ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    “ประวัติบุคคลสำคัญ”

    ลำดับตอนที่ #1 : สมัยสุโขทัย

    • อัปเดตล่าสุด 3 พ.ย. 52


     

     

     พ่อขุนผาเมือง

     

    พระราชประวัติ

    ·      พ่อขุนผาเมืองมีมเหสีสองพระองค์ คือ พระนางปัทมาดี พระองค์ที่สองคือ พระนางปทุมดี ซึ่งทั้งสองพระองค์นี้เป็นพระขนิษฐาของพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง

    ·      ในปี พ.ศ. 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ริเริ่มคิดปราบปราม ขอมเพื่อปลดปล่อยอิสระของชนไท โดยนำกำลังไพร่พลเข้าทำการรบกับขอมจนเป็นอันผลสำเร็จ และประกาศเป็นอิสระจากขอม

    ·      สิ่งที่สามารถใช้เป็นหลักฐานที่ได้รับการยอมรับจากนักประวัติศาสตร์ใช้อ้างอิงได้นอกเหนือไปจากตำนานและเรื่องเล่าต่างๆที่กล่าวถึงพ่อขุนผาเมือง ในปัจจุบันมีเพียงศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 2 เพียงชิ้นเดียว

     

     

     

     

     

     

    พ่อขุนศรีอินทราทิตย์

     

    พระราประวัติ

    ·      พระนามเดิม พ่อขุนบางกลางหาว

    ·      ทรงเป็นปฐมวงศ์ราชวงศ์  พระร่วงแห่งอาณาจักรสุโขทัย ครองราชสมบัติ ตั้งแต่      พ.ศ. 1782

    ·      มีผู้สันนิฐานที่มาของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ จากคัมภีร์ชินกาลมาลีปกรณ์ว่าบ้านเดิมของพระองค์อาจอยู่ที่ "บ้านโคน" ในจังหวัดกำแพงเพชร

     

     

    พระราชกรณียกิจ

    ·      พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เมื่อครั้งยังเป็นพ่อขุนบางกลาหาวได้ร่วมกับพ่อขุนผาเมืองรวมกำลังพลกัน กระทำรัฐประหารขอมสบาดโขลญลำพง โดยพ่อขุนบางกลางหาวตีเมืองศรีสัชนาลัยและเมืองบางโขลงได้ และยกทั้งสองเมืองให้พ่อขุนผาเมือง ส่วนพ่อขุนผาเมืองตีเมืองสุโขทัยได้ ก็ได้มอบเมืองสุโขทัยให้พ่อขุนบางกลาหาว พร้อมพระขรรค์ชัยศรีและพระนาม "ศรีอินทรบดินทราทิตย์ 

    ·      การเข้ามาครองสุโขทัยของพระองค์ ส่งผลให้ราชวงศ์พระร่วงเข้ามามีอิทธิพลในเขตนครสุโขทัยเพิ่มมากขึ้น และได้แผ่ขยายดินแดนกว้างขวางมากออกไป แต่เขตแดนเมืองสรลวงสองแคว ก็ยังคงเป็นฐานกำลังของราชวงศ์ศรีนาวนำถมอยู่

    ·      สถาปนาสุโขทัยเป็นอาณาจักรของคนไทย 

    ·      ในกลางรัชสมัย ทรงมีสงครามกับขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด ทรงชนช้างกับขุนสามชน แต่ช้างทรงพระองค์ ได้เตลิดหนี ขณะนั้นพระโอรสองค์เล็ก ทรงมีพระปรีชาสามารถ ได้ชนช้างชนะขุนสามชน ภายหลังจึงทรงเฉลิมพระนามพระโอรสว่าพระรามคำแหง

     

     

     

     

     

     

    พ่อขุนรามคำแหงมหาราช

     

    พระราชประวัติ

    ·      มีพระนามเดิมว่า  พระราม

    ·      พ่อขุนรามคำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 3 ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับนางเสือง

    ·      ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ. 1822 ถึงประมาณ พ.ศ. 1841 พระองค์ทรงรวบรวมอาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ทำให้ชาติไทยได้สะสมความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่าเจ็ดร้อยปี

    ·      เมื่อพระชนมายุ 19 พรรษา ได้ตามเสด็จพระบิดาไปในการสงครามระหว่างสุโขทัย กับเมืองฉอด ทรงช่วยพระบิดาทำยุทธหัตถีชนะขุนสามชน เจ้าเมืองฉอด พระบิดาจึงเฉลิมพระนามให้เป็น  “ พระรามคำแหง " ซึ่งแปลว่า "พระรามผู้กล้าหาญ"

