ลำดับตอนที่ #4
คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #4 : กำเนิดงิ้วเเต้จิ๋ว
งิ้วแต้จิ๋วซึ่งเป็นงิ้วท้องถิ่น ชนิดหนึ่งก็เช่นเดียวกัน กว่าที่จะเป็น งิ้วแต้จิ๋วที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวก็ต้องใช้ระยะเวลาเนิ่นนาน เฉกเช่นเดียวกับงิ้วอื่นๆ งิ้วแต้จิ๋วเป็นงิ้วที่เกิดขึ้นที่เมืองแต้จิ๋ว มณฑลกวางตุ้ง ราวตอนปลายราชวงศ์หมิง(พ.ศ.1911-2188) มีชื่อเรียกงิ้วชนิดนี้หลายชื่อ เช่น เตี่ยอิมหี่ (潮音戏 / ใช้ภาษาแต้จิ๋ว**) แป๊ะหยี่หี่ (白字戏 : งิ้วแป๊ะยี่ /ใช้สำเนียงถิ่น **) ท่งจือปัง หรือที่ คนไทย เรียกว่า งิ้วเด็ก (พระสันทัดอักษรสาร 2515:39)
งิ้วเจี่ยอิม (正音戏 : เจี่ยอิมหี่ /ใช้ภาษาราชการในสมัยโบราณ** ) หรือ อีกชื่อที่รู้จักกันทั่วไป คือ หน่ำหี่ (南戏) เป็นงิ้ว ทางตอนใต้ที่เกิดขึ้นทางตะวันออกแถบมณฑลเจ๋อเจียง จากนั้นได้แพร่กระจายมาทางตอนใต้ของมณฑลเกียงสี เข้าสู่ตอนใต้ของมณฑลฮกเกี้ยน ผ่านอำเภอเจียวอาน และตุงซานเข้าสู่เมืองแต้จิ๋ว
งิ้วไซฉิน (西秦戏:ไซฉิ่งหี่) งิ้วไซฉิน และระบำกลองดอกไม้ เจริญขึ้นที่มณฑลหูหนัน จากนั้นได้แพร่กระจายผ่านตอนเหนือของมณฑลกวางตุ้ง ผ่านเมืองฮุยหยาง ไฮฟง เข้าสู่เมืองแต้จิ๋ว
งิ้วงั่วกัง (外江戏 : งั่วกังหี่) งิ้วงั่วกัง เจริญขึ้นแถบมณฑลอันฮุย แพร่เข้ามาทางตอนใต้ของเกียงสีผ่านมณฑลฮกเกี้ยนด้านตะวันตกผ่านหมู่บ้านเกียเอ้งจิวของขาวจีนแคะแล้วเข้าสู่เมืองแต้จิ๋ว
สามงิ้วนี้คืองิ้วที่มีอิทธิพลต่องิ้วเเต้จิ๋ว ต่อมาเวลาที่งิ้วทั้งสามได้เสื่อมชื่อเสียงลงงิ้วเเต้จิ๋วได้มีชื่อเสียงมากขึ้นอย่างเร็ว
งิ้วเเต้จิ๋วในประเทศจีน
ในประเทศจีน งิ้วเป็นมหรสพที่นิยมกันมาก เมื่อสิ้นฤดูเก็บเกี่ยวของทุกปี ซึ่งหมายถึง วันสิ้นสุดของปีด้วยนั้น ชาวนาว่างจากการทำนา พวกเขาจะจัดงานเฉลิมฉลองประจำปีครั้งยิ่งใหญ่เพื่อชดเชยความเหนื่อยยากที่ตรากตรำมาทั้งปี ในงานนี้ จะว่าจ้างงิ้วให้เล่นถวายเจ้าธรณี เป็นการตอบแทนคุณที่อำนวยความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ชาวนานั้น โรงงิ้วจะปลูกขึ้นกลางท้องนา และที่เสา 2 ข้างด้านหน้าโรงงิ้วจะมีมัดข้าวที่เก็บเกี่ยวมาจากนามัดติดอยู่ด้วย ถ้างิ้วที่ว่าจ้างมาเล่นถวายเจ้าประจำท้องที่ โรงงิ้วจะปลูกไว้หน้าศาล หรือ ใจกลางเมือง แล้วตั้งศาลชั่วคราว สำหรับเจ้า ขึ้นที่หน้าโรงงิ้วนั่นเอง เมื่อถึงวันงานเจ้าจะถูกเชิญออกแห่ไปตามท้องถนนในเมืองนั้น นัยว่า เพื่อตรวจตราดูแลความสงบสุขของชาวบ้าน พิธีนี้เรียกว่า อิ่วซิ้ง (逰神) แปลว่า แห่เจ้า นั่นเอง พิธีนี้จะมีปีละครั้งเท่านั้น (มักจัดกันในช่วงเวลาเดือน 10-11 ของจีน) เชื่อกันว่า การไหว้เจ้าในช่วงนี้ได้กุศลแรงมาก
