ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ
    ห้องเรียน รักษ์ไทย

    ลำดับตอนที่ #1 : ความเป็นมาของสัตว์หิมพานต์

    • อัปเดตล่าสุด 13 ธ.ค. 53



      ความเป็นมาของสัตว์หิมพานต์

     

              ความคิดเรืองสัตว์ประหลาดที่มีรูปร่างแปลกๆ   อย่างที่เราเรียกกันว่า สัตว์หิมพานต์ นั้น   เห็นจะมีกันหลายชาติหลายภาษาและความคิดนั้นอาจจะมาพ้องกันโดยบังเอิญ   หรือเลียนแบบกันในทางความคิด แต่ลักษณะฝีมือทางช่างและศิลปะตกแต่งอาจแปลกกันออกไป  เท่าที่พบหลักฐานแน่ชัด อียิปต์เป็นชาติที่มีเทพรูปเป็นคนปนสัตว์มาเก่าแก่  ตามประวัติศาสตร์ก่อนพุทธกาล  ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า ประเทศอียิปต์เป็นประเทศที่มีความเจริญมาแต่โบราณประมาณ 4,500 ปีก่อนพุทธกาล  และมีความเคารพนับถือสัตว์มาแต่โบราณ  เชื่อถือว่าแมลงทับเป็นตัวแทนของผู้สร้างโลก  ที่เป็นเช่นนี้เพราะริมฝั่งแม่น้ำไนท์มีแมลงทับชุกชุม  แมลงทับจะนำดินมาสร้างเป็นรังใหญ่ๆ  ด้วยเหตุนี้ชาวอียิปต์จึงเชื่อว่าต้องมีพระเจ้าสร้างโลก  เลยพากันนับถือแมลงทับไปด้วย(พลตรี  หลวงวิจิตรวาทการ จาก ประวัติศาสตร์สากล เล่ม ๑)

              แมลงทับดังกล่าวนั้นจะหมายถึงตัวสแคแร็ป (scarab) หรืออย่างไรไม่ทราบ  แมลงนี้เป็นแมลงปีกแข็งตามคติของอียิปต์ถือเป็นแมลงศักดิ์สิทธิ์ในเรื่อง เมืองอียิปต์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้กล่าวถึงเขเประว่าเป็นเทวะที่สร้างตนเองในรูปมีด้วงมะพร้าว(แมลงช้าง)อยู่บนเศียร  ต่อมาในชั้นหลังนับถือกันว่าเป็นผู้สร้างเทวดาและสร้างโลก

              โดยเหตุที่เทพเจ้าของอียิปต์มีวิณญาณจึงมักเข้าสิงสู่อยู่ในสัตว์ต่างๆ  ฉนั้นรูปปั้นเทพเจ้าจึงต้องทำร่างเป็นมนุษย์และหัวเป็นสัตว์อย่างเช่นโฮรุสหรือฮอรัส (Horus) มีเศียรเป็นเหยี่ยว  เซเค็ตมีเศียรเป็นสิงโต บัสต์มีเศียรเป็นแมว เซเบ็กมีเศียรเป็นจระเข้ อนูบิสมีเศียรเป็นสุนัข  ธอธมีเศียรเป็นรูปหัวนกช้อนหอย เป็นต้น
        
    โฮรุส และเซเบ็ค

     เรื่องความเป็นมาของเทพเจ้าอียิปต์นี้ สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงอธิบายว่า

              ตามคติศาสนาของชาวอียิปต์แต่เดิมนั้นถือว่าเทพเจ้าอวตารลงมาเป็นสัตว์เดรัจฉาน  เพราะฉะนั้นชั้นเดิมจึงชอบบูชาเดรัจฉาน  ที่สำคัญว่าทรงเทพเป็นเจ้าสรณะ  แต่ทำรูปสัตว์เหล่านั้นด้วยศิลาเป็นเจดีย์ มีรูปเหยี่ยว รูปจระเข้ รูปแกะ รูปงู รูปโค แม้จนรูปแมว เป็นต้น ครั้นเมื่อล่วงพุทธกาลซัก ๒๐๐ ปี  พระเจ้อเล็กซานเดอร์มหาราชเป็นกรีกมาซิโดเนีย  มีอานุถาพขึ้นในยุโรปยกกองทัพไปเที่ยวปราบปรามนานาประเทศ  ได้เองอียิปต์และเมืองอื่นๆ  ในยุโรปทางตะวันออก  ตลอดมาจนเมือเปอร์เซียและคันธารราษฎร์ในอินเดียไว้ในราชอาณาเขต  ตั้งแม่ทัพคนสำคัญกับทั้งพวกคนกรีกอยู่ปกครองประเทศนั้นๆ

