อาการแพ้อาหารและยา - นิยาย อาการแพ้อาหารและยา : Dek-D.com - Writer
×

อาการแพ้อาหารและยา

จากการเรีบนไอเอสจึวนำมาเผยแพร่

ผู้เข้าชมรวม

60

ผู้เข้าชมเดือนนี้

4

ผู้เข้าชมรวม


60

ความคิดเห็น


0

คนติดตาม


0
จำนวนตอน : 0 ตอน
อัปเดตล่าสุด :  17 ก.พ. 61 / 19:57 น.

อีบุ๊กจากนิยาย ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...
ตั้งค่าการอ่าน

ค่าเริ่มต้น

  • เลื่อนอัตโนมัติ

บทที่ 1
บทนำ
ความเป็นมาของปัญหา
อาหารและยาเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทั้งนี้อาหารและยาเป็นสิ่งที่เราต้องเลือกที่จะบริโภคเพื่อให้เกิดประโยชน์กับตัวเรามากที่สุด แต่เราจะรู้หรือไม่ว่าปัจจัย 4 อย่างอาหารและยานี้ก็สามารถให้โทษต่อร่างกายเราได้หากไม่รู้จักระมัดระวัง และไม่รู้จักการแพ้อาหารและยา
บางคนทานอาหารและยาหลายชนิดก็ไม่เป็นอะไร แต่มาวันหนึ่ง เราอาจจะทานอาหารอยู่ดีๆ หรือกำลังทานอาหารที่ชื่นชอบอยู่โดยที่คุณไม่เคยแพ้มัน ก็เกิดอาการลมพิษ มีผื่นขึ้นตามตัวเสียนี้ สิ่งเหล่านี้เป็นอาการบอกคุณว่า ภูมิคุ้มกันของคุณบกพร่อง
คนเรามีชีวิตอยู่ในภาวะแวดล้อมที่มีจุลินทรีย์มากมายทั้งไวรัส,แบคทีเรีย,โปรโตซัว และเชื่อรา สิ่งเหล่านี้ไม่สามารถทำร้ายเราได้เพราะเรามีกลไกต่อต้านอยู่ ซึ้งเรียกว่า ระบบภูมิคุ้มกัน ถ้ากลไกอันใดอันหนึ่งสูญเสียไป เราก็จะติดเชื้อโรคได้โดยง่ายซึ่งอาจทำให้ถึงชีวิต จากการทำงานผิดพลาดของกลไกเหล่านี้ ซึ่งถ้าหากเราไปกระตุ้นให้เราเสียมันไปก็จะเป็นอันตรายต่อชีวิตของเรา
อาการแพ้อาหารและยา เรื่องที่ทุกคนรู้จักแต่อาจไม่รู้ตัวว่าเป็นและอาจไม่ระมัดระวังจากมันเท่าทีควร หนึ่งปัจจัย 4 นี้มีผลกระทบถึงชีวิตหากเรารู้ไม่ถึงการ การแพ้อาหารและยานั้นมีปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดได้หลายๆ อย่าง ทั้งภูมิคุ้มบกพร่อง พยาธิกำเนิด ปฏิกริยาโดยตรงของ ADRs สารก่อภูมิแพ้ สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดการแพ้อ่หารและยาทั้งสิ้น ซึ่งการศึกษาอาการแพ้อาหารและยานั้นเป็นประโยชน์แก่ผู้คนในปัจจุบันที่นิยมบริโภคอาหารจานด่วนเพื่อความสุขสบาย ทั้งอาหารที่ชื่นชอบอย่างอาหารทะเล ที่เป็นหนึ่งในสารก่อภูมิแพ้ที่ผู้คนเป็นกันจำนวนมาก ยาที่ใช้ในการรักษาโรคที่มีตัวยามากมาย ส่วนผสมมากมายที่บางครั้งเราบริโภคโดยไม่รู้ว่าอาจทำให้เราเป็นอันตรายถึงชีวิต
ถ้าหากเรารู้ถึงปัจจัยการเกิดอาการแพ้อาหารและยา จะทำให้เราสามารถป้องกันและระมัดระวังในการทานอาหารและยาเสมอ ซึ่งมันจะไม่ทำให้เราเกิดอาการแพ้ต่อสิ่งเหล่านี้ และทำให้เราไม่ต้องเข้าใช้บริการบ่อยครั้งได้ เราได้รู้และเตือนตนเองว่า สิ่งเหล่านี้มันจะเป็นอันตรายต่อตัวเรา
บางสิ่งบางอย่างเราต้องศึกษา เพื่อให้ความกระจ่างในทุกๆ ด้านเพื่อจะไม่ให้เกิดปัญหาที่สายเกินกว่าที่จะแก้ได้ทัน ศึกษาและวิจัยเรื่องอาการแพ้อาหารและยาเราหวังว่าทุกท่านจะได้ทราบและได้รับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันเวลา
ดังนั้นกลุ่มของผู้วิจัยจึงต้องการวิจัยเรื่องอาการแพ้อาหารและยา ทั้งในเรื่องปัจจัยการเกิดอาการแพ้อาหารและยา อาการแพ้อาหารและยาที่แสดงออกในด้านต่างๆ ในร่างกายเรา ทั้งในเรื่องการวินิจฉัยโรคซึ่งเป็นการตรวจหาอาการแพ้ที่มีหลายวิธี เช่น การสอบถาม การตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ และการรักษาโรค

