ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ตะกอนภาพยนตร์

    ลำดับตอนที่ #1 : LUCY: หญิงสาวสวยพิฆาต และการเดินทางข้ามเวลา

    • อัปเดตล่าสุด 9 ส.ค. 58


    CR.SHL
     



    "ลูซี่" เป็นภาพยนตร์ทฤษฎีวิทยาศาสตร์ ว่าด้วยการทำงานของสมอง

    เธอเป็นหญิงสาวโชคร้ายที่ถูกแก๊งค้ายาจับไปเป็น "ภาชนะ" สำหรับขนส่งยาเสพติด พวกเขาผ่าท้องเธอ และยัดยาเสพติดชนิดหนึ่งเข้าไปไว้ในนั้น และบังคับให้ลูซี่เดินทางไปส่งยาตามสถานที่ต่างๆ แต่กลับเกิดอุบัติเหตุขึ้นระหว่างทาง ลูซี่ถูกชายคนหนึ่งทุบตีอย่างหนักจนทำให้ถุงเก็บยาในท้องแตกออก

     

    ด้วยเหตุผลบางอย่าง สสารนั้นทำปฏิกิริยาที่น่าทึ่งกับสมองของลูซี่ มันทำให้เธอควบคุมการทำงานของสมองได้มากขึ้นจาก 10% เป็น 20% เป็น 30% และสุดท้าย ลูซี่สามารถควบคุมการทำงานของสมองได้ถึง 100%

     

    เมื่อสมองทำงาน 100% ลูซี่จึงเข้าใจตรรกะเหนือมนุษย์ เธอกลายเป็น "ตัวแทน" ของความรู้ทุกๆ แขนงในจักรวาล เธอกลายเป็นอนัตตา เป็นความสมบูรณ์ชนิดที่ไม่สามารถพัฒนาได้อีก ลูซี่เป็นสรรพสิ่ง ขณะเดียวกัน เธอก็เป็นเพียงสิ่งหนึ่งที่มีเอกภาพ ตัวตนของเธออยู่ เหนือกฎของเวลาในจักรวาล

     

     

    ความเป็นอนัตตาอยู่เหนือกฏของเวลาได้อย่างไร?

    เราทุกคนต่างรู้ว่าสรรพสิ่งล้วนอยู่ภายใต้กฎของเวลา ที่เดินไปข้างหน้าในอัตราที่เท่ากัน โดยไม่มีสถานะหยุดนิ่ง ช้าลง หรือเร็วขึ้นได้ แต่ลูซี่กลับอธิบายกลไกในการเดินทางข้ามเวลาด้วยทฤษฎีที่ขัดต่อสามัญสำนึกอย่างมาก เธอกล่าวว่า หากเราเร็วขึ้น เวลาก็จะช้าลงจนถึงหยุดนิ่งหรือก็คือ ถ้าอยากเดินทางข้ามเวลา คุณจำเป็นต้อง เร่งความเร็ว

     

    ต้องเร่งความเร็วแค่ไหนจึงมากพอจะเดินทางข้ามเวลาได้?

    คำตอบของคำถามนี้อยู่ในทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ (Special Relativity) ของนายอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เขามีสมมติฐานเกี่ยวกับหลักการเคลื่อนที่ที่น่าสนใจ และขัดกับสามัญสำนึกทั่วไป

     

    ทฤษฎีนี้กล่าวว่า อัตราเร็วของแสงในสุญญากาศเป็นค่าคงที่สากล (c) ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิดแสงนั้น

     

    แสงเดินทางด้วยความเร็วคงที่เท่ากับ C (300,000 กม. /วินาที โดยประมาณ) ขณะที่เส้นรอบวงของโลกมีความยาว 40,000 กม. ดังนั้น แสงจึงเดินทางรอบโลกได้ถึง 7.5 รอบ ใน 1 วินาที

     

    ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเองไปทางทิศตะวันออก (ทวนเข็มนาฬิกา) ด้วยความเร็ว 0.5 ม./วินาที แต่ไม่ว่าอย่างไร แสงก็ยังคงเดินทางด้วยความเร็วเท่าเดิม และไม่ถูกหักล้างจากการหมุน

     

    ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษมีกฏที่ชื่อ "ความไม่แปรเปลี่ยน (Invariance)" ที่มีไว้ใช้อธิบายเอกภาพของแสงเท่านั้น มันหมายถึง ไม่ว่าโลกจะหมุนเร็วขึ้นหรือช้าลงเพื่อหักล้างกับความเร็วแสงมากน้อยเพียงใด ผู้สังเกตก็จะเห็นความเร็วของแสงในอัตราเร่งเท่าเดิม

     

    นั่นคือคำตอบของคำถาม

    สิ่งที่เป็นอนัตตา และมีเอกภาพเหนือเวลาก็คือแสงนั่นเอง หากเราต้องการเดินทางข้ามเวลา เราจำเป็นต้องมีอัตราเร่งเท่ากับแสง C (ประมาณ 300,000 กม. /วินาที) หรือต้องมีพาหนะที่สามารถเร่งความเร็วได้เท่ากับอัตราเร่งข้างต้น หากเราสามารถเดินทางด้วยอัตราเร่งนั้น เวลาจะเดินช้าลง จนถึงขั้นหยุดนิ่ง

     

    สมมติให้คุณนั่งอยู่บนจรวดที่เร่งความเร็วเท่ากับ C ไปรอบโลกเป็นเวลา 1 ชั่วโมง เวลาของเราในจรวดอาจจะเดินช้ากว่าเวลาของโลกที่อาจเคลื่อนที่ผ่านเวลาไปเป็นร้อยปีแล้วก็ได้

     

    เพราะจากทฤษฎีและการทดลอง ทำให้เชื่อได้ว่าจักรวาลใช้ความเร็วแสงเป็นหลักในการก้าวผ่านเวลา ไม่ว่าจะเป็นในเชิงกราวิตอนหรือโฟตอน และเพื่อให้เราได้สังเกตปรากฏการณ์หนึ่งๆ ในกรอบอ้างอิงเฉื่อยเหมือนกันอย่างถูกต้อง ให้ระลึกไว้เสมอว่า ความเร็วแสงในสุญญากาศจะต้องเท่ากัน

    ถึงแม้มันจะฟังดูขัดต่อสามัญสำนึกแค่ไหนก็ตาม

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×