     ทุกประเทศ...  พวกกรีกที่มาตั้งอาณาเขตในคันธารราษฎร์มาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้นามว่าชาวโยนก  พวกพลกรีกที่ปกครองประเทศอียิปต์ชื่อปะโตเลมีตั้งราชธานีอยู่ที่เมืออเล็กซานเดรียชายทะเลเมดิเตอเรเนียนที่ปากแม่น้ำไนล์ครองราชย์สมบัติสืบวงษ์ลงมา ๑๔ ชั่วกษัตริย์ตอลดเวลากว่า ๓๐๐ ปี ในระหว่างนั้นมีพวกกรีกพากันไปตั้งภูมิลำเนาเลยเป็นพลเมืองอยู่มาก  เมืองอียิปต์จึงมีพลเมืองพวกใหญ่เป็น ๒ พวกคือพวกกรีกและพวกอียิปต์  พวกกรีกพาศาสนาของตนที่นับถือเทพเจ้าต่างๆ  โดยทำรุปอย่างมนุษย์ไปถือถือในอียิปต์  ครั้นจำเนียรกาลนั้นมา  เมื่อพวกกรีกและพวกอียิปต์ได้ซ่องเสพสมาคมคุ้นกันหนักขึ้น  การถือคติศาสนาก็เกิดปะปนกัน กลายเป็นถือว่ารูปเทพเจ้าที่จุติมาบังเกิดในโลก  ผิดกับมนุษยละสัตว์เดรัจฉานจึงเกิดความคิดทำเทวรูปตัวเป็นคนหน้าเป็นสัตว์ต่างๆ  เป็นเหยี่ยวบ้าง  เป็นจระเข้บ้าง หรือมิฉะนั้นหน้าเป็นคนตัวเป็นสัตว์เดรัจฉาน เช่น สฟิงซ์ เป็นต้น (สาสน์สมเด็จ  ฉบับลงวันที่ ๑๐ กุมพาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๗)

              ด้วยเหตุดังกล่าว สิงห์หน้าคนที่เรียกกันว่า สฟิงช์ (Sphinx,Sphynx)จึงมีทั้งกรีกและอียิปต์  กล่าวตามประวัติในหนังสือบางเล่ม  ว่าสฟิงช์เกิดขึ้นในอิปต์ก่อน  แล้วแพร่หลายเป็นที่รู้จักกันทั่วไปในตะวันออกใกล้  โดยมีกรีกเป็นตัวเชื่อมที่สำคัญ
     
                สฟิงช์

              ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่ากรีกเป็นชาติแรกในโลกที่นำเอาความเจริญของเอเชียเข้าไปสู่ยุโรป  และนำความเจริญของยุโรปเข้ามาเผยแผ่ในเอเชีย  สรุปว่ากรีกเป็นมนุษย์พวกแรกที่เชื่อมยุโรปกับเอเชียให้มีการเดินทางไปมาถึงกัน  และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันก่อนชาติอื่นๆ  จึงเป็นเรื่องน่าคิดว่าอิทธิพลเกี่ยวกับสัตว์ประหลาดต่างๆ ทางเอเชียคงจะได้รับมาจากทางกรีกด้วย
       
                ไคมีร่า หรือ คิเมร่า  เทียนลู่ และปี่เสี้ย

    อีกชาติหนึ่งที่มีสัตว์ประหลาดและมีส่วนสัมพันธ์กับไทยคืออินเดีย ที่เรารู้จักกันดีก็มีครุฑ พญานาค ที่แปลกออกไปก็มี คชศารทูล (ตัวเป็นเสือหัวเป็นช้าง คช แปลว่าช้าง ศารทูลแปลว่าเสือ) และสัตว์อื่นๆอีกมาก ซึ่งเข้าใจว่า จะเป็นต้นเค้าของตำนานสัตว์หิมพานต์ของไทย  ดังจะได้เล่าต่อไปข้างหน้า  สัตว์ประหลาดๆของอินเดียนั้น  นักปราชญ์ทางโบราณคดีได้ลงมติว่าได้แบบมาจากกรีก  ดังปรากฏในหนังสือเรื่อง เอ็ม.เอ.ชาคูร-ประติมากรรมคันธาระในปากีสถาน ( สุปรีดา ประศาสน์ วินิจฉัย แปล สำนักงานองค์การ สปอ.เป็นผู้จัดพิมพ์)
                                    