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาปัจจัยการแพ้อาหารและยา
2. เพื่อศึกษาลักษณะอาการแพ้อาหารและยา
3. เพื่อศึกษาวิธีการตรวจสอบการแพ้อาหารและยา
4. เพื่อศึกษาวิธีรักษาอาการแพ้อาหารและยา

ประโยชน์ของการศึกษา
จาการศึกษาค้นคว้าเรื่องอาการแพ้อาหารและยาทำให้ดลุ่มผู้วิจัยทราบถึงปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดอาการแพ้อาหารและยาได้ ทราบถึงลักษณะอาการแพ้อาหารและทราบวิธีการตรวจและการรักษาอาการแพ้อาหารและยา



ขอบเขตการศึกษาค้นคว้า
1.ศึกษาปัจจัยการแพ้อาหารและยา จากภูมิคุ้มกัน พยาธิกำเนิด ปฏิกริยาโดยตรงADRs สารก่อภูมิแพ้
2.ลักษณะอาการแพ้ยา ที่แสดงออกทางผิวหนัง ผื่นแพ้ยา ลมพิษ Immune complex reaction Cytotoxic type
3.ลักษณะอาการแพ้ยา ที่แสดงออกทางระบบทางเดินหายใจ ทางระบบทางเดินอาหาร ทางผิวหนัง
4.วิธีการทดสอบอาการแพ้อาหาร การสอบถามประวัติ การทดสอบผิวหนังด้วยวิธีปิด การทดสอบทางผิวหนัง การตรวจเลือด
5.การรักษาอาการแพ้อาหารและยา การหลีกเลี้ยงจากสิ่งที่แพ้ การทดสอบทางผิวหนัง การฉีดสารป้องกันอาการแพ้ การทานยาแก้แพ้

วิธีการศึกษาค้นคว้า
1.ศึกษาจากเอกสารการวิจัยอาการแพ้อาหารและยา
2.ศึกษา รวบรวมวิเคราะห์เอกสารทั้งหมดที่มีเพื่อความแม่นยำถูกต้องของเนื้อหา
3.สรุป อภิปราย และข้อเสนอแนะ
4.นำเสนอการค้นคว้า ด้วยการบรรยาย จัดทำบอร์ด





