ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    “ประวัติบุคคลสำคัญ”

    ลำดับตอนที่ #4 : สมัยรัตนโกสินทร์

    • เนื้อหานิยายตอนนี้เปิดให้อ่าน
    • 18.53K
      21
      3 พ.ย. 52

     

     

     

     

     

     

     

    สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช( รัชกาลที่ ๑ )

     

    พระราชประวัติ

    ·      มีพระนามเดิมว่า ด้วง

    ·      ทรงเข้ารับราชการในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอุทุมพร

    ·      พระบิดามีพระนามเดิมว่า ทองดี       พระมารดาชื่อ หยก

    ·      ครั้นถึงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ทรงความดีความชอบให้เลื่อนเป็นพระราชวรินทร์

    ·      ในที่สุดได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก มีเครื่องยศอย่าง

    เจ้าต่างกรม 

     

    พระราชกรณียกิจ

    ·      ทรงเป็นทั้งนักปกครองและนักการทหารที่ยอดเยี่ยม

    ·      ทรงแต่งตั้งให้เจ้านายที่เคยผ่านราชการทัพศึกมาทำหน้าที่ช่วยในการปกครองบ้านเมือง

    ·      โปรดเกล้าฯ ให้ชำระกฎหมายคือกฎหมายตราสามดวง

    ·      ทรงส่งเสริมวัฒนธรรมของชาติ  โดยพระราชนิพนธ์ บทละครเรื่องรามเกียรติ์ 

    ·      เรื่องอุณรุท เรื่องอิเหนา  เรื่องดาหลัง  และเพลงยาวรบพม่าที่ท่าดินแดง

     

     

     

     

     

    พระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ ๔ )

     

     

    พระราชประวัติ

    ·      เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย กับกรมสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

    ·      พระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ

    ·      ขึ้นครองราชย์สมบัติ ในวันที่   เมษายน พ.ศ. ๒๓๙๔

    ·      ทรงผนวชถึง ๒๖ พรรษา  ได้เสด็จธุดงค์จาริกไปตามหัวเมืองห่างไกล ทำให้ทรงทราบสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรเป็นอย่างดี

     

     

     

     

    พระราชกรณียกิจ

    ·      ทำสนธิสัญญากับอังกฤษเพื่อแลกกับเอกราชของประเทศ

    ·      พระองค์ทรงเป็นบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

    ·      ยอมเลิกระบบการค้าผูกขาดเป็นการค้าเสรี

    ·      ทรงขยายพระนคร มีการขุดคลองและสร้างถนนขึ้นมากมาย

    ·      ยอมให้ตั้งสถานกงสุลและมีสิทธิสภาพนอกราชอาณาเขต

    ·      ได้เกิดกิจการแบบตะวันตกขึ้นหลายอย่าง

    ·      ทรงปรับปรุงการรักษาความมั่นคงของประเทศ

    ·      พระราชทานเสรีภาพในการนับถือศาสนา

    ·      จ้างนายทหารยุโรปมาฝึกสอนวิชาทหารแบบใหม่  ทรงให้ต่อเรือกลไฟ

    ·      พระองค์ได้ทรงบัญญัติกฎหมายขึ้นเกือบ500ฉบับ

     

     

      

     

     พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว( รัชกาลที่ ๕ )

     

    พระราชประวัติ

    ·      เป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔ และสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

    ·      พระราชสมภพเมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ. ๒๓๙๖

    ·      มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์

    ·      พระชนมพรรษาครบ ๒๐ พรรษาจึงมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่๒

    ·      ทรงครองราชย์สมบัติยาวนานถึง ๔๒ ปี

     

     

     

     

     

    พระราชกรณียกิจ

    ·      ตั้งโรงพยาบาลวังหลัง

    ·      ทรงปฏิรูปการปกครองใหม่ตามอย่างตะวันตก

    ·      ตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้น และประกาศใช้ประมวลกฎหมายลักษณะอาญาอันเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของไทย

    ·      ตั้งธนาคารพาณิชย์

    ·      ให้ตั้งกระทรวงยุติธรรม

    ·      ยกเลิกจารีตนครบาล

    ·      มีการจัดทำงบประมาณแผ่นดิน

    ·      สังคายนาพระไตรปิฎก

    ·      ทรงยกเลิกระบบทาสและระบบไพร่

    ·      เสียดินแดนประเทศราชเพื่อรักษาดินแดนส่วนใหญ่

     

     

      

     

    สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์

     

    พระราชประวัติ

    ·      ช่วง  บุนนาค

    ·      เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นบิดา นำไปถวายตัวเป็นมหาดเล็ก (ในสมัยร.2)

    ·      ในสมัยร.๓  มีความชอบมาก ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นหมื่นไวยวรนาถ

    ·      เมื่อเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขึ้นเสวยราชย์ ได้เชิญเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน 

    ·      ได้จัดให้ร.๕  ได้รับการฝึกหัดการเป็นพระมหากษัตริย์

    ·      เป็นผู้ฝักใฝ่สนใจศึกษาศิลปวิทยาของตะวันตก จึงจัดเป็นพวกหัวใหม่ของสมัยนั้น

     

     

     

     

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

     

    พระราชประวัติ

    ·      พระนามเดิมว่า  พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร

    ·      สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  เป็นพระโอรสในรัชกาลที่ ๔ กับเจ้าจอมมารดาชุ่มในสมัยรัชกาลที่ ๕  ได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ  แล้วเลื่อนเป็นกรมหลวงสมัยรัชกาลที่ ๖ได้เลื่อนขึ้นเป็นกรมพระยา

