ลำดับตอนที่ #1
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #1 : งิ้วศิลปะการเเสดงของจีน ตอนที่1
ต้นกำเนิดงิ้ว
“งิ้ว” เป็นศิลปะการแสดงที่เกิดขึ้นมานาน 5,000 ปีเริ่มต้นจากช่วงรัชสมัยราชวงศ์จิว ซึ่งมีการผสมผสานการขับร้องและการเจรจาประกอบกับลีลาท่าทางของนักแสดงให้ออกเป็นเรื่องเป็นราว โดยนำเหตุการณ์ต่างๆ ในพงศาวดารและประวัติศาสตร์มาดัดแปลงเป็นบทแสดง นอกเหนือไปจากพงศาวดารและประวัติศาสตร์แล้ว เรื่องของความเชื่อ ประเพณี และศาสนาก็เป็นสิ่งที่ผสมผสานอยู่ในการแสดง“งิ้ว” ด้วยเช่นกัน ในยุคสมัยนั้นยังไม่มีแบบฉบับโดยเฉพาะ จึงมีผู้แสดงเพียงไม่กี่คน และมีการแสดงเป็นเรื่องสั้นๆ
ทางภาคเหนือนั้น ราวช่วงต้นศตวรรษที่ 13 พวกชนเผ่ามองโกลสร้างรูปแบบของงิ้วขึ้นมาเรียกว่า "ซาจู" โดยมักแบ่งการแสดงออกเป็น 4 องค์ โดยตัวละครเอกเท่านั้น ที่จะมีบทร้องเป็นทำนองเดียวตลอดเรื่อง ส่วนตัวประกอบอื่นอาศัยการพูดประกอบขณะที่อุปรากรฝ่ายเหนือเป็นที่นิยมในหมู่ขุนนางชั้นสูง ทางใต้นั้นผู้คนนิยมดูงิ้วที่มีเนื้อหาเป็นเรื่องเล่าพื้นบ้าน
ในศตวรรษที่ 16 บ้านเมืองเข้าสู่ความสงบ ผู้คนเริ่มมีฐานะและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้วงการวรรณกรรมเฟื่องฟูไปด้วย ซึ่งส่งผลทำให้บทร้องอุปราการสละสลวยยิ่งขึ้น โดยนายเหว่ย เหลียงฟุ (1522-1573)นำนิยายพื้นบ้านดังๆเรียกว่า "คุนฉู" มาเขียนเป็นบทร้อง มีสไตล์การร้องอ่อนหวาน ใช้เครื่องดนตรีน้อยชิ้นส่วนใหญ่คือกลองและขลุ่ยไม้
วิวัฒนาการของงิ้ว...ยังคงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาและมาเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในสมัยของเฉียนหลงฮ่องเต้ ประมาณปีค.ศ.1736-1796 ในศตวรรษที่ 18 เกิดอุปรากรแบบใหม่ที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งเป็นรูปแบบของงิ้วปัจจุบัน อุปรากรดังกล่าวเป็นที่แพร่หลายนับตั้งแต่เปิดการแสดงในงานฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพของเฉียนหลงฮ่องเต้ ในจำนวนคณะงิ้วที่เข้ามาแสดงเหล่านี้รวมถึงคณะของนายเว่ย จางเฉิน จากเสฉวน ซึ่งนำเทคนิคการแสดงงิ้วแบบใหม่ๆเข้ามาเผยแพร่ในเมืองหลวงกระทั่งปลายราชวงศ์ชิง งิ้วจึงมีลักษณะต่างๆกันออกไปหลายร้อยแบบ ทั้งในด้านการร้อง การจัดฉากเพลง แต่ส่วนใหญ่นำเนื้อเรื่องมาจากคุนฉู หรือนิยายที่เป็นที่นิยม และอุปถัมภ์คณะงิ้วกันมากขึ้น....
การแสดงงิ้ว...จึงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไปจนทั่วประเทศจีน
งิ้วที่ยอมรับกันว่าเป็นงิ้วที่สมบูรณ์แบบชนิดแรกคือ ละครใต้ (หนันซี่)ของสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ แถบเมืองเวินโจว จนกระทั่งสมัยราชวงศ์ชิง จึงเกิด ‘งิ้วปักกิ่ง’ ซึ่งถือได้ว่าเป็นศิลปะประจำชาติ และมีความโดดเด่นมาก เพราะเป็นการแสดงที่เอาความเด่นของงิ้วทุกชนิดมารวมเข้าด้วยกัน มีการแสดงที่โลดโผนกว่างิ้วแต้จิ๋ว มีการร้องโอเปร่า ร้องลากเสียงเพื่อแสดงพลังเสียง และมีการใช้เสียงบีบเพื่อแสดงศิลปะการใช้เสียงที่หลากหลายด้วย
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น