บทที่ 2
ปัจจัยการแพ้อาหารและยา
1.ระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง
เรามีชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีจุลินทรีย์มากมายทั้ง ไวรัส , แบคทีเรีย , โปรโตซัว และเชื้อรา ซึ่งพร้อมที่จะทำให้เราเป็นโรคได้ตลอดเวลา แต่สิ่งเหล่าไม่สามารถทำอันตรายต่อร่างกายเราได้เพราะเรามี “ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system)” ซึ่งหากกลไกอันใดอันหนึ่งหายไปจะทำให้เราเป็นโรคต่างๆ ได้ง่ายซึ้งอาจรุนแรงจนเราเสียชีวิตได้ ในทางตรงกันข้าม หากกลไกลเหล่านี้ทำงานผิดไป มีการทำงานมากเกินไปซึ่งเราเรียกโรคที่เกิดจากกลไกลทางอิมมูน (Immunological disease) เช่น โรคภูมิแพ้
การควบคุมการตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกัน (immune regulation)
การควบคุมการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดสมดุลย์ในการทำงานโดยไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของเซลล์ร่างกาย จึงต้องประกอบด้วยคุณสมบัติดังต่อไปนี้
1. ต้องไม่คุกคามเซลล์หรือเนื้อเยื่อร่างกายตนเอง คุณสมบัตินี้เรียกว่า self tolerance
2. การตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมจะต้องเกิดในจังหวะที่พอดีและเกิดในตำแหน่งที่เหมาะสม
3. ต้องจัดสรรให้มีหน่วยกำกับหรือปราบปรามระบบภูมิคุ้มกันไม่ให้เกิดการตอบสนองที่รุนแรงเกินไปจนกระทั่งเป็นภัยต่อเซลล์หรือเนื้อเยื่อปกติของร่างกาย (hypersensitivity potential) และต้องควบคุมไม่ให้เกิดการตอบสนองที่ยืดเยื้อนานเกินไปจนอาจส่งผลกระทบต่อเซลล์ปกติของร่างกายได้ (autoimmune potential)
-ความผิดปกติในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
กลไกในการเกิดความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันมีได้ 3 แบบคือ
1.การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกายบกพร่อง (immune deficiency) ซึ่งอาจเป็นมาแต่กำเนิด (เช่น โรค hypogammaglobulinemia ในเด็ก) หรือ เกิดขึ้นในระยะหลัง (acquired) จากการติดเชื้อไวรัสบางชนิด (เช่นไวรัสเอดส์) ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน (เช่น เคมีบำบัดที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง ยาในกลุ่มสเตียรอยด์) สัมผัสกับสารกัมมันตภาพรังสีเป็นบริเวณกว้างจนเกิดการทำลายไขกระดูก (เช่น ได้รับรังสีรักษา สัมผัสกับกากสารกัมมันตภาพรังสี หรือระเบิดนิวเคลียร์) ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดตัดม้ามออก (เช่น ม้ามแตกจากอุบัติเหตุ โรคธาลัสซีเมียรุนแรงที่มีม้ามโตมากๆ) ผู้ที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง (เช่น เบาหวาน ไตวาย ตับแข็ง เป็นโรคขาดอาหารรุนแรง) หรือผู้สูงอายุมากๆ (extreme age)
2. ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานมากเกินไป หรือ ภูมิไวเกิน (hypersensitivity reaction) ทำให้มีการตอบสนองที่รุนแรงมากผิดปกติกับสารบางอย่าง เช่น เกสรดอกไม้ ขนสัตว์ โลหะ ทำให้เกิดอาการในกลุ่มของโรคภูมิแพ้ (allergic disease) เช่น แพ้อากาศ หืดหอบ ไซนัสอักเสบจากภูมิแพ้ การแพ้ยาหรือแพ้อาหารทะเล เป็นต้น สิ่งแปลกปลอมที่ทำให้เกิดอาการของโรคภูมิแพ้นี้ เราเรียกว่า "allergen "
3.ระบบภูมิคุ้มกันทำงานสับสน ไม่สามารถแยกแยะแอนติเจนร่างกายออกจากแอนติเจนแปลกปลอม เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันเข้าจู่โจมและเข้าทำร้ายเนื้อเยื่อร่างกายทำให้เกิดเป็นโรคทางออโตอิมมูน (autoimmune) ขึ้นมาได้ ตัวอย่างของโรคเหล่านี้ได้แก่ โรคลูปัส โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ไข้รูมาติก ต่อมทัยรอยด์เป็นพิษ (ชนิด Graves’ disease) หรือโรคเบาหวานที่เกิดจากการทำลายเซลล์ของตับอ่อนที่หลั่งฮอร์โมนอินซูลิน เป็นต้น
2.พยาธิกำเนิด
มียาหรือ Therapeutic agents เพียง 2-3 ชนิดเท่านั้นที่เป็น complete antigen เช่นhorse serum antitoxin, antithymocyte globulins และ polypeptide hormones ซึ้งมีฤทธิ์ antogenicity ที่กระตุ้น IgE หรือ IgG ทำให้เหิดปฏิกิริยาอิมมูน สำหรับยาที่มี molecular weight น้อยกว่า 1,000 Deltons และมี metabolites ที่มีขนาดเล็กมาก จะไม่สามารถกระตุ้นปฎิกิริยาทางอิมมูนโดยตรงได้ เพราะเป็น incomplete antigen ที่เรียกว่า hepten ซึ้งต้องรวมตัวเข้ากับ macromolecule อื่นๆ เช่น protein หรือ polypeptide ที่เรียกว่า Currier ให้เป็น complete antigen ก่อนจึงก่อให้เกิดปฏิกิริยาได้ สารเคมีบางชนิดเช่น acid anhydrides, acid chlorides, aromatic halides, isocyanates, isothiocyanates, mercaptans, quunones และ diazonium salts ก็สามารถเป็นตัวทำ happen ก่อเกิดปฏิกิริยาได้เช่นกัน