ในเทศกาลดังกล่าว เพื่อให้งานสนุกมากยิ่งขึ้น บางแห่งจะจัดการแสดงเป็นชุดๆ และมีการร้องเพลงประกอบไปด้วย เรียกว่า เองกอ (英歌) หมายถึง การจัดชุดงิ้วเป็นชุดๆ ในขบวนแห่เจ้า และการเชิดสิงโต เรียกว่า บู๋ไซ (武狮) ประกอบไปด้วย
งิ้วที่มีเล่นในโอกาสต่างกัน ชื่อที่ใช้เรียก ก็แตกต่างกันไปด้วย เช่น งิ้ววันสารททิ้งกระจาดเรียกว่า สิโกวหี่ (拖孤戏 / งิ้วเล่นในประเพณีทิ้งกระจาด สิโกว = วิญญาณเร่ร่อน)
นอกจากนั้น ยังมีงิ้วที่ว่า จ้างมาเล่นในโอกาสพิเศษ อีกอย่าง เรียกว่า ฮ่วกหี่ (罰戏 / งิ้วลงทัณฑ์ ผู้ทำผิดจ้างงิ้วมาเล่นขออภัย) ในสังคมชาวนาโดยทั่วไป ทุกคนรักใคร่กลมเกลียวเหมือนพี่น้อง หากผู้มีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไปทำสิ่งใดผิดพลาด และไม่ต้องการให้เรื่องถึงศาลนั้น ในหมู่บ้านหนึ่งๆ ได้จัดบทลงโทษไว้ที่นับว่า ถูกลงโทษสถานหนักที่สุดคือ ปรับให้ว่าจ้างงิ้วมาเล่นขออภัยในความผิดที่ตนได้ทำลงไปนั้น ในวันที่มีการแสดง ผู้ทำผิดจะถูกบังคับให้ยืนอยู่หน้าโรงพร้อมทั้งใบหน้าที่ปิดด้วยกระดาษขาวเขียนชื่อ - แซ่ ตัวเองบอกไว้อย่างชัดเจน
สำหรับ งิ้วในงานฉลองวันเกิดของเจ้าประจำท้องถิ่นนั้นถือกันว่า เป็นวันสำคัญรองลงมาจากฉลองตอบแทนบุญคุณเจ้าประจำปีเลยทีเดียว ชาวบ้านทุกหมู่บ้านถือว่า จะต้องจัดงานฉลองทุกหมู่บ้าน ทั้งนี้เพราะเชื่อกันว่า ถ้าจัดงานวันเกิดให้เจ้าพอใจ พวกตนจะได้รับความสมบูรณ์ และอายุยืนยาวด้วย (ibid.2537:16-17)
งิ้วไซฉิน (西秦戏:ไซฉิ่งหี่) งิ้วไซฉิน และระบำกลองดอกไม้ เจริญขึ้นที่มณฑลหูหนัน จากนั้นได้แพร่กระจายผ่านตอนเหนือของมณฑลกวางตุ้ง ผ่านเมืองฮุยหยาง ไฮฟง เข้าสู่เมืองแต้จิ๋ว
งิ้วงั่วกัง (外江戏 : งั่วกังหี่) งิ้วงั่วกัง เจริญขึ้นแถบมณฑลอันฮุย แพร่เข้ามาทางตอนใต้ของเกียงสีผ่านมณฑลฮกเกี้ยนด้านตะวันตกผ่านหมู่บ้านเกียเอ้งจิวของขาวจีนแคะแล้วเข้าสู่เมืองแต้จิ๋ว
สามงิ้วนี้คืองิ้วที่มีอิทธิพลต่องิ้วเเต้จิ๋ว ต่อมาเวลาที่งิ้วทั้งสามได้เสื่อมชื่อเสียงลงงิ้วเเต้จิ๋วได้มีชื่อเสียงมากขึ้นอย่างเร็ว
งิ้วเเต้จิ๋วในประเทศจีน
