คืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด
คุณแน่ใจว่าต้องการคืนค่าการตั้งค่าทั้งหมด ?
ลำดับตอนที่ #3 : คำสอนของคุณตากับไม้เท้า ตอนที่3 ม่อนสาง เด็กผูกอาฆาต1
เเละไม่เคยอภัยให้ใครเเม้กระทั่งผู้ใหญ่ ปู่ผมเคยเตือนเเล้วเขาไม่เคยฟัง คนทั้งปางกลัวเเละไม่อยากเข้าใกล้เจ้านั่นเลยโยเฉพาะเเม่ของเขาเพราะกลัวจะโดน เเต่วันหนึ่งปู่ผมได้ไปวัดมาได้นำธรรมมะเรื่องนึงมาบอกให้ม่อนสางฟังว่า ไอ้ม่อนสางเอ้ยธรรมนี้ดีนะเเกควรฟังเเล้วทำตามไว้ การให้ทาน คือ
การให้ที่ไม่หวังผลตอบแทน โดยหมายให้ผู้ได้รับได้พ้นจากทุกข์
แบ่งออกเป็น ๓ อย่าง ได้แก่
๑.อามิสทาน คือการให้วัตถุ สิ่งของ หรือเงินเป็นทาน
๒.ธรรมทาน คือการสอนให้ธรรมะ(ความจริง)เป็นความรู้เป็นทาน
๓.อภัยทาน คือการให้อภัยในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ดีกับเรา ไม่จองเวร หรือพยาบาทกัน
การให้ทานไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดเป็นสิ่งที่ดีทั้งนั้น
หากมีวัตถุ สิ่งของ หรือเงินเหลือเก็บที่พอบริจาคเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้อื่นได้
โดยที่เราไม่ลำบาก เน้นครับ เน้น.. ไม่ลำบาก
ตัวอย่างเช่น เรามีเงิน หนึ่งร้อยบาท เพื่อนขอ ยืม ห้าสิบบาท
ด้วยความจำเป็นของเพื่อนและความเชื่อใจของเราที่มีต่อตัวเพื่อน
เราจึงตัดสินใจให้ยืมไป
แต่…เอ…เรานึกขึ้นมาได้ ว่า เรามีความจำเป็นต้องใช้เงิน หกสิบบาท นี่นา
คราวนี้เงินที่เหลือพอให้ยืมได้ เหลือแค่ สี่สิบบาท แย่ล่ะสิ!!!!
จะบอกเพื่อนก็กลัวเพื่อนว่า งกหรือเปลี่ยนใจให้ยืมน้อยลง…บอกเพื่อนได้ครับ..บอกได้…
การให้ทาน มุ่งหวังช่วยเหลือให้ผู้อื่นพ้นจาก “ทุกข์”
และการช่วยเหลือมันต้องตอบโจทย์ ของการ (ช่วย+ เหลือ) ด้วย
เพราะหากเรา “ช่วยแบบไม่เหลือ” เราอาจไม่มีอะไร “เหลือให้ช่วย”
ผู้อื่นอีกต่อไปไม่เว้นแม้แต่ตัวเอง
ธรรมทาน การให้ความรู้หรือการสอนธรรมให้ผู้อื่นได้พ้นทุกข์
ซึ่งการที่ “ผู้ให้” จะสามารถสอนองค์ความรู้ให้กับ “ผู้อื่น” ได้นั้น
เราจำเป็นต้องใช้เวลาศึกษาหาความรู้ทั้งจากการพูด ฟัง อ่าน เขียน
รวมถึงการได้เคยลองปฏิบัติจริงจากสิ่งที่ได้ศึกษามานั้น
เพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ครบถ้วน เพื่อพิสูจน์ว่าสิ่งที่เราเรียนรู้มานั้นสามารถใช้ได้ “จริง”
ฉะนั้น ต้องใช้เวลาและความทุ่มเทเป็นอย่างมากครับกว่าจะได้มาถึง จุด
การที่ได้เป็นผู้ให้ “ธรรมทาน”
การให้อภัย สามารถทำได้ทันทีเมื่อมีผู้ใดทำให้เราเจ็บช้ำน้ำใจ หรือมีความขุ่นข้องหมองมัวใจ
การให้อภัย เป็นสิ่งที่ทำได้ยากที่สุดแต่สะดวกสบายที่สุด เพราะไม่มีต้นทุนอะไรมากยกเว้น
“ความเป็นตัวตนของเรา”
การให้อภัย ไม่จำเป็นต้องทำงานหรือเรียนหนังสือหนักๆ เพื่อจะหาเงิน ซื้อ “อภัย”
การให้อภัย ฝากผู้อื่นทำไม่ได้ต้องทำจากตัวเราเองเท่านั้น
การให้อภัย มีบททดสอบง่ายๆ ว่า เมื่อคุณหลับตาคิดถึง “เขาคนนั้น” คุณรู้สึกอย่างไรกับ “เขา”
เพราะหากยังรู้สึก ขัดข้อง หมองมัว เศร้า หรือ โกรธ นั้นเป็นเครื่องพิสูจน์ว่า คุณ ยังไม่ให้อภัยเขา
ม่อนสางฟังธรรมนี้ถึงกับร้องให้สำนึกผิดเลย เเละได้ขอโทษ หลังจากวันนั้นม่อนสางมีสติมากขึ้นไม่โกรธใครเวลาทำอะไรให้เเบบบว่าโมโหเเป๊บเดียวก็หาย เเละสนใจเรียนมากขึ้น เเละ ไม่เคยโกรธใครอีกเลย
พี่คำเมี่ยง !!!!!!!!!!!!!! น้องสาวผมเรียกเเล้ว
มีอะไรรึ
พี่ม่อนสางมาหาพี่
อ้าวงานเข้าซะเเล้วทำไงดี พูดเเละนึกถึงมาพอดี
ตอนต่อไปเชิญม่อนสางมาคุยด้วยดีกว่า ขอไปเชิญเพื่อนสนิทเข้าบ้านเเป๊บ ม่อนสาง!!!!!!!!!!
ความคิดเห็น