ยา penicillin ทำให้ทราบว่าปฏิกิริยาที่เกิดจากการแพ้ penicillin เป็นผลมาจาก metabolites ของ penicillin มากว่าตัวยาเอง ซึ้งมีประโยชน์ในแง่ของการผลิตสารที่จะนำมาใช้ในการทดสอบการแพ้ยานั้นๆ เช่น beta-lactam antimicrobial drug จะมี oxazolone group ใน beta-lactam ring ที่จะรวมตัวเข้ากับ protein และ polypeptides ด้วย covalent bond เป็น benzylpencilloyl polylysine เป็น major allergen ของpenicillin เมื่อเปรียบเทียบกับ beta-lactam ตัวอื่นๆ เช่น cephalosporin ที่มี metabolites ค่อนข้างจะ unstable ที่จะทำให้เกิด allergenic conjugate ได้
3.ปฏิกริยาโดยตรง ADRs
เป็นภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันที่เกิดจากการที่เนื้อปอดมีพยาธิสภาพเกิดขึ้นอย่างรุนแรง กระจายอย่างรวดเร็วไปที่เนื้อปอดทั้ง 2 ข้าง เป็นผลให้มีภาวะพร่องออกซิเจนอย่างมาก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงทีผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้มาก.
2.1.ปัจจัยเสี่ยงการเกิด ADRs ได้แก่
2.1.1.กระบวนการทางเภสัชจลนศาสตร์ ที่เป็นตัวกำหนดฤทธิ์ของยาถ้าถูกรบกวน อาจทำให้ระดับยาในเลือดหรือตำแหน่งของการออกฤทธิ์สูงขึ้นทำให้ฤทธิ์เพิ่มขึ้น
2.1.2.Therapeutic index(Ti) ของยาบางชนิดต่ำมาก ยาบางชนิดมีฤทธิ์ทางเภสัชหลายอย่าง
2.1.3.อายุ เช่นเด็กแรกคลอด (neonates) ถ้าได้รับยาปฎิชีวนะ Chloramphenicol อาจเกิด gray baby syndrome ทารกที่คลอดก่อนกำหนดถ้าได้รับ chloram phenicol จะมีอันตรายสูงกว่าเด็กที่ได้รับยาปฏิชีวนะชนิดอื่นเพราะทารกยังไม่มีการพัฒนา enzyme system ในตับที่สมบูรณ์ ทำให้มีระดับยาสูงกว่าปกติ คนสูงอายุมักมีโอกาสเป็นมากกว่าเด็ก
3.พันธุกรรม ปัจจัยทางพันธุกรรมมีส่วนเพิ่มในการเกิดของยาในผู้ป่วยบางคน
4.Compliance ผู้ป่วยไข้ทานยาไม่สม่ำฤฤเสมอ ไม่เป็นเวลา อาจใช้ยามากเกินไป หรือนำยาของผู้ป่วยคนอื่นมาใช้
5.Disease ในสภาวะที่เป็นโรคอาจรบกวนการทำงานของร่างกาย ทำให้ pharmacokinetics และ pharmacodynamics ของยาเปลี่ยนแปลงได้ และในสภาวะที่เป็นโรคอาจทำให้อวัยวะบางแห่งมีความไวต่อฤทธิ์ทางเภสัชของยา
6.การใช้ยาหลายชนิดรวมกัน เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคหรือ drug-induced disease ได้บ่อยสุด ในการประชุมทางการที่เกี่ยวกับ polyphamacy ระบุว่าในสหรัฐอเมริกาพบว่าผู้ป่วยในได้รับยาโดยเฉลี่ย 8.4 รายการและมีรายงานการศึกษาอุบัติการณ์ของ ADRs ในผู้ป่วยนอกที่มา outpatient linic ซึ้งเป็น University-based จำนวน 373 ราย พบว่าอุบัติการณ์ของ ADRs ในผู้ป่วยที่ได้รับยา 6-10 ชนิด จะเท่ากับ 7% และผู้ป่วยที่ได้รับยา 16-20 ชนิด จะมีอุบัติการณ์ของ ADRs สูงมากถึง 40% การใช้ยาน้อยชนิดเป็นวิธีการลดการ ADRs
2.2.กลไกลการเกิด ADRs
เป็นภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันที่เกิดจากการที่เนื้อปอดมีพยาธิสภาพเกิดขึ้นอย่างรุนแรง กระจายอย่างรวดเร็วไปที่เนื้อปอดทั้ง 2 ข้าง เป็นผลให้มีภาวะพร่องออกซิเจนอย่างมาก หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงทีผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้มาก. แบ่งเป็น 2 ประเภท
2.2.1.Type A เป็น ADRs ที่เกิดจากทางเภสัชสิทยาตามปกติ (normal pharmacological effects) ของยาแต่ผลขยายออกไปจากปกติ พบบ่อยแต่มีความรุนแรงน้อย
2.2.2.Type B (Bizzare) เป็น ADRs ที่เป็นฤทธิ์ผิดปกติ (aberrent) ของยาเกิดขึ้นโดยไม่สามารถคาดหมายได้จากฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ทราบแล้วของยานั้น ADRs ประเภทนี้จะมีอุบัติการณ์ต่ำ แต่มักมีความรุนแรงมาก
4.สารก่อภูมิแพ้
4.1.อาหารทะเล Sea food
ภาพ 1.1 อาหารทะเล
การแพ้อาหารทะเลมักมีอาการเกิดจึ้นเร็วหลังจากการทาอาหาลนั้นๆ แบบงได้เป็นกลุ่มใหญ่ๆ คือกลุ่มปลา และกลุ่มshellfish ซึ้งเป็นกลุ่มของinvertebrates ซึ้งอาจแบ่งออกได้อีกเป็น 1)crustaceans ได้แก่ กุ้ง ปู crawfish และ 2)mollusks(หอย) เช่น หอยนางรม หอยแครง และหอยเชลล์ เป็นต้น
ปลามีสารก่อภูมิแพ้ที่ทนต่อความร้อนแม้จะทำให้สุกแล้วมักมีอาการแพ้อยู่ ซึ้งผู้ที่แพ้นั้นพบได้บ่อยมากในประเทศไทยและประเทศที่มีชายฝั่งทะเล
สำหรับการแพ้ Shellfish ก็พบได้บ่อยเช่นกัน แต่ยอุบัติการณ์ในไทยยังไม่ทราบแน่ชัด ซึ้งที่พบได้บ่อยที่สุดคือ กุ้ง
4.2.การแพ้นมวัว Cow’s milk Allergy