ในประเทศจีน งิ้วเป็นมหรสพที่นิยมกันมาก เมื่อสิ้นฤดูเก็บเกี่ยวของทุกปี ซึ่งหมายถึง วันสิ้นสุดของปีด้วยนั้น ชาวนาว่างจากการทำนา พวกเขาจะจัดงานเฉลิมฉลองประจำปีครั้งยิ่งใหญ่เพื่อชดเชยความเหนื่อยยากที่ตรากตรำมาทั้งปี ในงานนี้ จะว่าจ้างงิ้วให้เล่นถวายเจ้าธรณี เป็นการตอบแทนคุณที่อำนวยความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ชาวนานั้น โรงงิ้วจะปลูกขึ้นกลางท้องนา และที่เสา 2 ข้างด้านหน้าโรงงิ้วจะมีมัดข้าวที่เก็บเกี่ยวมาจากนามัดติดอยู่ด้วย ถ้างิ้วที่ว่าจ้างมาเล่นถวายเจ้าประจำท้องที่ โรงงิ้วจะปลูกไว้หน้าศาล หรือ ใจกลางเมือง แล้วตั้งศาลชั่วคราว สำหรับเจ้า ขึ้นที่หน้าโรงงิ้วนั่นเอง เมื่อถึงวันงานเจ้าจะถูกเชิญออกแห่ไปตามท้องถนนในเมืองนั้น นัยว่า เพื่อตรวจตราดูแลความสงบสุขของชาวบ้าน พิธีนี้เรียกว่า อิ่วซิ้ง (逰神) แปลว่า แห่เจ้า นั่นเอง พิธีนี้จะมีปีละครั้งเท่านั้น (มักจัดกันในช่วงเวลาเดือน 10-11 ของจีน) เชื่อกันว่า การไหว้เจ้าในช่วงนี้ได้กุศลแรงมาก
ในเทศกาลดังกล่าว เพื่อให้งานสนุกมากยิ่งขึ้น บางแห่งจะจัดการแสดงเป็นชุดๆ และมีการร้องเพลงประกอบไปด้วย เรียกว่า เองกอ (英歌) หมายถึง การจัดชุดงิ้วเป็นชุดๆ ในขบวนแห่เจ้า และการเชิดสิงโต เรียกว่า บู๋ไซ (武狮) ประกอบไปด้วย
งิ้วที่มีเล่นในโอกาสต่างกัน ชื่อที่ใช้เรียก ก็แตกต่างกันไปด้วย เช่น งิ้ววันสารททิ้งกระจาดเรียกว่า สิโกวหี่ (拖孤戏 / งิ้วเล่นในประเพณีทิ้งกระจาด สิโกว = วิญญาณเร่ร่อน)
นอกจากนั้น ยังมีงิ้วที่ว่า จ้างมาเล่นในโอกาสพิเศษ อีกอย่าง เรียกว่า ฮ่วกหี่ (罰戏 / งิ้วลงทัณฑ์ ผู้ทำผิดจ้างงิ้วมาเล่นขออภัย) ในสังคมชาวนาโดยทั่วไป ทุกคนรักใคร่กลมเกลียวเหมือนพี่น้อง หากผู้มีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไปทำสิ่งใดผิดพลาด และไม่ต้องการให้เรื่องถึงศาลนั้น ในหมู่บ้านหนึ่งๆ ได้จัดบทลงโทษไว้ที่นับว่า ถูกลงโทษสถานหนักที่สุดคือ ปรับให้ว่าจ้างงิ้วมาเล่นขออภัยในความผิดที่ตนได้ทำลงไปนั้น ในวันที่มีการแสดง ผู้ทำผิดจะถูกบังคับให้ยืนอยู่หน้าโรงพร้อมทั้งใบหน้าที่ปิดด้วยกระดาษขาวเขียนชื่อ - แซ่ ตัวเองบอกไว้อย่างชัดเจน
สำหรับ งิ้วในงานฉลองวันเกิดของเจ้าประจำท้องถิ่นนั้นถือกันว่า เป็นวันสำคัญรองลงมาจากฉลองตอบแทนบุญคุณเจ้าประจำปีเลยทีเดียว ชาวบ้านทุกหมู่บ้านถือว่า จะต้องจัดงานฉลองทุกหมู่บ้าน ทั้งนี้เพราะเชื่อกันว่า ถ้าจัดงานวันเกิดให้เจ้าพอใจ พวกตนจะได้รับความสมบูรณ์ และอายุยืนยาวด้วย (ibid.2537:16-17)
เก็บเข้าคอลเล็กชัน
ความคิดเห็น