                                         สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
                                       
                   เทือกเขาหิมาลัย หรือหิมพานต์ในปัจจุบัน

    ในเรื่องสัตว์หิมพานต์นั้นถึงจะได้เคยฟังจากนิทานโบราณมาบ้างแล้วก็ตามแต่ภาพหรือมโนภาพที่ได้จากการฟังนั้นก็คงจะมีรูปแบบต่างๆกันไป  เพราะมนุษย์ที่เคยเห็นสัตว์เหล่านั้นจริงๆคงไม่มี ดังจะเห็นว่าความคิดความเข้าใจของจิตรกรอินเดียกับไทยเข้าใจไม่เหมือนกัน เช่น ภาพของคนธรรพ์อินเดียบางแห่งเป็นกึ่งคนกึ่งนกก็มี เป็นมนุษย์มีสี่มือก็มี ของไทยเราเป็นรูปมนุษย์ทุกส่วน ภาพครุฑก็แปลกกันออกไป เช่นครุฑในตำนานขอไทยมีหัว ปีกเล้อและปากเหมือนอย่างนกอินทรีตัวและแขนเป็นคน หน้าขาวปีกแดง ตัวเป็นสีทอง(แต่ตามภาพเขียนภาพสลักจะใช้สีแดงหมด ไม่เขียนตามตำนาน) ส่วนครุฑขอประเทศภูฐาน หน้า มือ  ลำตัว เป็นมนุษย์ ท่อนล่างเป็นนก ตัวอ้วนพุงโต ครุฑของเนปาลเป็นมนุษย์ทุกส่วน เพิ่มแต่ปีกเข้าไปเท่านั้น แบบเดียวกับครุฑสลักด้วยศิลาของแคว้นโอริสสาที่เป็นมนุษย์แต่มีหนวดด้วย

              อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านทั่วๆไปรู้จักสัตว์หิมพานต์จากวัดอีกเช่นเดียว คือตามผนังโบสถ์วิหารมักจะเขียนภาพชาดกวึ่งมีภาพป่าหิมพานต์และสัตว์หิมพานต์ไว้ด้วย  แต่ถึงกระนั้นภาพสัตว์หิมพานต์ก็ยังมีขอบเขตจำกัด  จำนวนน้อยตัวหรือมีเท่าที่กล่าวไว้ในวรรณคดีเท่านั้น  ครั้นต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ความคิดเรื่องสัตว์หิมพานต์ได้ทวีงอกเงยขึ้นกว่าเดิม  ทั้งนี้เกิดขึ้นจากความจำเป็นที่จะต้องหาสัตว์แปลกประหลาดมาใช้ในกระบวนแห่พระบรมศพให้มากขึ้น  คือแต่เดิมทำแต่พอจำนวนเจ้านายขี่อุ้มผ้าไตรไปในกระบวนแห่  ครั้นมาภายหลังเปี่บนเป็นษุศบกวางไตรบนหลังรูปสัตว์แทน  จึงเพิ่มจำนวนรูปสัตว์ขึ้น  การที่เพิ่มนั้นจะเพิ่มด้วยเหตุใดก็ตามช่างต้องคิดรูปสัตว์ขึ้นมาใหม่ให้แปลกออกไป จึงจับโน่นประสมนี่สุดแต่ให้แปลกกับรูปสัตว์ที่มีอยู่เดิม รูปสัตว์แปลกๆจึงมีมากขึ้นและอาลักษ์ก็ต้องคิดชื่อสัตว์ที่คิดขึ้นไหม่ จึงเกิดรูปสัตว์นอกรีดต่างๆมากมาย

          

    (เรียบเรียงจาก  สัตว์หิมพานต์ โดย ส.พลายน้อย)

              จะว่าไปแล้ว หิมพานต์ก็อยู่ไกล้เหมือนกันเนอะ   คนที่เดินทางบ่อยๆอาจจะผ่านป่าหิมพานต์มาหลายรอบแล้วก็ได้ ฮ่าๆๆ.....................................................