ภาพที่ 1.2.นมวัว
น้ำนมเป็นสารอาหารที่สำคัญที่สุดสำหรับการเจริญเติบในเด็ก ยิ่งโดยเฉพาะในเด็กแรกเกิด โดยนมที่เหมาะสมที่สุดคือน้ำนมจากมารดาแค่ในปัจจุบันการให้น้ำนมมารดาน้อยลงอาจเพราะคุณแม่ไม่มีเวลาว่างมากพอในการเลี้ยงดูลูก หรือเพนาะการเลี้ยงลูกด้วยนมวัวชนิดต่างๆ นั้นหาได้ง่ายและสะดวก แต่ผลเสียที่เห็นได้ชัดกลายเป็นว่าเด็กเป็นโรคภูมิแพ้
นมวัวมีสารประกอบที่สำคัญคือ โปรตีน ซึ้งมีอยู่มากว่า 20 ชนิดแต่ที่สำคัญมีอยู่ 5 ชนิดด้วยกันคือ



Casein 2.50 กรัม%
Β-lactoglobulin 0.30 กรัม%
Α_lactalbumin 0.07 กรัม%
Bovine serum albumin 0.03 กรัม%
Bovine serum immunoglin 0.06 กรัม%

สารอาหารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ในนมวัวได้แก่ โปรตีนจากcasein
ซึ้ง Casein เป็นโปรตีนที่คงทนและไม่เปลี่ยนแปลงคุณสมบัติไปเมื่อถูกความร้อน ซึ้งต่างจาก Β-lactoglobulin, Β-lactoglobulin และ Bovine serum albumin เมื่อถูกความร้อนโดยการต้มจะทำให้มีคุณสมบัติเปลี่ยนไป ดังนั้นผู้ป่วยที่แพ้นส่วนประกอบ 3 ชนิดนี้ในนมสด เมื่อนำไปต้ม อาการแพ้อาจหายไป ซึ้งตรงข้ามกับ casein ถ้าแพ้แล้วก็ยังสามารถทำใหเกิดอาการแพ้ได้เหมือนเดิม
นมชนิดต่างๆ หรืออาหารที่ใช้แทนนม มีดังนี้
นมมารดา (Human milk) มีโปรตีนร้อยละ 1.0-1.5 ซึ้งร้อยละ 60 เป็น Whey protein มี lactalbumin เป็นส่วนใหญ่ และอีกร้อยละ 40 เป็น casein
นมวัวสด นมพาสเจอร์ไรซ์(Fresh, Pasteurized milk) มีโปรตีนประมาณร้อยละ 3.3 ซึ้งเป็น Whey protein เสียร้อยละ 18 และ casein ร้อยละ 82 นมชนิดนี้ได้แก่ นมวัวสด นมสดเกษตร นมสดบางโพ
นมข้นไม่หวาน (Evaporated milk) ได้แก่ carnation, Alaska, Dutch Baby, Sea Gulls, Libby, นมสดตรามะลิชนิดข้นไม่หวาน
Humanized milk
นมครบส่วน whole milk
หางนม (skim milk)
นมข้นหวาน
Acidified milk
นมถั่วเหลือ (soybean milk)
Lactose free formul
Protein hydrolysate หรือ casein hydrolysate
Meat base formula
4.3.ไข่ (egg)







ภาพที่ 1.3.ไข่

ไข่ก็คล้ายนมที่มีส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตแต่เป็นสาเหตุสำคัญของอาการแพ้ ส่วนสำคัญคือ ovabumin ซึอยู่ในไข่ขาว ซึ้งสารก่อภูมิแพ้ในไข่ขาวจะทนต่อความร้อน คนแพ้ไข่ไก่มักจะไม่แพ้เนื้อไก่หรือขนไก่ แต่ต้องระวังการฉึดวัคซีนบฉนิดที่เพาะเลี้ยงในไข่ อาตก่อให้เกิดปฎิกิริยาได้เวลาฉีดวัคซีน



4.4.ถั่วลิสง


ภาพที่ 1.4.ถั่วลิสง

โปรตีนจาก peanut เป็น allergen ที่สามารถทำให้แพ้ง่ายและรุนแรง ในประเทศสหรัฐอเมริกา peanut เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการแพ้จนถึงขั้นเสียชีวิตได้ การแพ้ โปรตีนถัวลิสงในผู้ป่วย severe atopic dermatitis ที่ได้รับการยืนยันว่า DBPCFC ในช่วงระยะเวลา 10 ปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 (ค.ศ.1985)เป็นร้อยละ 31 (ค.ศ.1995, เพิ่มขึ้นร้อยละ 100) เพราะถั่วลิสงมีความนิยมในการปรุงอาหารในประเทศสหระฐอเมริกามากขึ้น ซึ้งในไทยยังมีการจำหน่ายและประกอบอาหารน้อย


4.5.ถั่วเหลือง (soy bean protein)
ปริมาณเด็กที่แพ้มี 1/3 ของเด็กที่แพ้นมวัวและอัตราที่แพ้ในเด็กที่มีประวัติการแพ้อาหาร จะมีประมาณร้อยละ 4-7 สำหรับการตรวจ skin test โดย soy extract นั้นจะมี sensitive /spasificity value ที่ต่ำ คือ อยู่ที่ประมาณร้อย 19 เท่านั้น


ภาพที่ 1.4 ถัวเหลือง





บทที่ 3
ลักษณะอาการแพ้ยา
1.อาการที่แสดงออกทางผิวหนัง
นายมนตรี ตู้จินดากล่าวว่าผิวหนังเป็นอวัยวะที่พบการแสดงอาการมากที่สุด เนื้องจากผิวเป็นอวัยวะสำคัญในการขับสารพิษมากที่สุด รองจากตับ เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางผิวหนังจะเรียกว่า “ผื่นแพ้ยา”

1.1. ผื่นแพ้ยา
จะมีลักษณะอาการเฉพาะ คือ

ภาพที่ 3.1 ผื่นแพ้ยา

1.1.1. เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมักกระจายทั่วตัวเท่าๆ กันทั้งสองข้าง
1.1.2. มีอาการอักเสบของผิวหนัง อาจจะคัน แสบหรือเจ็บ
1.1.3. เมื่อหยุดยาแล้ว ผื่นจะจางลงอย่างรวดเร็ว


1.2. ลักษณะของผื่นแพ้ยา
1.2.1.ผื่นที่มีลักษณะไม่จำเพาะ

ภาพที่ 3.2 ผื่นลมพิษ

อาจเกิดจากยาชนิดใดก็ได้ เช่น ผื่นลมพิษ ที่จะสร้างสารฮิสตามีน(Histamine)* หลั่งออกมาจากเซลล์ผิวหนังที่ทำให้หลอดเลือเกิดการขยายตัวและทำให้พลาสมาซึมออกมาในผิวจนเกิดผื่นนูนแดง
1.2.2. ผื่นที่มีลักษณะจำเพาะ
มักจะเกิดกับยาบางชนิดเท่านั้น ซึ่งเมื่อเกิดผื่นชนิดนี้จะทำให้เรานึกถึงยาบางอย่าง





