่น ฝ่ายจักรวรรดิทำสงครามเพื่อล่าอาณานิคม ก็ไม่จำเป็นต้องฆ่าล่าเผ่าพันธุ์ก็ได้ (ไม่เหลือชาวบ้านสักคน แล้วจะเอาทาสที่ไหนมาสร้างผลผลิตให้จักรวรรดิ?) ฝ่ายตั้งรับแม้จะตกอยู่ในสภาพเสียเปรียบ หากมีทางหนีทีไล่ จำเป็นมั้ยที่ต้องปักหลักสู้จนตัวตายหมดทั้งก๊ก หรือกองกำลังที่มีแค่ 300 นาย หากจะสู้ชนะข้าศึกที่มีถึง 3 หมื่นนาย ก็ต้องคิดแล้วว่าจะเอาอะไรไปสู้ (มีอะไรที่เข้าท่ากว่าซัดตู้มๆๆ แบบไม่ต้องคิดเหมือนในเกม Dynasty Warrior บ้าง)




                ความเห็นสงครามอาจไม่จำเป็นต้องสู้รบกันจนนองเลือดเสมอไป แต่อาจจะเป็นสงครามที่แข่งขันสะสมอาวุธ เทคโนโลยี หรือเศรษฐกิจของประเทศ แบบอเมริกากับรัสเซียในยุคสงครามเย็น เป็นต้น ซึ่งตรงนี้ก็ดูน่าสนใจไม่แพ้การยกกองทัพเข้าจู่โจม เพราะมีการเล่นจิตวิทยาและการแข่งขันด้วย ใครจะลองเอาไปคิดต่อยอดกับนิยายแนวสงครามที่กำลังเขียนอยู่ก็ไม่เลวนะ
                **อันนี้อ่านแล้วน่าสนใจจึงเอามาฝาก
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×