    แม้วัตถุที่ประสงค์ของศิลปะคันธาระนั้นส่วนมากจะเป็นเรื่องทีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาก็ตาม  แต่ก็อาจมองเห็นความคิดอันเป็นจุดสำคัญหลายประการในศิลปวัตถุเหล่านั้น  ว่าได้มาจากภาคตะวันตกของอาเซีย(อันนี้ผมไม่มั่นใจนักว่า เขาเขียนผิดหรือ ใช้ทับศัพท์จากอาเซียหรืออาเซี่ยน) หรือจากกรีก  สิ่งดลใจจากเมโสโปเตเมีย  เป็นต้นว่าเมืองหลวงเปอร์เซโปลิสและลายหยักขึ้นลงตามกำแพงเมือง และสัตว์ประหลาดต่างๆ เช่น สฟิงช์และสัตว์ครึ่งสิงโตครึ่งนกอินทรีนั้น สำนักศิลปะอินเดียโบราณได้เลียนแบบเอาไว้เรียบร้อยแล้ว ศิลปะแบบอื่นๆ เช่น ศิลปะที่ใช้ภาพคนแบกรูปเทพเจ้าแห่งความรัก แบกพวงมาลัย และสัตว์ครึ่งสัตว์ครึ่งมนุษย์ ดังสัตว์ครึ่งคนครึ่งม้า สัตว์ครึ่งคนครึ่งปลา สัตว์ครึ่งม้าครึ่งปลา ล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่งในคลังศิลปะแบบกรีก

              ในส่วนของไทยเราเองจะได้แบบอย่างหรือความคิดเรื่องสัตว์ประหลาดมาแต่สมัยใดไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด  แต่ใยสมัยสุโขทัยหรืออยุธยายุคต้นก็น่าจะมีมาแล้ว  เพราะปรากฏในไตรภูมิพระร่วงในสมัยสุโขทัยก็มีกล่าวถึงครุฑ นาค สิงห์ กินรี หงส์ อันเป็นสัตว์หืมพานต์แท้ยุคต้น  ตามภาพเขียนภาพปั้น จึงมีแต่สัตว์เหล่านี้  หรือบางทีก็มีนกแปลกๆ เช่น นกการะเวกและนกอรหันบ้าง 

              อนึ่งนอกจากสัตว์ประหลาดและเทพรูปร่างแปลกๆ ดังกล่าวแล้ว ยังมีภาพพวกสัตว์นรกอีกพวกหนึ่ง เช่น รูปคนมีศีรษะเป็นนกบ้าง  เป็นไก่บ้าง (ภาพเขียนวังสวนผักกาด) รูปดังกล่าวถือเป็นตัวบาป  คือกระทำกรรมชั่วอันใดไว้ เช่น ยิงนก ชนไก่ ก็ไปตกนรกมีรูปร่างเช่นนั้น และในภาพชุดแม่ซื้อที่เขียนเป็นรูปสตรีมีศีรษะเป็นสัตว์ต่างๆ ก็ไม่ถือเป็นสัตว์หิมพานต์ แม้ว่าดูเผินๆ จะรูปร่างคล้ายกันก็ตาม

              คำว่า หิมพานต์ เป็นคำเก่าที่คนรุ่นปู่รุ่นย่าตาทวดรู้จักกันดี  เพราะได้รับการถ่ายทอดมาจากชาดก  โดยเฉพาะในบทเทศน์มหาชาติ  ซึ่งเป็นวรรณคดีที่ถือเป็นประเพณีที่จะต้องนำมาเทศน์เป็นประจำทุกปี  และเชื่อกันว่า ผู้ฟังจะได้บุญได้กุศล ฉะนั้นคนพื้นบ้านของไทยส่วนมากจึงได้ยินได้ฟังเรื่องป่าหิมพานต์กันมาเป็นอย่างดี   สัตว์หิมพานต์ที่มีรูปร่างแปลกๆก็ได้รับอิทธิพลมาจากนิทานโบราณเหล่านี้  ในนิทานชาดกบางเรื่อง เช่น เทวันธชาดก ในปัญญาสชาดก  ปัจฉิมภาค เล่าถึงม้าถูกยักษ์กัดกินหัวขาดไป  พระอินทร์เอาหัวราชสีห์มาต่อให้กลายเป็นสัตว์ประหลาด มีตัวเป็นม้ามีหัวเป็นราชสีห์

              ในส่วนความหมายของคำว่า หิมพานต์ โดยทั่วๆไปเข้าใจว่าเป็นป่าใหญ่ลึกลำเกินที่ใครๆจะไปได้ถึงจนมีคำพูดกันว่า นอกฟ้าป่หิมพานต์ คือไกลเหลือเกิน  ตามรูปศัพท์แล้วหิมพานต์มาจากคำว่า  หิมวนุตฺ (หิมะวันตะ) ซึ่งหมายถึมีหิมะ  ปกคลุมด้วยหิมะถ้าเรียกในปัจจุบันนี้ก็คือ ภูเขาหิมาลัยนั่นเอง(หิม กับอาลัย ได้ หิมาลัย แปลว่า ที่อยู่แห่งหิมะ)