*สารฮิสตามีน(Histamine) เป็นส่วนประกอบของกระบวนการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกัน
2.Cytotoxic type
ส่วนมากจะทำให้เกิดการแสดงทาง hemotologic system* เช่น hemolytic anemia ทำให้เกิดการทำลายเม็ดเลือดแดงสามแบบ ยังทำให้เกิด thrombocytopenia และ granulocytopenia ได้โดยกลไกจาก Immune complex เป็นส่วนใหญ่
3.Immune complex reaction
3.1. Serum sickness
ผู้ป่วนมักเกิดลมพิษ angioedema** ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วตัว ตับ ม้ามโต ปวดข้อ ไข้อาการมักเกิดหลังจากได้รับยาประมาณ 10-21 วัน แต่ในรายที่เคยเกิกขึ้นแล้วอาจเกิดซ้ำเร็วขึ้นจาก 2-3 ชั่วโมงจนถึง 2-3 วันได้
3.2.Systemic lupus erythematosus (SLE)
มีรายงานครั้งเเรกเมื่อผู้ได้รับยา hydralazine*** โดยมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ผื่นคัน ตับ ม้ามโต ข้อแตกต่างจากโรค SLE ก็คือไม่ค่อยพบว่ามีการแสดงความผิดปกติของไตและระบบประสาทส่วนกลาง รวมทั้งระดับ complement มักอยู่ในเกณฑ์ปกติ และไม่พบ antibody ต่อ double-stranded DNA
3..3.Autoimmune disorder
ชนิดอาการอื่นๆ เล่น penicillamine อาจทำให้เกิดอาการอื่นๆ นอกเหนือจากอาการในกลุ่ม SLE ได้

hemotologic system* ระบบโลหิตวิทยา
angioedema** ภาวะที่มีการบวมในชั้นลึกของผิวหนังแท้
hydralazine*** ยาที่มีคุณสมบัติในการขยายหลอดเลือด


บทที่ 4
ลักษณะอาการแพ้อาหาร
1.อาการทางระบบทางเดินอาหาร
อาการหลักที่เกิดในระบบนี้ ได้แก่ อาการอาเจียน อาการปวดท้อง อิ่มเร็ว ถ่ายเหลว หรือเกิดเป็นอาการร่วมกับระบบอื่น ใน systemic anaphylixis มักเกิดขึ้นเร็วภายใน 2 ชั่วโมงมักเกิด
โดยที่เด็กมักมีระดับ IgE สูง มักให้ผลตรวจทางผิวหนังเป็นบวก แต่อาการเกิดภายใน 2-24 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหาร



ภาพที 4.1 IgE
2.อาการทางผิวหนัง
มีอาการคล้ายอาการแพ้ยา คือมีอาการลมพิษผื่นแพ้เอ็กซิมา ผิวหนังอักเสบ อาหาที่มักทำให้เกิดลมพิษในเด็กคือ ไข่ นมวัว ถั่วลิสง และแป้งสาลี ในเด็กโตอาจเป็นผักผลไม้ก็ได้ และสำหรับผู้ใหญ่สาเหตุมักเป็น อาหารทะเล


ภาพที่ 4.2 นม ถั่ว
3.อาการทางระบบทางเดินทางเดินปัสสาวะ
ทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ

ภาพที่ 4.3 ลำไส้อักเสบ
4.อาการทางระบบโลหิตวิทยา
อาจทำให้ผิวหนังซีดหรือแดง มือเท้าจะเย็น ชีพจรเต้นเร็วเกิดจากอาการเกร็งของหลอดเลือด เพราะมีการหลั่งสารแพ้มากเกินไป บางคนอาจหมดความรู้สึกไปเลย

IgE mediated reactions* ปฏิกิริยาความไวต่อสารกระตุ้นการแพ้

บทที่ 5
วิธีการตรวจสอบและรักษาอาการแพ้อาหารและยา
1.การสอบถามประวัติ
การสอบถามนั้นรวมไปถึงประวัติของครอบครัวด้วย เพราะโรคภูมิแพ้เกี่ยวข้องกับทางพันธุกรรมด้วยหากว่า พ่อ แม่หรือปู่ ย่า ตายาย เป็นภูมิแพ้ลูกหลานก็มีโอกาสเป็นเพิ่มขึ้นด้วย
2.การทดสอบทางผิวหนัง
การทดสอบทางผิวหนังมีด้วยกัน 4 ประเภท คือ การทดสอบด้วยการขูดผิว เจาะผิว (หรือการทดสอบด้วยเข็ม) การทดสอบชั้นใต้ผิวหนังและการทดสอบหย่อมผิวหนัง การทดสอบสามแบบแรกเป็นการทดสอบเพื่อดูว่าสารสกัดที่ค้องสงสัยและนำมาทดสอบกับผิวหนังนั้นจะทำให้เกิดปฏิกิริยาหรือไม่ ซึ่งมีความปลอดภัยมาหวิธีหนึ่ง