    ·      สมัยรัชกาลที่ ๗  ได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

      

    พระราชกรณียกิจ

    ·      ต้นราชวงศ์ ดิษกุล

    ·      เป็นกำลังสำคัญในการปฏิรูปประเทศในสมัยร.๕ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยคนแรก

    ·      ทรงมีงานนิพนธ์ด้านประวัติศาสตร์297เรื่อง และได้รับการยกย่องให้เป็น พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย

    ·      ในสมัยร.๖ ทรงจัดตั้งหอสมุดสำหรับพระนคร และหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

    ·      เป็นคนไทยคนแรกที่องค์กร UNESCO รับรองให้มีผลงานเด่นทางด้านวัฒนธรรมแห่งชาติ

     

     

      

     


    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ

     

    ·      มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าวัญอุไทยวงศ์เป็นพระเจ้าลูกยาเธอองค์ที่สองในร.๔ และเจ้าจอมมารดาเปี่ยม

    ·      ทรงเป็นต้นราชสกุล  เทวกุล

    ·      มีการตั้งสำนักงานออดิตออฟฟิศ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าพนักงาน

    ·      ร.๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนพระอิสริยยศเป็นกรมพระเทวะวงศ์วโรปการ

    ·      ทรงริเริ่มให้มีการตั้งทูตไทยประจำราชสำนักต่างประเทศ

     

     

     

    สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

     

    ·      ทรงเป็นปราชญ์ทางอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ดนตรี และงานช่าง

    ·      พระองค์มีพระนามเดิมว่า  พระองค์เจ้าจิตรเจริญ

    ·      UNESCO รับรองให้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมระดับโลกประจำปี พ.ศ.๒๕๐๖

     

    ความสามารถด้านต่างๆ

    ·      ด้านสถาปัตยกรรม : ทรงออกแบบพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร 

    ·      ด้านประติมากรรม : ทรงออกแบบพระพุทธชินราชจำลอง

    ·      ด้านจิตรกรรม : ภาพมัจฉาชาดกที่หอพระคันธารราษฎร์ในวัดพระแก้ว

    ·      ด้านดนตรีไทย : นิพนธ์เพลงเขมรไทรโยคและเพลงมหาชัย

    ·      ด้านวรรณกรรม : สาส์นสมเด็จ

     

      

     

     

     


    พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี  ดุริยางกูร)

     

    ·      พระประดิษฐ์ไพเราะ เป็นครูดนตรีไทยคนสำคัญของกรุงรัตนโกสินทร์  สันนิษฐานว่าเกิดตอนปลายสมัยรัชกาลที่ ๑ คนทั่วไปมักเรียกท่านว่า ครูมีแขก 

    ·      ท่านมีความสามารถในการเป่าปี่ ชำนาญในการสีซอสามสาย

    ·      ท่านได้แต่งเพลงเดี่ยวเชิดนอกทางซอสามสายไว้ด้วย

    ·      เป็นครูปี่พาทย์ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระประดิษฐ์ไพเราะ

    ·      ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้เป็นครูมโหรีของกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ครูมีแขกถึงแก่กรรมในสมัยรัชกาลที่ ๕  ประมาณระหว่าง พ.ศ. ๒๔๑๗ ๒๔๒๑   ทิ้งไว้เพียงชื่อเสียง คุณงามความดี และคุณูปการอันมากล้นสำหรับวงดนตรีไทย

     

     

      

      

     


    ดร.แดน บีช บรัดเลย์  (Dr.Dan Beach Bradley)

     

    ·      ดร.แดน บีช บรัดเลย์  ชาวไทยเรียกกันว่าหมอบรัดเลย์ หรือปลัดเล เป็นชาวนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา

    ·      เป็นหัวหน้าคณะมิชชันนารี จากอเมริกาเข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์ ในสมัยร.๓

    ·      นำวิยาการเข้ามาเผยแพร่ในไทย เช่น การแพทย์ การพิมพ์ และหนังสือพิมพ์

    ·      เผยแพร่ประวัติตำนานไทย ขนมธรรมเนียมไทย ภาษาไทย ศาสนา ประเพณีไทยให้ชาวต่างชาติได้รู้จัก และนำขนมธรรมเนียมแบบตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ในไทยด้วยเช่นกัน

    ·      ด้วยคุณงามความดีที่หมอบรัดเลย์มีต่อแผ่นดินไทย  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พวกมิชชันนารีและหมอบรัดเลย์เช่าที่หลังป้อมวิไชยประสิทธิ์

     

     

     

      


    ดร.ฟรานซิส บี แซร์(Dr. Francis Bowes Sayre)

     

    ·      พระยากัลยาณไมตรี  เป็นชาวอเมริกากัน

    ·      เข้ามารับตำแหน่งที่ปรึกษากระทรวงต่างประเทศของไทย ในสมัยร.๖

    ·      ผลงานชิ้นสำคัญคือ การดำเนินการแก้ไขสนธิสัญญาเบาริ่งกับประเทศต่างๆ

    ·      ในสมัย ร.๗  ด้ถวายคำแนะนำเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมือง และแนวทางแก้ปัญหาและได้ร่างรัฐธรรมนูญถวายให้ทรงพิจารณาด้วย

    ·      คุณงามความดีที่ดร.แซร์ มีต่อประเทศไทย จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระยากัลยาณไมตรี และต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๑๑  รัฐบาลไทยได้ตั้งชื่อถนนข้างกระทรวงต่างประเทศ (วังสราญรมย์)  ว่าถนนกัลยาณไมตรี

     

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×