ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    โรงเรียนเวทย์ Sky land [รับสมัคร]

    ลำดับตอนที่ #9 : ลานปะลอง

    • อัปเดตล่าสุด 9 ต.ค. 55



    ลานประลอง 

    ครูผู้สอน


    รอ.ผ.อ.โลกิ(วิชาฟันดาบ)

    เคย์ชิ เฟสต์(เคย์)(วิชาศิลปะการต่อสู่)





    เรียนในรายวิชา ศิลปะการต่อสู้และวิชาฟันดาบ

    ยินดีต้อนรับสู่ลานประลองอันศักดิ์ที่ที่เต็มไปด้วยความภาคภูมิใจของนักสู้

    เลือดที่เปื้อนอยู่บนลานประลองก็คือเลือดของนักสู้ผู้มุ่งมั่น

    ที่จะทำตามฝันของตนให้สำเร็จ


     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

     

    เนื้อหาการเรียนการสอน

    ศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งที่เน้นการเรียนและฝึกฝนด้านการต่อสู้และการป้องกันตัว ในปัจจุบันได้มีการศึกษากันอย่างแพร่หลาย ทั้งในเชิงด้านการกีฬา เพื่อฝึกฝนร่างกายให้สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง หรือแม้กระทั่งฝึกฝนจิตใจ 

    วันนี้ยังไม่มีการบ้านนะครับ

    --------------------------------------

    ส่วนเนื้อหาตรงนี้จะเป็นคนสอนคือผมรองผ.อ.โลกิ

    ใครไม่ฟังที่ผมสอนจะจับเจื๋อนซะ

    วิชาฟันดาบ

        ดาบเป็นอาวุธสมัยโบราณที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้ และใช้ในชีวิตประจำวัน ในสมัยปัจจุบันก็ยังใช้ดาบเป็นอาวุธในการรบระยะกระชั้นชิด เช่นดาบปลายปืน เป็นต้น ดาบของแต่ละชาติจะผิดแผกแตกต่างกันออกไป เมื่อหมดสมัยที่จะใช้ดาบเพื่อการรบแล้ว ดาบก็กลายมาเป็นกีฬา ชาติที่นิยมใช้ดาบและมีความสามารถในกีฬาดาบคือ ชาติในยุโรป

              ในกีฬาโอลิมปิก กติกาของสหพันธ์ฟันดาบระหว่างประเทศ (Federation International d Escrime) ได้รับการยอมรับโดยมติเอกฉันท์ในการประชุมระหว่างประเทศของสมาคมกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติที่มีขึ้น ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2457 และประกาศให้ใช้เป็นกติกาสำหรับการแข่งขันในปีเดียวกัน

    อุปกรณ์ฟันดาบ 


    สนามที่ใช้แข่งขัน
        สนามที่ใช้แข่งขันจะต้องเป็นพื้นราบ อาจจะอยู่ในร่มหรือกลางแจ้งก็ได้ พื้นสนามอาจปูด้วยไม้แผ่นยาง พลาสติกหรือแผ่นโลหะ โดยจะต้องมีความกว้างเท่ากันตลอด ความยาวของพื้นแข่งขันจะขึ้นอยู่กับประเภทของการแข่งขัน แต่อย่างน้อยจะต้องยาว 13 เมตร

    การแต่งกาย
        ผู้เข้าแข่งขันจะต้องสวมชุดที่ทำจากผ้าเนื้อเหนียวสีขาว ซึ่งจะต้องไม่เรียบลื่นจนปลายดาบลื่นไถลเมื่อแตะถูก ต้องสวมเครื่องป้องกันภายใน ( Plastron ) และสวมหน้ากาก ถุงมือ ซึ่งต้องบุตรงฝ่ามือเล็กน้อยและยาวเกินศอก เสื้อคอตั้ง อาจไม่จำเป็นที่จะต้องยาวเต็มตัว แต่ต้องป้องกันส่วนใต้แขนได้ และต้องสวมเสื้อเกราะหรือโลหะในการแข่งขันประเภทดาบฟอยล์และเอเป้ ส่วนในประเถทดาบฟอยล์หญิง จะต้องมีเครื่องป้องกันทรวงอกอยู่ข้างในเสื้อเกราะด้วย