ภาพที่ 5.1 การทดสอบทางผิวหนัง

ยาบางชนิดมีผลกระทบต่อความแม่นยำของการทดสอบ เช่น ยาแอนติฮิสตามีน อาจเป็นปัจจัยขัดขวางไม่ให้ผิวหนังแสดงปฏิกิริยาต่อสารที่ทดสอบ ยอกจากนี้ยังยาประเภทรักษาอาการเครียด เช่น ยาไทรไซคลิก แอนติดีเพรสแซนต์ ยารักษาแผลเปื่อย เช่น เรนิทิดีน (แซนแท็ก) รวมถึงยาคอร์ติคอสเตอรอยด์ในปริมาณสูงและใช้ประจำ (มากกว่าวันละ 20 มิลลิกรัม) ยานี้ส่งผลกระทบต่อการตอบสนองของผิวหนังทั้งนั้น
หากเราทานยาเหล่านี้ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทำการทดสอบ เมื่อทราบจะให้คุณหยุดการใช้ยานั้นก่อนชั่วระยะเวลาหนึ่ง
3.การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ
3.1. การตรวจเลือด
การทดสอบเลือดที่ใช้กันมากสุดคือ แบบวัดปริมาณสารภูมิคุ้มกันอิมมูโนโกลบูลินในเลือดซึ่งเป็นประเภทสารภูมิคุ้มกันที่ร่างกายผลิตเพื่อตอบสนองต่อโรคภูมิแพ้ ซึ่งจะเน้นที่การตรวจวัดความเข้มข้นของสารภูมิคุ้มกันอิมมูโนโกบิลในของเหลวที่มีในเลือดหรือเซรั่ม สามารถนำมาใช้เป็นข้อมูลการพิจารณาว่าเป็นโรคภูมิแพ้หรือไม่ คือ หากสารอิมมูโนโกบบูลินในเซรั่มเลือดมีระดับสูง. สามารถระบุได้ว่าเป็นโรคภูมิแพ้หรือไม่ ทั้งสามารถตรวจสอบโรคอื่นด้วย

ภาพที่ 5.2 การตรวจเลือด
4.หลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้
การหลีกเลี่ยงสิ่งที่แพ้ถือว่าเป็นวิธีรักษาที่ง่ายที่สุด เพราะหลังตากหลีกเลี่ยงแล้วอาการต่างๆ ก็จะหายไป การแพ้อาหารในผู้ใหญ่ไม่ค่อยมีความลำบากในการเลือกอาหารทีมีคุณค่ามาแทน แต่หากเป็นในเด็กถ้าเป็นอาหารประจำและสำคัญต่อการเจริญเติบโต เช่น นมซึ้งเป็นอาหารหลักในเด็ก เมื่อเด็กมีอาการแพ้ ก็ต้องนำสิ่งที่มีคุณสมบัติและสารอาหารมาแทน
การรักษาภูมิแพ้ที่เกี่ยวกับอาหาร ควรมีความรู้ในการประกอบอาหารด้วย ผักที่อยู่ในตระกูลเดียวกัน ถ้ามีการแพ้ผักในตระกูลนั้นควรระวังผักอย่างอื่นด้วย

ภาพที่ 6.1 อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงหากมีอาการแพ้
5.ฉีดสารสกัดและป้องกันอาการแพ้
จะทำการฉีดสารสกัดสารที่ทดสอบว่ามีอาการแพ้และไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แพทย์ภูมิแพ้จากแต่ละสถาบันจึงมีความคิดที่จะฉีดสารสกัดเพื่อรักษาและป้องกันอาการแพ้
6.ยาแก้แพ้
ยาไม่สามารถรักษาอาการให้หายขาดได้ เพียงแค่บรรเทาอาการทรมานได้