              โดยเหตุที่เชื่อกันว่าป่าหิมพานต์อยู่ไกลแสนไกล  ใครไปไม่ถึงนี่เองถ้าใครมาพูดว่าได้ไปถึงป่าหิมพานต์มา  ก็ถือว่าพูดไม่จริงแม้ในสมัยรัชกาลที่๕นี้เอง  ก็ยังมีคนไม่เชื่อเช่นนั้นอยู่มาก  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงเล่าถวายสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ว่า

              เมื่อครั้งหม่อมฉันกลับจากยุโรปมาทางอินเดีย  พระยาศิริธรรมบริรักษ์(ทับ)เวลานั้นยังเป็นนายทับมหาดเล็กรับใช้ของหม่อมฉันออกไปรับที่เมืองกาลกัตตา  หม่อมฉันพาไปเที่ยวถึงเมืองดาชีลิงที่บนภูเขาหิมาลัยด้วย  หม่อฉันบอกว่าที่เรามานี้อยู่ในป่าหิมพานต์เมื่อกลับมาถึงกรุงเทพฯ พระยาศิริธรรมฯได้ไปหาพระท่านธรรมทานาจารย์(จุ่น)วัดสระเกศ  ผู้เป็นอาจารย์  ท่านถามว่าได้ไปถึงไหน พระยาศิริธรรมฯบอกว่า  ผมได้ไปถึงบนเขาในป่าหิมพานต์ ถูกท่านเจ้าจุ่นเอ็ดขนานใหญ่  ว่าไปเมืองนอกประเดี๋ยวเดียวไปเรียนวิชาโกหกกลับมา  พระยาศิริธรรมบอกว่า หม่อมฉันได้บอกเองว่าไปถึงป่าหิมพานต์  ท่านยิ่งโกรธ่า พูดดูราวกับข้าไม่รู้ป่าหิมพานต์นั้นไปได้แต่เทวดากับฤาษีสิทธิวิทยาธร  ที่รู้เหาะเหิน  เอ็งเป็นมนุษย์เดินดินจะไปได้อย่างไร ข้าไม่เชื่อ  พระยาศิริธรรมก็สิ้นพูด
                    

              นอกจากชาติดังกล่าวแล้วยังมีจีนอีกชาติหนึ่งที่มีสัตว์ประหลาดอยู่หลายชนิด เช่น มังกร กิเลน ฯลฯ  มีที่แปลกอยู่รูปหนึ่งทำด้วยกระเบื้องเคลือบสมัยถังหน้าเป็นมนุษย์  แต่กระหม่อมสูงเหมือนเขา  หูกว้างใหญ่ นั่งชันเข่าเหมือนสุนัขเท้าเป็นกีบ  ว่าเป็นตัวเจ้าที่รักษาฮวงซุ้ยที่ฝังศพของจีน  อีกรูปหนึ่งชื่อนูกัวชีมีร่างกายเป็นงู  ศีรษะเป็นมนุษย์  บางแห่งว่าศีรษะเป็นวัว หรือศีรษะเป็นมนุษย์แต่มีเขาแบบวัว  บางชนิดมีรูปร่างคล้ายสุนัขหรือสิงโต ในหนังสือ The Art and Architecture of China เรียกว่า chimera มีอธิบายว่า ชนิดมีเขาเรียกว่า เทียนลู้ ชนิดสองเขาเรียกว่า ปิเสี้ย บางแห่งอธิบายว่าตัวผู้มีเขาเดียว บางรูปมีปีกด้วย มักพบตามที่ฝังศพ ตัว chimera นี้เห็นจะตรงกับสัตว์ในเทพนิยายกรีกที่เรียกว่า คิเมร่า ซึ่งมีหัวเป็นสิงโต ตัวเป็นแพะ หาเป็นมังกร  ตามประวัติว่าเป็นลูกของอิคิดนาตามที่กล่าวข้างต้น (เห็นจะเป็นพี่น้องกับสฟิงช์) มีลมหายใจเป็นไฟ ภายหลังถูกเบอเลอโรฟอนฆ่า  อย่างไรก็ตามสัตว์ประหลาดๆของจีนดังกล่าวนี้ เป็นของที่คิดประดิษฐ์ขึ้นมาเป็นเวลานานนับพันปีแล้วทั้งนั้น

    ติดตามเรื่องนี้
    เก็บเข้าคอลเล็กชัน

    ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

    loading
    กำลังโหลด...

    ความคิดเห็น

    ×