     

    พระราชกรณียกิจที่สำคัญ

    ทรงขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวางกว่ารัชสมัยใดๆ

    ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยใน พ.ศ. ๑๘๒๖

    ทรงส่งเสริมการค้า ทั้งการค้าภายในและการค้าภายนอก เช่น  ให้งดเว้นการเก็บจกอบหรือภาษีผ่านด่าน

    ทรงบำรุงศาสนา เช่น ให้นิมนต์พระสงฆ์นิกายเถรวาทแบบลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราชมาเป็นพระสังฆราช

    และริเริ่มการนิมนต์พระสงฆ์มาแสดงธรรมในวันพระ

    ทรงดูแลทุกข์สุขของราษฎรอย่างใกล้ชิด เช่น ให้ผู้เดือดร้อนมาสั่นกระดิ่ง ถวายฎีกาได้ ให้ทายาทมีสิทธิได้รับมรดก   จากพ่อแม่ที่เสียชีวิตไป เป็นต้น

    ทรงสร้างความสัมพันธ์อันดีกับรัฐใกล้เคียง ได้แก่ ทรงเป็นพระสหายกับพญามังรายแห่งอาณาจักรล้านนา พญางำเมือง แห่งแคว้นพะเยา ทรงมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับพระเจ้าฟ้ารั่ว แห่งอาณาจักรมอญและทรงเป็นรัฐบรรณาการกับจีน 

     

     

     

     

     

     

      

    พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พญาลิไท)

     

    พระราชประวัติ

    ·      ทรงเป็นพระโอรสพระยาเลอไท และพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

    ·      ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ของอาณาจักรสุโขทัยราชวงศ์พระร่วงลำดับที่ 5 และเป็นกษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งกรุงสุโขทัย ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระยางั่วนำถม เดิมทรงปกครองเมืองศรีสัชนาลัย ในฐานะองค์อุปราชหรือรัชทายาทเมืองสุโขทัย

     

    ·      พระยาลิไทต้องใช้กำลังทหารเข้ามายึดอำนาจเพราะที่สุโขทัยเกิดการกบฏการสืบราชบัลลังก์ ไม่เป็นไปตามครรลองครองธรรม พระยาลิไทยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติได้ และขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890 ทรงพระนามว่า พระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช ในศิลาจารึกมักเรียกพระนามเดิมว่า "พญาลิไท" หรือเรียกย่อว่า พระมหาธรรมราชาที่ 1

     

     

    พระราชกรณียกิจ

    - พระยาลิไททรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากนโยบายการปกครองที่ใช้ศาสนา เป็นหลักรวมความเป็นปึกแผ่นจึงเป็นนโยบายหลักในรัชสมัยนี้         

    - ทรงสร้างเจดีย์ที่นครชุม (เมืองกำแพงเพชร) สร้างพระพุทธชินราชที่พิษณุโลก ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

     - ทรงออกผนวช เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๕ การที่ทรงออกผนวช นับว่าทำความมั่นคงให้พุทธศาสนามากขึ้น   ดังกล่าวแล้วว่า หลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยก วงการสงฆ์เองก็แตกแยก แต่ละสำนักแต่ละเมืองก็ปฏิบัติแตกต่างกันออกไป เมื่อผู้นำทรงมีศรัทธาแรงกล้าถึงขั้นออกบวช พสกนิกรทั้งหลายก็คล้อยตามหันมาเลื่อมใสตามแบบอย่างพระองค์

    -      ทรงสร้างและบูรณะวัดมากมายหลายแห่ง รวมทั้งการสร้างพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก เช่น พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา

    - พระยาลิไท ทรงปราดเปรื่องในความรู้ในพระพุทธศาสนา ทรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก พระองค์ได้ทรงแบ่งพระสงฆ์ออกเป็น 2 ฝ่ายคือฝ่าย "คามวาสี" และฝ่าย "อรัญวาสี" โดยให้ฝ่ายคามวาสีเน้นหนักการสั่งสอนราษฎรในเมืองและเน้นการศึกษาพระไตรปิฎก ส่วนฝ่ายอรัญวาสีเน้นให้หนักด้านการวิปัสสนาและประจำอยู่ตามป่าหรือชนบท

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×