บทที่ 6
สรุปผลการศึกษา
จากการที่ผู้จัดทำได้ศึกษาอาการแพ้อาหารและยา เราพบว่า สาเหตุของการเกิดอาการแพ้ส่วนใหญ่เกิดจากการที่เรามีภูมิไวเกินซึ่งสร้างแอนติเจน ทำให้เกิดอาการแพ้โดยแสดงออกตามลักษณะต่างๆ ซึ่งมีทั้งการเป็นผื่นแพ้ยาที่มีลักษณะจำเพาะ คือเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว กระจายเท่าๆ กันทั้งสองข้าง อาจมีอาการอักเสบ และหายได้อย่างรวดเร็ว ผื่นจะมีสองประเภทคือ ผื่นที่มีลักษณะไม่เฉพาะ คือจะเกิดขึ้นกับย่ชนิดใดก็ได้ เช่นผื่นลมพิษที่จะหลั่งสารฮิสตามีน ทำให้เกินพลาสมาซึมในผิว จนเกิดผื่นนูนแดง และผื่นที่มีลักษณะ คือหากเกิดอาการแล้วเราสามาถนึกถึงตัวยาบางชนิดได้
ทั้งสารก่อภูมิแพ้บางชนิด อย่างเช่นอาหารทะเล ซึ้งอาจมีหลานคนแพ้กุ้ง หอย ปูหรือปลาซึ้งมันทำให้คุณเกิดอาการลมพิษ อาเจียนและปวดหัว ในสิ่งเหล่านี้จะมีสารบางชนิดทำให้คุณมีอาการแพ้ นมวัว ทุกคนจะเห็นว่าเด็กที่ดื่มนมวัวกับนมของมารดาจะมีความต่งกัน คือนมมารดาทำให้คุณมรภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงต่างจากนมวัว ซึ่งในนมวัวยังมีสารอาหารบางชนิดที่ทำให้เด็กเกิดอาการแพ้ ทั้งนี้การดื่มนมมารดาจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด
ลักษณะอาการแพ้อาหาร ผู้ที่แพ้อาหารมักจะมีอาการแสดงออกในระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบทางเดินอาหาร อาจมีอาการอาเจียน ระบบขับถ่ายอาจมีอาการท้องร่วง ระบบผิวหนังเกิดลักษณะอาการเดียวกับการแพ้ยา คือเกิดผื่นลมพิษ อาการท่างระบบโลหิตวิทยาจะมีอาการตัวสั่น หน้าซีดจนถึงขั้นเกิดอาการช็อกรุนแรงจนสูญเสียชีวิต
วิธีการตรวจสอบอาการแพ้อาหารและยานั้น ทำได้โดยการสอบถามประวัติการเกิดอาการแพ้ได้จากคนในครอบครัว พ่อแม่ พี่น้อง และปู่ย่าตายาย หากมีประวัติการแพ้ ลูกจะมรโอกาสแพ้ได้ประมาณ 30-50%
การทดสอบทางผิวหนัง จะมีหลายวิธี เช่นการทดสอบแบบสกิด ขูดผิว เจาะผิว ซึ้งเป็นวิธีตรวจสอบโดยทั่วๆ ไป จะสามารถรู้ผลได้เร็ว แต่มียาและอาหารบางชนิดทำให้การทกสอบมีความผิดพลาดได้ คุณควรแจ้งหมอก่อนการทำการทดสอบหากคุณทานยาหรืออาหารชนิดใดไป
การทดสอบทางห้องปฏิบัติการณ์ คือการตรวจเลือด คือจะวัดปริมาณสารภูมิคุ้มกันในอิมมูโนโกโลบินในเลือด หากมีอิมมูโนโกบูลินในเลือดสูงจะทราบว่าเป็นภูมิแพ้หรือไม่ทั้งยังสามารถตรวจรักษาโรคอื่นได้อีกด้วย
การรักษาอาการแพ้อาการและยา คุณควรหลีกเลี่ยงการทานสิ่งที่คุณแพ้เมื่อคุณเคยแพ้แล้ว ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่ายที่สุดและได้ผลที่สุดหากคุณรู้ว่าคุณแพ้สิ่งนั้น
การฉีดสารสกัดป้องกันอาการแพ้ เป็นอีกหนึ่งวิธีการหากคุณจำเป็นต้องทานอาหารบางชนิดที่คุณแพ้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ยาแก้แพ้ สิ่งนี้ใช้ในยามฉุกเฉินหากคุณไม่รู้ว่าตนเองแพ้อะไร สิ่งนี้จะช่วยบรรเทาอาการให้ทุเลาลง แต่ไม่ได้หายขาด เมื่อคุณทานแล้วคุณควรพบแพทย์เพื่อความมั่นใจว่าคุณจะไม่เป็นอะไรจริงๆ
เสนอแนะ
จะมีการเผยแพร่สู่สาธารณะชนโดยการจัดทำบอร์ด และลงบนเว็บไซต์ ทั้งนี้อาจมีการต่อยอกไปเกี่ยวกับโรคภูมิอย่อื่น เช่น แพ้เกสรดอกไม้ แพ้อากาศ และการแพ้ภูมิตนเอง ทั้งยังศึกษาปัจจัยต่ๆ ให้มากขึ้น









ภาพผนวก

หน้าที่ 7
หน้าที่ 8
หน้าที่ 10
หน้าที่ 11
หน้าที่ 12
หน้าที่ 13
หน้าที่ 14
หน้าที่ 16



หน้าที่ 17
หน้าที่ 17


หน้าที่ 18
หน้าที่ 19

หน้าที่ 20











บรรณานุกรม
Allergy 2000’s ตำราโรคภูมิแพ้ บรรณาธิการ ปกิต วิชยานนท์,สุกัญญา โพธิกำจร,เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม สมาคมโรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยาแห่งประเทศไทย.สำนักพิมพ์ชวนพิมพ์. 2541
เภสัชวิทยา ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรณาธิการ คณาจารย์ ภาควิชาเภสัชวิทยา
โรคภูมิแพ้ มนตรี ตู้จินดา สำนักพิมพ์พัฒนาศึกษา 2534
โรคภูมิคุ้มกัน ฉบับพิมพ์ครั้งที่2 มนตรี ตู้จินดา บรรณาธิการ จัดพิมพ์โดย โครงการตำรา-ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ 2526
โรคภูมิแพ้เบื้องหน้า…เบื้องหลัง นายแพทย์วสันต์ สิงหมณี
โรคภูมิคุ้มกัน ฉบับพิมพ์ครั้งที่2 มนตรี ตู้จินดา บรรณาธิการ จัดพิมพ์โดย โครงการตำรา-ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ 2526
https://health.kapook.com/view123293.html
โรคภูมิแพ้คำถามที่ต้องการคำตอบ.ศักดิ์ บวร เรียบเรียง.สำนักพิมพ์สมิต.2543

นิยายที่ผู้อ่านนิยมอ่านต่อ ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...

อีบุ๊ก ดูทั้งหมด

loading
กำลังโหลด...

คำนิยม Top

ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

คำนิยมล่าสุด

ยังไม่มีคำนิยมของเรื่องนี้

ความคิดเห็น