    ชนิดของดาบ
        กีฬาฟันดาบเป็นกีฬาที่พัฒนามาจากการใช้ดาบในการต่อสู้ของคนสมัยโบราณ ชาติที่มีชื่อเสียงในกีฬาฟันดาบ ได้แก่ ฝรั่งเศส อิตาลี โรมาเนีย เป็นต้น ดาบที่ใช้ในการแข่งขันแบ่งออกเป็น ชนิดคือ ดาบฟอยล์ ( The Foil ) ดาบเอเป้ ( The Epee ) และดาบซาเบอร์ ( The Sabre )

        1. ดาบฟอยล์ ต้องหนักไม่เกิน 200 กรัม ส่วนที่เป็นใบต้องมีความยืดหยุ่นประมาณ 5.5 - 9.5 เซนติเมตร ถ้าแขวนของหนัก 200 กรัม ที่กระบังดาบ และใบดาบจะต้องคงตัวไม่ยืดหยุ่นจากปลายดาบ 70 เซนติเมตร สำหรับดาบฟอยล์ไฟฟ้า แสงไฟจะปรากฎเมื่อมีแรงกดที่ปลายดาบมากกว่า 500 กรัม

        2. ดาบเอเป้ หรือดาบดวลต้องหนักไม่เกิน 700 กรัม ใบดาบต้องเหยียดตรงให้มากที่สุด มีความยืดหยุ่นตัวประมาณ 4.5 - 7 เซนติเมตร ( วิธีวัดเช่นเดียวกับดาบฟอยล์ ) สำหรับดาบเอเป้ไฟฟ้า การฟันจะต้องใช้แรงกดที่ปลายดาบมากกว่า 750 กรัมแสงไฟจึงจะปรากฎ

        3. ดาบซาเบอร์ ต้องหนักไม่เกิน 500 กรัม ใบดาบต้องไม่ยืดหยุ่นหรือตึงจนเกินไป ถ้ามีรอยโค้งต้องโค้งตลอดแนวน้อยกว่า 4 เซนติเมตร และต้องไม่โค้งในทิศทางเดียวกับสันดาบข้างที่ใช้ฟัน

    อุปกรณ์แจ้งคะแนนไฟฟ้า



      ในการแข่งขันประเภทดาบฟอยล์และเอเป้ อาจจะใช้อุปกรณ์แจ้งคะแนนไฟฟ้า โดยใช้ผู้เข้าแข่งขันสวมอุปกรณ์ซึ่งเมื่อฟันถูกเป้าหมายจะมีแสงสว่างเกิดขึ้น โดยในประเภทดาบฟอยล์ กรรมการต้องพิจารณาลักษณะการแทงก่อนให้คะแนน แต่ประเภทเอเป้ไม่ต้องใช้แสงไฟเป็นเครื่องตัดสิน และในกรณีที่ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 2 ฝ่ายแทงเป้าหมายห่างกันในเวลา 1/25 วินาที จะถือว่าได้คะแนนทั้ง 2 ฝ่าย แต่สำหรับในประเภทฟอยล์และซาเบอร์ การแทงในลักษณะเดียวกันจะถือว่าเป็นโมฆะ หรืออาจถือว่าผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่งต่อสู้ไม่เป็นจังหวะ ประธานกรรมการจะต้องพิจารณาว่าฝ่ายใดเป็นฝ่ายโจมตีแล้วให้คะแนนแก่ฝ่ายรับ

    วันนี้พอแค่นี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวคาบต่อไปเราจะมารู้จักกติกาในการฟันดาบกัน



     
    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×